📰 บทความทั้งหมด

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

คุณรู้หรือไม่? “ถุงพลาสติก” ที่ตอนนี้ทั่วโลกพยายามลดเลิกใช้มันอยู่เพราะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องใช้เวลานับ 100 ปีกว่ามันจะย่อยสลายไปเอง…ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยความตั้งใจสัตย์จริงที่จะให้ผู้คน “ใช้ซ้ำ” ต่างหาก! ในปี 1959 คุณ Sten Gustaf Thulin วิศวกรชาวสวีเดนเป็นผู้คิดค้นถุงพลาสติกใบแรกของโลกได้สำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจมาจากการบริโภค “ถุงกระดาษ” ในยุคสมัยนั้นที่ต้องตัดไม้ทำลายไม้ เขาจึงตั้งใจสร้างถุงพลาสติกขึ้นมาซึ่ง “ไม่ต้องตัดต้นไม้” ซักต้นและสามารถ “ใช้ซ้ำ” ได้ไปอีกนาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหา “สิ่งแวดล้อม” ในระยะยาว เมื่อถึงปี 1979 ถุงพลาสติกก็ได้ครอบงำการใช้งานภาชนะหิ้วกว่า 80% ทั่วทวีปยุโรปแล้ว เมื่อถึงปี 2018 ถุงพลาสติกกว่า 1 ล้านล้านใบถูกผลิตขึ้นทั่วโลก  แต่ประเด็นคือ ถุงพลาสติกกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำ ตรงกันข้าม…มันมักถูกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง!! (อัตราการรีไซเคิลทั่วโลกมีไม่ถึง 1%) ซึ่งกลับสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ  และนี่คือตัวอย่างคลาสสิกในสเกลระดับโลกของ “Backfire Solutions” ทางออกของปัญหาหนึ่งที่ดันสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมา หรือนำไปสู่ผลลัพธ์แง่ลบที่ไม่ได้คาดหวังไว้ กล่าวคือ Solution ในตัวมันเองสามารแก้ Problem ที่มีอยู่ได้จริงๆ (เช่น ถุงพลาสติก) แต่ดันมีปัจจัยรอบด้านอื่นๆ […]

Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์

Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์

Lacoste ใช้ “จระเข้” เป็นโลโก้แบรนด์ รถสปอร์ต Jaguar มีแรงบันดาลใจจาก “เสือจากัวร์”  Red Bull มี “กระทิง” 2 ตัวหันหน้าชนกัน Ralph Lauren มาพร้อมภาพจำคือคนกำลังขี่ “ม้า” นี่คือแบรนด์ระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์ “Animal Marketing” เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไปแล้ว Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์ Animal Marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์เลือกใช้ “สัตว์” เข้ามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์อย่างจริงจัง ช่วยในการสื่อสารสร้างภาพจำ หรือโปรโมทค่านิยมบางอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งการเลือกใช้ มีได้หลายรูปแบบมากๆ เช่น โลโก้แบรนด์ มาสคอต งานโฆษณา ทำไม Animal Marketing น่าดึงดูดใจ? คำอธิบายในแง่วิวัฒนาการ (Evolution) ให้คำตอบเราได้ถึงแก่นที่สุด เพราะมนุษย์สามารถ “จดจำและแยกแยะ” สัตว์ต่างๆ ได้ดีกว่าที่(คนในยุคปัจจุบัน) คิด  เรากรอกสายตาแล้วรับรู้ได้ทันที (Instant recognition) […]