Fear of Regret: กลัวเสียใจภายหลังจากสิ่งที่ได้ทำลงไป

Fear of Regret: กลัวเสียใจภายหลังจากสิ่งที่ได้ทำลงไป
  • ถือหุ้นต่อไม่ยอมขาย…แม้จะขาดทุนเพิ่มขึ้นๆ
  • ดื้อรั้นทำธุรกิจต่อ…แม้สถานการณ์ดูไม่มีอนาคตแล้ว
  • ไม่ยอมบอกเลิก…ทั้งๆ ที่หมดรักเขาแล้ว

นี่คือตัวอย่างของการกลัวความเสียใจ (Fear of Regret) ที่แทบทุกคนในแทบทุกวงการต้องเคยสัมผัสมาไม่มากก็น้อย 

Fear of Regret คืออะไร?

การกลัวเสียใจภายหลัง (Fear of Regret) เป็นความรู้สึกด้านลบที่นำไปสู่การรักษาสถานะปัจจุบันที่เป็นอยู่ (Status quo) ซึ่งหากวิเคราะห์ในเชิงตรรกะแล้ว อาจพบว่าไม่มีเหตุผลเท่าที่ควรเลย

เป็นความรู้สึกที่ชวนให้เราจินตนาการถึง “ค่าเสียโอกาส” (Opportunity cost) เช่น ถ้าเลือกหุ้นตัวอื่นป่านนี้รวยไปแล้ว หรือ ถ้าเลือกคุยกับคนอื่นที่จริงจังกว่านี้ ป่านนี้อาจแต่งงานลูกสองไปแล้วก็ได้

จากตัวอย่างการถือหุ้นในมือที่เกริ่นไป เพราะการขายขาดทุน คือการยอมรับว่าตัวเอง “คิดผิดแต่แรก” ความกลัวนี้เองทำให้นักลงทุนดื้อรั้นถือต่อไป และหวังลมๆแล้งๆ ให้หุ้นขึ้น…ซึ่งเรื่องอื่นๆ ก็ล้วนมีแพทเทิร์นนี้เหมือนกันหมด

Fear of Regret รอบตัวเรา

ไม่มีอะไรจะทรงประสิทธิภาพมากไปกว่า “Last chance” โอกาสสุดท้ายอีกแล้ว เช่น “วันสุดท้ายแล้วที่สินค้านี้ลดราคา 80% พลาดแล้วพลาดเลย” ซึ่งกระตุ้นความไม่ make sense ของพฤติกรรมคนเราบางอย่าง Last chance อาจทำให้คุณตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ทั้งๆ ที่เดิมคุณ “ไม่เคยสนใจ” มันมาก่อนเลยด้วยซ้ำ 

การจองห้องคอนโดก็เช่นกัน นายหน้าขายมักพูดว่า “เร็วหน่อยนะคะ ลูกค้าจองคิวดูเพียบ หมดแล้วหมดเลย” ซึ่งกระตุ้นให้ผู้มาดูห้องเร่งรีบในการตัดสินใจ เพราะ “กลัวพลาด” จนอาจนำไปสู่การตัดสินใจผิดในที่สุด

ในด้านความสัมพันธ์ จากผลวิจัยพบว่า ผู้หญิงจะตัดขาดความสัมพันธ์เก่าๆ ได้ยากกว่าผู้ชาย และรู้สึกแง่ลบรุนแรงกว่าผู้ชาย

ถ้าลงดูรายละเอียดอีกนิด ผลวิจัยยังพบว่าระยะเวลามีผลต่อความรู้สึกเสียดาย-เสียใจเช่นกัน กล่าวคือ 

  • ในระยะสั้น (Short-term period) ผู้คนจะเสียใจกับสิ่งที่ “ได้ทำ” ลงไป เช่น เลือกซื้อหุ้นผิดจนขาดทุน
  • ในระยะยาว (Long-term period) ผู้คนจะเสียใจกับสิ่งที่ “ไม่ได้ทำ” เช่น ไม่ได้บอกรักเขา / ไม่ได้ให้เวลากับครอบครัวเท่าที่ควร / ไม่ได้เริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ

หนทางเรียบง่ายหนึ่งที่ช่วยบรรเทาเรื่องนี้ได้คือ ขอคำแนะนำ (Advice) จากคนอื่น 

  • เรื่องการลงทุน – คุยกับที่ปรึกษาทางการเงิน
  • เรื่องความสัมพันธ์ – คุยกับเพื่อนสนิท

การประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

“โอกาสสุดท้าย” (Last offer) จะยังคงใช้ได้ผลกับผู้บริโภคอยู่วันยังค่ำ เพราะสมองเราผูกติดกับเรื่องนี้ กลัวเสียใจภายหลัง กลัวเสียโอกาสดีๆ ไป

แคมเปญใดที่มีเงื่อนไข “จำกัดเวลา” จะสร้างความกดดันและกระตุ้นให้คนรู้สึกกลัวสูญเสียข้อเสนอน่าสนใจ เช่น “มอบส่วนลด 50% หากสั่งซื้อภายใน 1 ชั่วโมงนี้เท่านั้น!”

Fear-of-Missing-Out (FOMO) ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของความเสียใจเช่นกัน เป็นอาการของคนที่กลัวว่าจะพลาดบางสิ่งบางอย่างไป นำทางให้ผู้คนรู้สึกกลัวตกข่าว / ตามชาวบ้านเค้าไม่ทัน / คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง

Nike เคยออกโฆษณาที่มีสโลแกนสื่อถึง ความเสียใจในวันต่อมา (Next-day regret) อันเนื่องมาจากการเพิกเฉยต่อสุขภาพ โฆษณานี้ตั้งใจกระตุ้นให้คนใส่ใจสุขภาพ ทานอาหารที่มีประโยชน์ขึ้น…ออกกำลังกายมากขึ้น (และซื้อสินค้า Nike ในที่สุด)

สำหรับแบรนด์สินค้าหรู อาจกระตุ้นให้คนโฟกัสที่อนาคตระยะยาวในอีก 10 ปีข้างหน้า “ถ้าคุณมองย้อนกลับมา…” จะเสียใจแค่ไหน ชีวิตจะขาดโอกาสดีๆ ไปมากเท่าไร…กับการไม่ได้ใช้สินค้าหรูแบรนด์นี้ ลงทุนเยอะหน่อยในวันนี้ เพื่อไม่ให้เสียใจในวันหน้า

สุดท้ายแล้ว ความรู้สึกเสียดาย-เสียใจ ไม่ใช่ผลร้ายเสมอไป เรามองในแง่ดีได้ว่ามันช่วยให้เรากลับมาอยู่กับที่กับทาง เรียนรู้ความผิดพลาด ปรับปรุงพฤติกรรมบางอย่าง 

อย่างการทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ ก่อนที่จะสมัครงานนั้นๆ หรือเริ่มงานนั้น อนาคตเมื่อมองย้อนกลับมา…คุณจะได้ไม่เสียใจที่เลือกเส้นทางนี้ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง