Climate Risk ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจยุคใหม่

Climate Risk ปัจจัยเสี่ยงของการทำธุรกิจยุคใหม่

กันยายน ปี 2021 เกิดฝนตกหนักฉับพลันที่ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกอย่าง New York ในเวลา 1 ชม. ปริมาณน้ำฝนเทกระหน่ำลงมาถึง 3.15 นิ้ว ทำลายสถิติสูงสุดในอดีตที่ 1.94 นิ้ว/ชม. ขาดลอย พร้อมผู้เสียชีวิตกว่า 40 คน และอีกกว่า 7,000 คนไร้ไฟฟ้าใช้

ย้อนกลับไปหลายทศวรรษที่แล้ว ความผิดปกติทางธรรมชาติลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในประเทศซีกโลกใต้ (Global South Countries) แต่ปัจจุบัน มันได้ลุกลามมาถึงประเทศซีกโลกเหนือ (Global North Countries) ซึ่งส่วนใหญ่คือกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นที่ตั้งของเมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจใหญ่ของโลก

ไม่เกินจริงเลยหากจะบอกว่า ความรุนแรงจากธรรมชาติ บัดนี้…มันได้เกิดขึ้นทั่วโลกแล้ว และเกิดในลักษณะที่ถี่ขึ้น-รุนแรงขึ้น “ทำลายสถิติเป็นว่าเล่น”

จนเกิดปัจจัยความเสี่ยงใหม่ที่ต้องบรรจุอยู่ในทุกการตัดสินใจ นั่นคือ “Climate Risk”

Climate Risk: ปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจยุคใหม่

ถ้าเรามองภาพใหญ่ในเชิง Historical Timeline 

  • ศตวรรษที่ 20 คือยุคแห่งการ “เติบโต” ทางเศรษฐกิจขีดสุดของหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมาพร้อมกับการปล่อย CO2 และทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล
  • ศตวรรษที่ 21 นี้ คือยุคของการ “เอาคืน” จากธรรมชาติ มนุษย์เริ่มได้รับผลกระทบย้อนกลับมาหาตัวเองแล้ว ประจักษ์พยานได้จากภัยพิบัติมากมายที่ถี่และรุนแรงขึ้นทุกปี

นำไปสู่การตระหนักรู้ ยอมรับ (และทำใจ) ว่าโลกของเราจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป 

A picture containing outdoor, sunset, mountain, silhouette

Description automatically generated

ศตวรรษนี้จึงมีปัจจัยเรื่อง “Climate Risk” หรือความเสี่ยงด้านผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเข้ามาอยู่ในสมการของทุกการทำธุรกิจและการใช้ชีวิต

  • ผู้ประกอบการจะย้ายโรงงานเมื่อรู้ว่าพื้นที่นั้นจะถูกน้ำท่วมใหญ่ในอีก 10 ปี
  • นายทุนอสังหาฯ ไม่อยากสร้างโรงแรมริมหาด ที่มีโอกาสเกิดพายุใหญ่และการพังทลายของปะการัง
  • บริษัทไม่อยากลงทุนเพาะปลูกในพื้นที่ที่ความหลากหลายทางชีวภาพต่ำ
  • ไม่มีใครอยากเสี่ยงไปเที่ยวกลางป่าเขาที่อาจเกิดไฟไหม้ป่าฉับพลัน
  • ไม่มีใครอยากเกษียณไปอยู่อาศัยเมืองที่อาจจมอยู่ใต้บาดาลในอีก 20 ปี
A picture containing outdoor, boat

Description automatically generated

ทำไมถึงเป็นปัจจัยเสี่ยงขนาดนั้น?

ในมุมของเศรษฐกิจแล้ว ภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติต่างๆ (แม้กินเวลาไม่นาน) สร้างมูลค่าความเสียหายมหาศาล

  • มิถุนายน ปี 2019 ไฟป่าออสเตรเลีย ที่ลุกลามอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ทำลายพื้นที่ไปกว่า 11 ล้านเฮกตาร์ มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 2.1 ล้านล้านบาท
  • กันยายน ปี 2020 ไฟป่ารัฐแคลิฟอเนียร์ ทำให้ท้องฟ้าเป็นสีแดงราวกับวันสิ้นโลกในภาพยนตร์ ทำลายพื้นที่ไปกว่า 5.5 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 3 ล้านล้านบาท
A picture containing outdoor, sky, water, sunset

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3jYchFq

  • กรกฎาคม ปี 2021 น้ำท่วมใหญ่ฉับพลัน ที่มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ผู้เสียชีวิต 300 คน มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 331,000 ล้านบาท
  • กรกฎาคม ปี 2021 น้ำท่วมใหญ่ฉับพลัน ที่รัฐไรน์แลนด์-พาลาทิเนต ประเทศเยอรมนี ผู้เสียชีวิตกว่า 103 คน มูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 500,000 ล้านบาท

ต้องใช้ทรัพยากรและเวลาอีกเท่าไรกว่าจะได้มูลค่าเศรษฐกิจเหล่านี้คืนมา?

ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบต่อ “ระบบนิเวศ” ในภาพรวมที่เชื่อมโยง (Interconnect) ไปยังกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นแทบทุกประเภท เช่น

เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น นำไปสู่การละลายของธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก 

  • ปี 1980 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 7.7 ล้าน ตร.กม.
  • ปี 2018 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 4.7 ล้าน ตร.กม.
An iceberg in the water

Description automatically generated with medium confidence

ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองใหญทั่วโลกอย่าง New York / London / Shanghai / และ Bangkok มีโอกาสถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ในช่วงปลายศตวรรษนี้

อุณหภูมิในร่างกายมนุษย์ร้อนขึ้นแค่ 2 °C ก็เจ็บไข้ได้ป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลแล้ว แต่ UN ประเมินว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกที่เป็นอยู่ อาจทำให้ “อุณหภูมิโลก” เพิ่มขึ้น 2-3 °C ก่อให้เกิดไฟป่า / ฤดูแล้ง / คลื่นความร้อน นำไปสู่ Extreme Biodiversity Loss การสูญพันธุ์ของนานาสัตว์ ที่กระทบต่อระบบนิเวศและผลผลิตทางอาหาร

รู้หรือไม่ว่า แค่สปีชีส์เดียวอย่าง “ผึ้ง” ถ้าสูญพันธุ์…จะเกิดหายนะใหญ่หลวง เพราะ กว่า 1/3 ของอาหารมนุษย์ เกิดจากต้นทางที่ผึ้งไปแพร่เกสรในผลผลิตทางเกษตรกรรม และยังมีส่วนสำคัญกับระบบนิเวศทางธรรมชาติโดยรวม (ล่าสุด ฝรั่งเศสออกกฎหมาย “ห้ามฆ่าผึ้ง” แล้ว)

A bee on a yellow flower

Description automatically generated

มูลค่าความเสียหายจาก Climate Risk ในอนาคตจากนี้ อาจสูงกว่าปัจจัยเสี่ยงดั้งเดิมที่เคยมีมาอย่าง Economic Risk / Financial Risk / Security Risk / Reputational Risk / หรือ Political Risk

โลกกำลังพิจารณาแนวทางใหม่

ความหวังครั้งใหญ่คือ การประชุม COP26 Climate Change Conference เดือนพฤศจิกายน ปี 2021 เป็นการประชุมใหญ่ที่สุดด้านภาวะโลกร้อน นับตั้งแต่ Paris Agreement ปี 2015 ซึ่งมีเหล่าผู้นำโลกเข้าร่วม (รวมถึงสหรัฐอเมริกา)

เพราะ “กฎระเบียบโลก” มักถูกกำหนดโดยกลุ่มชาติมหาอำนาจที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมาวันนี้พวกเค้าได้รับผลกระทบโดยตรงแทบทุกประเทศแล้ว “มาตรการใหม่ๆ” ที่จะออกมาเพื่อสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้ดีกว่านี้ จึงมีความเป็นไปได้สูงมากๆ ซึ่งจะส่งผล (หรือแม้แต่ Disrupt) การค้าการลงทุนระหว่างประเทศแน่นอน

เบื้องต้น สหภาพยุโรป (EU) ก็ประกาศออกมาแล้วว่ากำลังร่าง “Carbon Law” กฎหมายใหม่ที่ระบุมาตรฐานการปล่อยคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน ซึ่งจะมีผลภายใน 2-3 ปีจากนี้

เช่น ต่อไปนี้อาจส่งออกไป EU ไม่ได้ถ้าไม่ผ่านมาตรฐาน Net Zero Emission…หรือส่งได้ แต่เสียภาษีสูงเป็นพิเศษ เรื่องนี้เปลี่ยนการทำธุรกิจทั้ง Supply Chain ให้รักษ์โลกมากขึ้น

A picture containing indoor, blue

Description automatically generated

ยังมีการส่งเสริมด้านจริยธรรม (Moral Standard) ในเรื่อง “Sustainability” เช่น ถ้าโรงงานที่ไปตั้ง ได้วัตถุดิบมาจากซัพพลายเออร์ท้องถิ่นในราคาและคุณภาพที่ได้มาตรฐาน…แต่ซัพพลายเออร์เจ้านั้นกลับได้วัตถุนั้นมาในขั้นตอนที่ต่ำกว่ามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ก็คงต้องมองหารายใหม่ที่มีคุณภาพกว่า

ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไร?

ปัญหาสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องเผชิญโดยตรงกับ “ข้อมูลเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์” ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้อาจยังไม่มีมากนัก มันอาจฟังดูเหลือเชื่อที่การหายไปของผึ้งเพียงสปีชีส์เดียวทำให้สินค้าเกษตรกรรมพังพินาศได้

องค์กรใหญ่มีแผนก R&D แต่ต่อไปนี้อาจต้องมีแผนก Climate Research หรือการจัดทำ Climate Strategy เพื่อวิจัยและประเมิน Climate Risk มาผนวกเข้ากับการดำเนินธุรกิจ

สถานการณ์นี้ยังเป็นโอกาสของบริษัทเกิดใหม่ที่รักษ์สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะ เช่น BeyondMeat พยายาม “ปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหาร” ด้วยนวัตกรรม Plant-Based Meat เนื้อที่ทำจากพืช

เพราะการเลี้ยงวัวคือตัวการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (จะรู้เรื่องนี้ได้ต้องเข้าใจข้อมูลวิทยาศาสตร์ด้วย)

  • ฟาร์มเลี้ยงวัว คิดเป็น 60% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลก
  • แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 50% ที่มาจากฟาร์มสัตว์ทั้งหมด 
A group of cows in a field

Description automatically generated with medium confidence

ที่เกิดขึ้นแล้วคือ บริษัทระดับโลกกำลังมุ่งหน้าสู่การทำ “Efficiency improvement” การพัฒนาประสิทธิภาพของเทคโนโลยีให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

เช่น ต่อไปนี้ อาจมีเรื่อง Carbon Footprint กว่าจะออกมาเป็นสินค้าตัวนี้ สร้าง CO2 ไปเท่าไร?  

กว่า 40% ของการปล่อยคาร์บอน มาจากภาคการก่อสร้าง…อนาคต ถ้าคอนโดที่คุณสร้างปล่อย Carbon Footprint เกินมาตรฐาน อาจกลายเป็นผิดกฎหมายห้ามก่อสร้าง จนคุณต้องปรับแบบไปเป็น “Carbon-Neutral Building” การก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่ลดการปล่อยคาร์บอนน้อยที่สุด

A picture containing outdoor, grass

Description automatically generated

นอกจากนี้ บรรดานโยบายรักษ์โลก เช่น Zero Waste Policy / Net Zero Emission / Regenerative Agriculture ต้องรีบสร้างให้เป็นมาตรฐานใหม่ที่แสนธรรมดาไปแล้ว (เรื่องปกติที่ใครๆ ก็ทำกัน)

Climate Risk อาจมาช้าแตกต่างกันไปตามแต่ละพื้นที่…แต่มันมาแน่

และองค์กรที่ “รีบปรับตัว” พร้อมรับความเสี่ยงใหม่ๆ จะเป็นองค์กรที่อยู่รอดในโลกธุรกิจ…และท่ามกลางภาวะโลกร้อน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง