Problem Blindness: ได้แค่มอง…แต่ไม่เห็นปัญหา

Problem Blindness: ได้แค่มอง…แต่ไม่เห็นปัญหา
  • หลายปีก่อน FB ไม่เห็นว่า TikTok จะโตได้ขนาดนี้
  • ดูซีรี่ส์พร้อมกินขนมจนดึกดื่นแทบทุกวัน
  • ทางเท้าที่ขรุขระไม่เรียบ ที่เราเห็นแต่เด็กจนโต

ทุกเรื่องมีจุดร่วมปัญหาเดียวกันที่เรียกว่า “Problem Blindness” คือการมอง…แต่ไม่เห็นว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคือ “ปัญหา”

Problem Blindness: มอง…แต่ไม่เห็น(ปัญหา)

Problem Blindness คือการที่มองหรือสัมผัสสิ่งหนึ่งตรงหน้า…โดยไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันคือ “ปัญหา” ดีๆ นี่เอง

Problem Blindness มักเกิดกับเหล่า Frontline กลุ่มคนที่อยู่หน้าปัญหาใกล้ชิดเกินไปจนมองไม่เห็นหรือไม่รู้ว่าที่เห็นตรงหน้านี้คือปัญหา ส่วนนึงเพราะสมองมนุษย์มีกลไกในการปรับตัวให้ “เคยชิน” กับอะไรที่จำเจซ้ำๆ เดิมๆ จากสิ่งที่ “ผิดปกติ” (แต่ไม่ได้ร้ายแรงจนสังเกตได้ทัน) เมื่ออยู่ไปนานๆ ก็รู้สึก “ปกติ” ขึ้นมาเอง

A picture containing flower, wearing

Description automatically generated

อย่างไรก็ตาม Problem Blindness จะแตกต่างจาก Blind Spot หรือ “จุดบอด” ตรงที่ Problem Blindness ไม่ใช่สิ่งที่ลับสายตา มันไม่ได้ล่องหน ไม่มีอะไรมาบดบัง เรามองเห็นมันปกติเลยนี่แหล่ะเพียงแต่ไม่รู้ว่าที่เห็นอยู่คือปัญหา

ตัวอย่าง Problem Blindness ที่มองมาตลอด…แต่อาจไม่เห็น

การผงาดของ TikTok ที่แย่งส่วนแบ่งจากยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook จนต้องปรับตัว “ทำแอปให้เหมือน TikTok มากขึ้น” คือกรณีศึกษาที่น่าสนใจ

TikTok เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2016 เป็นแอปวิดีโอแบบสั้นๆ แต่ตอนนั้น Facebook มองว่ายังไม่ใช่ปัญหาหรืออนาคตคู่แข่งอย่างไร เพราะกลุ่มใช้งาน Facebook ยังคงมีรูปแบบการเสพ 3 อย่างที่เหนียวแน่นทั้ง “ดู-อ่าน-ฟัง” (ดูวิดีโอ / อ่านบทความ / ฟังพอตแคสท์และจากวิดีโอ)

Graphical user interface, application

Description automatically generated

แต่ TikTok มาเล่นในช่องว่างที่รายใหญ่มองข้าม นั่นคือวิดีโอแบบสั้น (โดยส่วนใหญ่ไม่กี่วินาที) ซึ่ง YouTube มักเป็นแบบยาวหลายนาที และ Facebook มักมีความยาวกลางๆ ไม่กี่นาที

บวกกับอานิสงส์โควิด-19 ที่ทำให้ TikTok ได้รับความนิยมล้นหลาม จนตอนนี้มาแย่งส่วนแบ่งการ “ดู” ของผู้ใช้งานเยอะมาก ผู้คน “ย้ายค่าย” ลดการเล่น Facebook และหันมาปักหลักที่ TikTok แทน (ถึงขนาดที่ Facebook ถึงกับต้องปรับตัวเพื่อให้เหมือน TikTok มากขึ้น)

ถ้า Facebook มองเห็นปัญหาหรือศักยภาพการโตก้าวกระโดดของ TikTok ตั้งแต่หลายปีที่แล้ว อาจปรับตัวเร็วจน TikTok ไม่ใหญ่เหมือนทุกวันนี้ หรืออาจเข้าซื้อกิจการซะเลย เหมือนที่ทำกับ Instagram

รู้หรือไม่ว่า…หลายสิบปีที่แล้วก่อนที่ “ตู้ ATM” จะแพร่หลายวางอยู่ทุกแห่งแบบทุกวันนี้ มีบริษัทวิจัยได้ทดลองทำ Focus group สอบถามเชิงลึกในหมู่ผู้บริโภคถึงประโยชน์การใช้งานของตู้ ATM (ที่เป็นเรื่องใหม่มากๆ ในยุคสมัยนั้น)

แต่ปรากฎว่า…ผลลัพธ์การวิจัยจากปากผู้ถูกสำรวจพบว่า ตู้ ATM ไม่น่าเกิดประโยชน์หรือคุ้มค่าในเชิงพาณิชย์เท่าที่ควร! กล่าวคือ ผู้คนไม่สามารถจินตนาการได้ว่าจะต้อง “เปลี่ยนพฤติกรรม” ครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนจากถอนเงินสดจากพนักงานเห็นหน้าตัวต่อตัว ไปเป็นถอนเงินสดโดยกดจากเครื่องซึ่งไม่มีชีวิต

A picture containing text, cash machine, lined

Description automatically generated

เรื่องนี้ฟังดูเหลือเชื่อเมื่อมองจากปัจจุบัน แต่ก็ชวนให้เราฉุกคิดถึง blockchain / bitcoin / token / metaverse นวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ ที่คนส่วนใหญ่อาจยังไม่คุ้นเคย ว่าซักวันหนึ่งก็อาจมาแทนที่เงินตราเดิมๆ ที่เรามีก็ได้

เราจะสังเกตได้ว่า แม้พฤติกรรมที่เป็นอยู่ของเราจะไม่ใช่ปัญหาซะทีเดียว แต่มันมี “ข้อจำกัด” เพียบ (ต้องเสียเวลาไปถอนเงินสดถึงธนาคาร) และน่าจะมีวิธีทางอื่นที่ดีกว่านี้แน่นอน เพียงแต่บางทีเราลืมคิดไป

ไม่ใช่แค่เรื่องงาน เรายังนำ Problem Blindness มาใช้กับเรื่องอื่นในชีวิตได้ด้วย เช่น สุขภาพ เราอาจติดนิสัยชอบสูบบุหรี่ / นอนดึก / กินไม่บันยะบันยัง / ขี้เกียจออกกำลังกาย…ความเคยชินที่เป็นอยู่ของเราตอนนี้อาจเป็นปัญหาระดับเล็กน้อยจนเรามองข้ามไป แต่อนาคตมันจะสะสมจนใหญ่มากพอและย้อนกลับมาทำร้ายเรา

A picture containing person, hand, dessert

Description automatically generated

ป้องกัน Problem Blindness แบบคูลๆ

อันดับแรกลองฝึกนิสัย “เอ๊ะให้มากขึ้น” ไม่รู้แหล่ะแต่มีอะไรให้ “เอ๊ะ” ไว้ก่อน ซึ่งเอ๊ะในที่นี้คือ การตั้งข้อสงสัย พยายามจับผิด ไม่รีบด่วนตัดสินใจต่อเรื่องตรงหน้า

มันคือการตั้งการ์ดต่อเรื่องปกติธรรมดาตรงหน้า เรื่องที่เราคิดว่าไม่ใช่ปัญหา…แต่กลับมีปัญหาซ่อนอยู่

(การเอ๊ะไว้ก่อนยังเป็นบุคลิกนิสัยติดตัวของ อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่เจ้าตัวแนะนำแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ เพราะปัญหาในกรุงเทพมีเยอะมากเสียจนเราอาจคิดว่ามันเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้ว…ทั้งที่ความจริงแล้วไม่ใช่)

A person raising the hand

Description automatically generated with medium confidence

ลองใช้สูตร “What if…” ถ้ามันไม่ได้เป็นแบบนี้ แล้วจะเป็นแบบอื่นยังไงได้บ้าง? นอกจากเห็นปัญหาแล้ว ยังกระตุ้นความครีเอทีฟได้ดีมากๆ

  • ถ้าแพกเกจจิ้งสินค้าเราไม่ได้เป็นทรงกลม…แต่เป็นทรงสี่เหลี่ยมล่ะ?
  • ถ้าคู่แข่งของเราไม่ใช่ร้านอาหารที่อยู่ข้าง…แต่เป็นจากแอปเดลิเวอรี่ล่ะ?
  • ถ้า Facebook ไม่ใช่ช่องทางโปรโมทหลักอีกต่อไป…แต่เป็น TikTok แทนล่ะ?

เรื่องนี้ Steve Jobs ก็ใช้ตอนกำลังออกแบบ iPhone1 ที่ปฏิวัติวงการมือถือในเวลาต่อมา โดยการตั้งคำถามว่า

  • ถ้ามือถือไม่มีปุ่มกด…แต่เป็นทัชสกรีนแทนล่ะ
A hand holding a cell phone

Description automatically generated with medium confidence

นอกจากนี้ ข้อมูลเชิงลึกแบบ Insight ก็ช่วยลดการเกิด Problem Blindness ลงได้ เพราะเมื่อเรามีความรอบรู้มากพอ จะเกิดการเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เข้าหากัน และมักนำไปสู่การตั้งคำถามหรือตั้งข้อสงสัยต่อเรื่องต่างๆ โดยปริยาย

สุดท้ายแล้วสิ่งที่ต้องกังวลด้วยคือ “ความไว” ในการตาสว่าง ค้นพบและรับรู้แล้วว่าสิ่งที่อยู่ตรงหน้าคือปัญหา เพราะปัญหาแบบ Problem Blindness ส่วนมากไม่ใช่เรื่องใหญ่จนสะดุดตาได้ในช่วงแรก แต่มักเป็นปัญหายิบย่อยที่ “เก็บเล็กผสมน้อย” จนวันนึงมันอาจใหญ่จนสายเกินแก้แล้วต่างหาก…

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง