SpaceX ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่เป้าหมายอาณานิคมบนดาวอังคาร

SpaceX ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่เป้าหมายอาณานิคมบนดาวอังคาร
  • SpaceX มีมูลค่าบริษัทกว่า 3 ล้านล้านบาท
  • ปฏิวัติวงการจรวดและการเดินทางในอวกาศ
  • นี่คือบริษัทที่จะพามนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารในปี 2024

SpaceX ถือเป็นบริษัทเกิดใหม่ไม่กี่ทศวรรษมานี้เอง แต่ได้สร้างนวัตกรรมที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์การเดินทางอวกาศมาแล้ว

ก่อนที่บริษัทนี้จะพาเราไปสำรวจและลงเหยียบดาวอังคารได้สำเร็จในอนาคตอันใกล้ เรามาสำรวจกันหน่อยว่า SpaceX มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไร?

จุดเริ่มต้นที่มาพร้อมความฝันอันยิ่งใหญ่

SpaceX ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2002 โดย Elon Musk วิศวกรขั้นอัจฉริยะและนักธุรกิจที่มีวิสัยทัศน์ ตั้งแต่วันแรก เขามีความฝันว่าจะส่งมนุษย์ไปอาศัยอยู่บน “ดาวอังคาร”

A picture containing sky, outdoor, sunset, nature

Description automatically generated

ในช่วงเริ่มต้นนั้น SpaceX ยังเป็นเพียงดั่งซัพพลายเออร์รายหนึ่งที่ส่งป้อนอุปกรณ์ (Commercial cargo) ให้แก่ NASA ที่ครอบครองอุตสาหกรรมอวกาศเกือบทั้งโลกอยู่ โดย SpaceX สร้างจรวดที่ชื่อ “Falcon” ขนส่งอุปกรณ์ไปยังสถานีอวกาศที่ประจำการอยู่นอกโลก

สาเหตุที่ NASA จับมือบริษัทเอกชนอย่าง SpaceX เป็นเพราะ NASA เกิดข้อผิดพลาดก่อนหน้าหลายครั้ง (เช่น ยานระเบิด) สร้างมูลค่าความเสียหายมหาศาล จึงกระจายความเสี่ยงมายังภาคเอกชนเพื่อร่วมมือกัน

First Principle

แต่จรวดแบบดั้งเดิมมี “ต้นทุน” ที่สูงมาก ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ชิ้นส่วนมหาศาล

Elon Musk จึงสร้างกฎการคิดนอกกรอบขึ้นมาเรียกว่า “First Principle” หรือ “หลักการแรก” โดยรวบรวมนวัตกรรมที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน วางอคติลง แล้วคิดวิเคราะห์ถึงแก่นแท้ความจริง ก่อนจะตั้งโจทย์ว่า “ถ้าจรวดไม่เป็นแบบนี้…แล้วมันจะเป็นแบบอื่นอย่างไรได้บ้าง?” 

หลักการ First Principle นำมาสู่วิธีการคิดแบบถอนรากถอนโคน ทำให้ค้นพบว่า ต้นทุนที่มีสัดส่วนสูงอันดับต้นๆ ในการสร้างจรวดคือ “แบตเตอรี่” ซึ่งในท้องตลาดล้วนมีราคาที่สูง

SpaceX จึงลงทุน “สร้างแบตเตอรี่” ขึ้นมาเอง พร้อมกับออกแบบจรวดใหม่ ทำให้สุดท้ายสามารถสร้างจรวดด้วย “งบเพียง 2%” จากจรวดดั้งเดิมของ NASA

ที่สำคัญไม่แพ้กันคือ จากการทดลองล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า สุดท้ายมาประสบความสำเร็จในการ “นำจรวดลงจอดและกลับมาใช้ใหม่ได้” (Landable & Reusable) ซึ่งยังไม่เคยมีเจ้าไหนทำได้มาก่อน แม้แต่ NASA เองก็ตาม

A picture containing sky, outdoor, clouds, rocket

Description automatically generated

การนำจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้ ส่งผลให้ต้นทุนจะถูกลงอย่างมหาศาลในระยะยาว เพราะเสียเงินครั้งใหญ่แค่รอบแรกในการสร้างจรวด ที่เหลือเป็นค่าเชื้อเพลิงและซ่อมแซม

ระบบนิเวศน์ที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ

แต่จรวดไม่จำเป็นต้องถูกใช้ไปกับการขนส่งอุปกรณ์เท่านั้น ปี 2015 SpaceX จึงได้แตกแขนงหนึ่งของบริษัทที่เรียกว่า “Starlink” คือบริการอินเตอร์เน็ตดาวเทียมครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนก็ตาม เพราะเป็นการยิงจรวดดาวเทียมขึ้นไปลอยอยู่เหนือหัวคุณบนอวกาศ

ล่าสุด Starlink ถูกปล่อยสู่อวกาศแล้วกว่า 1,700 ดวง และ เปิดให้บริการใช้งานแล้วในสหรัฐอเมริกา สนธิราคาที่ $99/เดือน…ในอนาคต ถ้าบริการถูกขยายครอบคลุมไปทั่วโลก มันจะมาปฏิวัติวงการอินเตอร์เน็ตเลยทีเดียว เพราะ Starlink ตั้งเป้าการปล่อยหดาวเทียมในอนาคตสูงถึง 42,000 ดวง

A picture containing satellite, transport

Description automatically generated

SpaceX กำลังพัฒนายาน “Starship” ที่จะพามนุษย์ไปเหยียบดาวอังคาร (ตอนนี้ยานประกอบเสร็จแล้ว) และล่าสุดได้เซ็นสัญญากับ NASA เรื่อง “Human Landing System” ให้กับ SpaceX มูลค่าเกือบ 100,000 ล้านบาท เพื่อใช้ยานนี้ส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์เป็นรายต่อไป (ซึ่งไม่ได้ไปเหยียบมาหลายทศวรรษแล้ว) 

A picture containing plane, indoor, ceiling, airport

Description automatically generated

นอกจากนี้ เมื่อส่งจรวดอันทันสมัยขึ้นลงอวกาศได้… 

สามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการป้องกันประเทศ เช่น ขีปนาวุธยิงข้ามทวีปได้ (ที่อนาคตอาจยิงออกมาจาก “ฐานทัพอวกาศนอกโลก” ได้)

ปรับเปลี่ยนเป็นการ “ท่องเที่ยวเชิงอวกาศ” (Space tourism) ได้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทด้านอวกาศของมหาเศรษฐีระดับโลกที่สนใจการท่องเที่ยวเชิงอวกาศนี้แล้ว

  • Virgin Galactic ของ Richard Branson
  • Blue Origin ของ Jeff Bezos
  • SpaceX ของ Elon Musk
A picture containing car, motorcycle, person, outdoor

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3CALKVy

อาจกล่าวได้ว่า SpaceX เป็นเพียง “จิ๊กซอว์” ตัวหนึ่ง เพราะนอกจากที่กล่าววมา…ยังมีระบบนิเวศน์ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อเกื้อกูลกันและกัน “หลัง” เหยียบดาวอังคารแล้ว

  • Tesla – รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแหล่งพลังงานหลักบนดาวอังคาร
  • Boring Company – Hyperloop ท่อเดินทางด้วยความเร็วสูง
  • Neuralink – เชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์ สั่งหุ่นยนต์ให้ทำงานบนดาวอังคาร

บริษัททั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การบริหารของ Elon Musk ซึ่งถ้าการไปอาศัยบนดาวอังคารทำได้สำเร็จตามแผน ความสำเร็จของ SpaceX ในการพามนุษย์ไปเหยียบดาวอังคารอาจกลายเป็น “น้ำจิ้ม” ไปเลย เมื่อเทียบกับโอกาสทางธุรกิจและมูลค่ามหาศาลที่จะเกิดขึ้นตามมา

New Space Economy

  • ปี 2010 มูลค่าเศรษฐกิจด้านอวกาศทั่วโลกอยู่ที่ราว 8.3 ล้านล้านบาท
  • ปี 2020 มูลค่าเศรษฐกิจด้านอวกาศทั่วโลกอยู่ที่ราว 13.4 ล้านล้านบาท
  • ปี 2040 คาดการณ์ว่ามูลค่าเศรษฐกิจด้านอวกาศทั่วโลกจะอยู่ที่ 90 ล้านล้านบาท

การเติบโตของ SpaceX ควบคู่ไปกับการเติบโตของทั้งอุตสาหกรรมอวกาศที่จะกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักแห่งยุคถัดไป

A picture containing indoor, close

Description automatically generated

บน “อวกาศ” เป็นตลาดแข่งขันที่เข้ายาก ไม่ใช่ใครจะเข้ามาเป็นผู้เล่นได้ รายละเอียดทุกอย่างต้องพิเศษเหนือชั้นกว่าบนโลก แม้แต่ “น็อต” หนึ่งตัวก็ต้องดีกว่าน็อตทุกตัวบนโลก

เช่น การหมุนวงโคจรโลก 1 รอบ ต้องปะทะกับสภาพอุณหภูมิ -200 องศาเมื่อไม่โดนแสงอาทิตย์ ก่อนจะโคจรไปเจออุณหภูมิ 300 องศา เมื่อโดนแสงอาทิตย์…ร้อน-เย็นสุดขั้วแบบนี้ทุกๆ 1-2 ชั่วโมง

ใครจะไปรู้ว่า การวิจัยพัฒนาทุกรายละเอียดอาจนำมาสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ บนพื้นโลก ซึ่งต่อยอดไปสู่ธุรกิจและความเป็นไปได้ใหม่ๆ มหาศาล

ทุกอย่างที่กล่าวมานี้ ยังเป็นเพียง “จุดเริ่มต้น” ของการเดินทางในอวกาศเท่านั้น ในอนาคตอีกไม่กี่ทศวรรษหน้า ถ้าการเดินทางไปอวกาศเกิดขึ้นได้จริงเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะการท่องเที่ยว / ขนส่งสินค้า / สำรวจอวกาศ / เชิงพาณิชย์ต่างๆ

SpaceX ที่เป็นเหมือน “ตัวกลาง” ในการพาสิ่งต่างๆ มาเจอกัน ก็น่าจะเป็บบริษัทที่โตระเบิดและเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมอย่างแน่นอน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3E7ntGr

อ้างอิง