Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน

  • หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ
  • หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้
  • หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย

เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป

Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด)

เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ)

A football game in progress

Description automatically generated with medium confidence

ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ ที่ชวนกุมขมับ เช่น

  • ออกคำสั่งไร้สาระที่พนักงานทำจริงไม่ได้
  • วิพากษ์วิจารณ์โดยไม่เข้าใจกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
  • เสนอแนะไอเดียโดยไม่เข้าใจบริบทสถานการณ์
A person sitting in a car

Description automatically generated with medium confidence

เหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นเพราะตัวเองไม่เคยคิดลงมือลงแรงมาทำความเข้าใจรายละเอียดงานต่างๆ สุดท้ายดันเป็นการ “ฉุดรั้ง” ศักยภาพความคิดสร้างสรรค์และแรงกายแรงใจของทีม

นำมาสู่ผลลัพธ์การทำงานแบบ “ีดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ” 

ตัวอย่าง Armchair Quarterback ในที่ทำงาน

หนึ่งในคาแรคเตอร์ที่โดดเด่นของ Armchair Quarterback คือรีบ “ด่วนตัดสิน” และโอบกอดไอเดียในกระแสหลักตอนนั้น

สมมติ Armchair Quarterback สายการเงินคนหนึ่งที่ไม่เคยออกแบบดีไซน์อะไรเองเลย อาจรีบบึ่งไปเสนอทีมกราฟฟิกว่า “ทำไมไม่ใช้ Canva ล่ะ? ตอนนี้กำลังมาแรงมากนะ หัดลองของอะไรใหม่ๆ บ้างสิ” 

A picture containing text, indoor, person, desk

Description automatically generated

โดยที่ไม่รู้มาก่อนเลยว่า ทีมกราฟิกอาจเคยลองใช้แล้วแต่ประสิทธิภาพน้อยกว่าโปรแกรม Adobe Illustrator ที่ตัวเองใช้ประจำ คำกล่าวแบบนี้ยังเป็น Toxic เพราะเหมือนไปว่ากล่าวตักเตือนด้วยว่า เป็นคนยึดติดอะไรเดิมๆ ไม่ลองใช้ของใหม่

อีกวิธีสังเกตคือ Armchair Quarterback จะเป็นคนที่ยึดประสบการณ์และกรณีศึกษาของตัวเองเป็น “ศูนย์กลาง” และคิดว่าเอาไปประยุกต์ใช้กับเรื่องอื่นๆ ได้ทั้งหมด

เช่น ไปโน้มน้าวไอเดียแก่เพื่อนซีอีโอที่ทำงานบริษัทอื่นให้รีบกระโดดเข้า TikTok และใช้กลยุทธ์ CEO Branding ในการสร้างแบรนด์ เพราะตัวเองทดลองทำแล้วได้ผลลัพธ์ดีมากๆ 

โดยที่ไม่ได้พิจารณาเลยว่า สถานการณ์ / บริบท / ขนาดธุรกิจ / ประเภทธุรกิจ / กลุ่มลูกค้า / ประเภทของสินค้า / กฎหมายในแต่ละธุรกิจ / และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายล้วน “แตกต่าง” กันอยู่แล้ว 

  • กลยุทธ์ที่เวิร์คในธุรกิจ A อาจพังไม่เป็นท่าในธุรกิจ B

แบรนด์ป้องกัน Armchair Quarterback ยังไงได้บ้าง?

ผู้บริหารที่มีตำแหน่งสูงกว่าต้องลงมาดูอีกทีเป็นทอดๆ  เพราะบางครั้ง “หางจะเปลี่ยนได้-หัวต้องขยับก่อน” ยิ่งหัวเข้มงวดในการประเมินผลงานมากเท่าไร หางยิ่งต้องพิจารณารอบคอบมากเท่านั้น และนั่นนำมาซึ่งความ “ใส่ใจรายละเอียด” ในการทำงานโดยปริยาย

อีกวิธีเรียบง่ายแต่ใช้ได้ผลมากๆ คือ “เก็นจิ เก็นบุทซึ” หรือ “ไปเห็นปัญหาถึงหน้างาน” ซึ่งเป็นวิธีที่ผู้บริหารญี่ปุ่นใช้กันประจำ

  • ถ้าโรงงานมีปัญหาการผลิต ก็ถ่อนั่งรถ 3 ชม.เพื่อไปถึงโรงงานเลย เรียกผู้รับผิดชอบมาชี้แจงให้หมด
  • ถ้าสมาชิกทีมมีความบาดหมางกัน อาจต้องเรียกมาคุยแยกเดี่ยวเพื่อหาต้นตอปัญหา ก่อนเรียกคุยรวมภายหลัง อย่าปล่อยให้เรื้อรั้งบานปลาย
A person operating a forklift

Description automatically generated with medium confidence

องค์กรอาจต้องโฟกัสที่ระบบประเมินผลงานใหม่ เช่น หันไปใช้ตัววัดแบบ OKR ซึ่งเป็นรูปธรรมและวัดผลได้มากกว่า เป็นการบังคับกลายๆ ไปในตัวว่าต้องทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้น

“วัฒนธรรมองค์กร” ก็ช่วยลดโอกาสเกิดได้ ปกติแล้ว Armchair Quarterback มักเป็นคนที่มี “ความมั่นใจสูง” จึงกล้าวิพากษ์วิจารณ์อย่างออกหน้า องค์กรอาจต้องสร้างวัฒนธรรมที่โอบกอด “องค์ความรู้” ให้สำคัญและน่านับถือกว่าความมั่นอกมั่นใจ(ที่ภายนอกดูมีเสน่ห์กว่า) 

  • อย่าให้ค่าเกิน…กับผู้รู้ผิวเผินที่รีบวิจารณ์อย่างมั่นใ
  •  แต่ให้มอง…ผู้รู้จริงที่เสนอความคิดอย่างเหนียมอาย

Armchair Quarterback เป็นเรื่องที่ต้องระวังให้ดี เพราะสร้าง Toxic แก่เพื่อนร่วมงาน ลดประสิทธิภาพการทำงาน ทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน และถึงขั้นเพิ่มอัตราการลาออกได้เลยทีเดียว

ว่าแต่…วันนี้องค์กรคุณมี Armchair Quarterback มากน้อยแค่ไหน?

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง