Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?

Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?
  • ลูกน้องจับกลุ่มคุยเล่น คุณแค่เดินผ่านไป ทุกคนวงแตก!!
  • ลูกน้องมารายงานคุณด้วยสีหน้าประหม่า เกร็ง ลุกลี้ลุกลน
  • ลูกน้องเป็น Yes Man ไม่เคยปฏิเสธความคิดเห็นคุณเลยซักครั้ง

ถ้าคุณเป็นหัวหน้า และนี่คือประสบการณ์ที่ได้รับ…คุณอาจกำลังมีปัญหาเรื่องกิริยามารยาทและบุคลิกภาพในการ “วางตัว” กับลูกน้องในที่ทำงานแล้ว

มนุษย์อยู่เป็นเผ่า

สังคมมนุษย์อยู่กันแบบลำดับชั้น (Hierarchy) มีผู้นำเผ่าเบอร์ 1 ชัดเจน (อัลฟ่า) และผู้ปกครองในระดับย่อยลงมาเรื่อยๆ 

  • ถ้าผู้นำดี ทำงานเก่ง มีความยุติธรรม ใส่ใจลูกน้อง…จะเป็นที่รักใคร่ของผู้คน
  • ถ้าผู้นำไม่ดี ไร้ผลงาน เอาเปรียบ ไม่เห็นหัวลูกน้อง…จะถูกโค่นล้มบัลลังก์
A picture containing chessman, stack

Description automatically generated

เรื่องนี้ถูกกำหนดอยู่ในระดับพันธุกรรมของมนุษย์ และลักษณะสังคมนี้ยังพบได้ในญาติที่ใกล้เคียงกับเราที่สุดอย่าง ลิงชิมแปนซี

ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ไม่ต่างกัน สถานะตำแหน่งที่ครอบครองอยู่ ย่อมถูกจับตามองจากลูกน้อง การปฏิบัติตัวและวางตัวทุกการกระทำ…จึงสำคัญมากๆ

แต่ก่อนที่จะไปรู้จักวิธีการวางตัว เราไปสำรวจกันก่อนว่าผู้นำมักวางตัวผิดพลาดอย่างไร?

Us VS. Them

คุณอาจเป็นหัวหน้าที่โปรไฟล์ดี การศึกษาสูง โตเมืองนอก แต่นั่นก็เป็น “ดาบสองคม” เวลาทำงานกับลูกค้าที่มาจากแบคกราวน์ที่หลากหลาย

หัวหน้าที่ไม่พยายาม “ปรับตัว” ในเรื่องนี้ นำไปสู่สไตล์การทำงาน / การแต่งตัว / ภาษาที่ใช้ / กิริยามารยาท / แนวคิดที่ยึดถือ…แตกต่างสิ้นเชิงกับลูกน้อง และนั่นสร้างความรู้สึกห่างเหิน เป็นคนไกลตัว-เป็นคนนอก 

A person sitting at a desk

Description automatically generated with medium confidence

ในทางจิตวิทยา ลูกน้องจะวางตำแหน่งให้คุณเป็น “พวกเขา” (Them) ไม่ใช่ “พวกเรา” (Us) ซึ่งจะสะท้อนไปสู่รายละเอียดการทำงาน เช่น ไม่กล้าสบตา / มีปัญหาไม่รีบแจ้ง / มีลับลมคมใน / ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ…ล้วนเป็นคาแรคเตอร์แง่ลบทั้งสิ้น

ไม่รับฟัง & ตำหนิ

หัวหน้ามักมีประสบการณ์และความรอบคอบในตรรกะความคิดมากกว่าลูกน้องเป็นธรรมดา จนบางครั้งสิ่งที่ลูกน้องมาพูดคุยนำเสนอ มักถูกตำหนิตีตกไปอย่างไม่ใยดี

ใช่…ไอเดียของลูกน้องอาจมีช่องโหว่ให้โต้แย้งได้จริงๆ แต่ในฐานะหัวหน้า คุณสามารถมี “วาทศิลป์” การพูดจาโดยยังรักษาน้ำใจ / ไม่หักหน้าในที่สาธารณะ / ติเพื่อก่อได้

อาจเริ่มจากขอบคุณ 🡺 นำเสนอข้อดี 🡺 ก่อนจะชี้ถึงข้อบกพร่อง 🡺 ปิดท้ายด้วยการแนะนำว่าครั้งหน้าควรเตรียมตัวอุดช่องโหว่ตรงไหนบ้าง

เมื่อรู้ข้อผิดพลาดไปแล้ว เรามาดูกันว่าแล้วหัวหน้าควรวางตัวอย่างไรเพื่อชนะใจลูกน้อง

Executive Mannerism หัวหน้าที่ดีควรวางตัวอย่างไร?

ในฐานะที่สวมหมวกเป็นหัวหน้า บางครั้งต้องรู้จัก “สปอร์ต” ซื้อใจลูกน้องบ้างแม้ว่าจะไม่จำเป็นหรือนอกเหนือจากหน้าที่ก็ตาม เช่น 

  • ช่วยพรีเซนท์งานบางส่วน 
  • อยู่ช่วยงานลูกน้องจนดึกดื่น
  • เป็นคนกดสั่งเดลิเวอรี่มื้อเที่ยงให้ 
  • พาไปเลี้ยงดื่มเล็กๆ น้อยๆ หลังเลิกงาน

หัวหน้าที่ลูกน้องรักเป็นพิเศษ มักมีสิ่งเล็กสิ่งน้อยเหล่านี้มอบให้เสมอ

A group of people standing around a table

Description automatically generated with low confidence

โดยปกติ ผู้ใต้บังคับบัญชามักมีเกรงกลัว-หวั่นใจ ในการเข้าหาหัวหน้าเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หัวหน้าจึงควรเป็นฝ่าย “เข้าหา” ลูกน้องอย่างเป็นกันเองเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้

  • Sundar Pichai ทำหน้าที่เสมือนเป็น “ที่ปรึกษา” ให้กับลูกทีม ช่วยขัดเกลาไอเดียอย่างเป็นกันเองไม่มีพิธีรีตอง
  • Larry Page และ Sergey Brin ริเริ่มชั่วโมงการ “ตอบคำถาม” ทางโทรศัพท์ที่หลั่งไหลมาจากลูกน้องในทีม โดยเอาให้จบในคราวเดียว
  • Tim Cook มักเดินแวะไปพูดคุยกับเหล่าพนักงานที่ “โรงอาหาร” ของ Apple (สำนักงานใหญ่) ทำงานเป็นอย่างไร / วันนี้เจอปัญหาตรงไหนบ้าง / มีไอเดียอะไรเจ๋งๆ อยากแชร์ไหม

สร้างความใกล้ชิดเป็นกันเอง และเป็นการรับรู้ข้อมูลโดยตรงจากปากผู้พูดเองที่บางครั้งมัก “ขึ้นไปไม่ถึง” เหล่าผู้บริหาร

ที่สำคัญ ต้องปรับการ “สื่อสาร” ให้ถูกจริตคนที่เรากำลังคุยอยู่ ไม่ต่างจากลูกค้าที่มีหลายกลุ่ม พนักงานของเราเองก็มีหลายประเภทเช่นกัน 

  • การคุยกับฝ่าย IT-Marketing ย่อมใช้สไตล์การสื่อสารต่างกัน
  • การคุยกับลูกน้องเด็กจบใหม่-คนที่มีประสบการณ์ ก็ย่อมต่างกัน
A picture containing text, person, indoor, people

Description automatically generated

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคโฟกัสที่ต้วผู้ฟัง เพื่อกระตุ้นว่ากำลังพูดกับคนนั้นอยู่และสร้างการมีส่วนร่วม เช่น มีข่าวล่าสุดออกมาวันนี้ VS. คุณรู้ข่าวล่าสุดวันนี้ยัง?

การรู้จักวางตัวเป็นหัวหน้าที่ดี ย่อมส่งผลบวกต่อการทำงานโดยรวม ลูกน้องรักใคร่ ตัวหัวหน้าเองก็สบายใจ…ความสุขในการมาทำงานก็มากขึ้นตามในท้ายที่สุด

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง