น่าจะ “อ่านหนังสือ” แบบนี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 20

น่าจะ “อ่านหนังสือ” แบบนี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 20

เชื่อว่า…พวกเราหลายคนน่าจะมีนิสัย “รักการอ่าน” เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ว่างหน่อยเป็นไม่ได้ต้องหยิบหนังสือ(ที่ติดตัวตลอดเวลา)ขึ้นมาอ่านซักบรรทัดก็ยังดี

แต่ก็ตามมาด้วย Pain Point สุดคลาสสิคอย่าง “อ่านเท่าไรก็จำไม่ได้” อ่านไปเท่าไรก็คืนไปเยอะเมื่ออ่านเสร็จ เรียกได้ว่า…อ่าน 100 จำกลับมาใช้จริงได้แค่ 10

มันน่าจะมีเทคนิคการอ่านหนังสือที่เวิร์คกว่านี้? วันนี้เราขอแนะนำให้รู้จักกับเทคนิคการอ่านหนังสือ ที่รู้แล้วก็ได้แต่พรรณนาว่า…น่าจะอ่านหนังสือแบบนี้ตั้งแต่ก่อนอายุ 20!

อ่านแล้วสรุปทันที

นี่เป็นวิธีที่สอดคล้องกับกระบวนการทำงานของสมอง เรามักคิดว่าวิธี “รับและจดจำ” ข้อมูลที่ดีที่สุดคือการ “เอาแต่รับ” เข้ามาอย่างเดียว(ตรงไปตรงมาดี) แต่นี่เป็น Myth ความเข้าใจที่ผิด เพราะการ “ปล่อยออกไป” หลังจากรับเข้ามา สมองกลับทำให้จำข้อมูลได้ดีกว่าเดิม! 

กล่าวคือ การจำของสมองมนุษย์ อยู่ที่ว่าเรา “ใช้” มันมากน้อยแค่ไหนด้วย การรับและคิดวิเคราะห์ตกผลึกออกไปเป็นการเพิ่มความถี่ในเรื่องนี้โดยตรง โดยวิธีการจะเป็นทั้งจดโน๊ตลงเครื่องมือของตัวเอง / หรือเขียนใส่ลงหนังสือเลยก็ได้ / หรือแม้แต่นึกคิดในหัวพูดในใจก็ได้ทั้งนั้น

A person reading a book

Description automatically generated

นี่ยังเป็นวิธีที่ Bill Gates ใช้อ่านหนังสือประจำ โดยเขาจะ “สรุป” ใจความสำคัญของเนื้อหาหลังจากอ่านจบทุกครั้งทุกเล่ม! อย่างน้อยเอาให้ได้ 20% กระชับและครอบคลุมทุกประเด็นในหนังสือ นอกจากนี้เขาจะ “คิดตาม” เนื้อหาที่อ่าน บางทีเห็นด้วย-บางทีก็ไม่เห็นด้วย ซึ่งเพิ่มทักษะ Critical thinking ไปในตัว

เทคนิค Primary & Recency Effect 

กล่าวคือ ข้อมูล “ชุดแรกสุด-หลังสุด” (Primary & Recency) จะฝังในหัวและถูกจดจำได้มากกว่าข้อมูลที่อยู่ตรงกลาง

เทคนิคจิตวิทยานี้ถูกนำมาใช้กับการอ่านหนังสือได้เช่นกัน โดยให้ “แบ่งย่อย-ซอยถี่” เพื่อสร้าง Primary & Recency Effect ให้มากขึ้น จากเดิม สมมติว่า…อ่านหนังสือติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมง เราจะมี Primary Effect แค่ 1 ครั้ง และ Recency Effect แค่ 1 ครั้ง

Text

Description automatically generated

แต่ถ้าอ่านแล้ว “พักเป็นระยะ” จะมี Primary & Recency Effect อย่างละ 3 ครั้ง เช่น

  • 1 ชั่วโมงแรก: เริ่มอ่าน เกิด 1st Primary Effect จำตอนแรกได้ดี 🡺 หยุดพัก เกิด 1st Recency Effect จำตอนจบได้ดี 
  • 1 ชั่วโมงที่สอง: เริ่มอ่าน เกิด 2nd Primary Effect จำตอนแรกได้ดี 🡺หยุดพัก เกิด 2nd Recency Effect จำตอนจบได้ดี 
  • 1 ชั่วโมงที่สาม: เริ่มอ่าน เกิด 3rd Primary Effect จำตอนแรกได้ดี 🡺หยุดพัก เกิด 3rd Recency Effect จำตอนจบได้ดี 

ถ้ากลัวว่า เวลาพักที่เพิ่มเข้ามาจะทำให้ใช้เวลาเกิน 3 ชั่วโมง เราก็อาจปรับเป็นอ่าน 40 นาที พัก 20 นาที วนไป 3 รอบ ก็จะไม่เกิน 3 ชั่วโมงแล้ว!

เปิดตี้อ่านกับเพื่อน! 

อย่าผจญภัยผ่านตัวอักษรเพียงลำพังเลย แต่ถ้ามีโอกาส ลองเริ่มอ่านหนังสือซักเล่มกับเพื่อนๆ ไม่ต้องเยอะก็ได้ แค่ “1 คน” ก็พอแล้ว อย่างน้อยอ่านเสร็จหรือคืบหน้าถึงไหน ก็มาแชร์และดีเบตไอเดียกันได้ นอกจากจะได้รื้อฟื้นความจำเนื้อหาและฝึกทักษะคิดวิเคราะห์แล้ว ยังได้ “ความสัมพันธ์” มีเพื่อนคู่คิด-มิตรคู่อ่านเพิ่มมาอีก 1

A picture containing text, person, outdoor, ground

Description automatically generated

นี่ยังเป็นเทคนิคที่ Oprah Winfrey ใช้ประจำและประกาศออกสื่อ เธอจะอ่านหนังสือกับเพื่อนๆ โดยเริ่มในเวลาไล่เลี่ยกัน-เล่มเดียวกัน ก่อนจะกลับมาพูดคุยแชร์ไอเดียกัน ซึ่งได้มุมมองใหม่ๆ จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนฝูง

กลับมาอ่านซ้ำ

คัดสรรเฉพาะจุดที่สนใจโดนใจคุณจริงๆ เราต้องยอมรับว่าหนังสือบางเล่มควรค่าแก่การกลับมาอ่านรอบที่ 2-3-4 เสมอ (หรืออ่านซ้ำทุกปีก็ได้) 

  • ประวัติศาสตร์: Sapiens 
  • จิตวิทยาการเงิน Psychology of Money 
  • สุขภาพและความเยาว์วัย Lifespan
A picture containing text, indoor, book, shelf

Description automatically generated

อ่านแล้วทดลองนำไปใช้จริง

อย่าเป็นพวกประเภทอยากรู้ไปเรื่อย แต่ไม่ได้ตั้งใจเอามาใช้จริง ลองตั้งเป้าหมาย อ่าน 1 ชม. เมื่อจบเสร็จ ให้ลองนำสิ่งที่อ่านมาใช้ดู 

  • ถ้าเป็นทัศนคติก็ลองขบคิดตกผลึกเงียบๆ คนเดียว เช่น การมองปัญหาในมุมกลับที่อาจนำไปสู่ทางออก 
  • ถ้าเป็นการลงทุน ให้ลองค้นหาข้อมูลและวางแผนการเงินทันที เช่น จัดพอร์ตการลงทุนแบบนักลงทุนที่ Wall Steet 
  • ถ้าเป็นสุขภาพ ให้ลองทำตามคำแนะนำในหนังสือทันที เช่น เคล็ดลับหายใจอย่างไรเพื่อลดความเครียด

สร้างบรรยากาศให้เหมือนในหนังสือ

อีกเคล็ดลับที่สมองจะจดจำทั้งเนื้อหาและอารมณ์ความรู้สึกได้อย่างดีเลิศ ส่วนใหญ่เรามักมี “สถานที่ประจำ” ในการนั่งอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะห้องนอนที่บ้าน / ร้านหนังสือ / หรือร้านกาแฟ 

แต่คราวนี้ลองเปลี่ยนบรรยากาศดู และไม่ใช่แค่เปลี่ยนสถานที่เฉยๆ แต่เป็นการผูกโยงบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้ “เข้า” กับเนื้อหาในหนังสือ เช่น 

  • ถ้าเป็นนิยายแนวเวทมนตร์ ลองหาร้านที่ตกแต่งคลาสสิคขลังๆ แล้วใช้เวลาอ่านอยู่
  • ถ้าเป็นแนวข้อมูลเชิงลึกคิดวิเคราะห์ ลองหาร้านในออฟฟิศยุคใหม่สุดโมเดิร์นดู
  • ถ้าเป็นแนวสุขภาพหรือจิตวิทยาสนุกๆ ลองหาร้านตกแต่งแบบเรียบง่าย ดูสะอาดตา หรือแสงไฟสีนวลๆ ดู
A screenshot of a video game

Description automatically generated with medium confidence

ปล่อยใจไปกับการอ่าน 

โฟกัสและมี “ความสุข” กับการอ่าน ณ โมเมนต์นั้นๆ เทคนิคนี้อาจฟังดูย้อนแย้งกับที่ผ่านๆ มา แต่กลับเป็นวิธีเข้าสู่ Flow State ได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่กดดัน ไม่มีเป้าหมายต้องไปให้ถึง สมองจะมีสมาธิดีเลิศและพร้อมจดจำรายละเอียดต่างๆ ได้มากกว่าปกติ 

A picture containing person, tree

Description automatically generated

ผลวิจัยยังเผยว่า ผลข้างเคียงจากการกระทำแบบนี้ยังส่งผลให้ร่างกายแก่ช้าลงด้วย เพราะจิตกายใจเราอยู่กับปัจจุบันขณะ อัตราเต้นหัวใจช้าลง สมองได้โฟกัสตรงหน้าไม่ฟุ้งซ่านไปเรื่อยเปื่อย

บางทีการปล่อยใจไปกับการอ่าน ขอแค่มีความสุขบนหน้าหนังสือ ณ จุดที่เป็นอยู่ตอนนั้นก็พอแล้ว…

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง