📰 บทความทั้งหมด

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? จะเข้าใจปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร) ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ […]

Toxic Productivity: คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

Toxic Productivity: คลั่งโปรดักทีฟเกินไป อาจพาชีวิตพัง

ทุกสิ่งบนโลกใบนี้มีจุดสมดุล (Equilibrium) อะไรที่ “มากเกินไป” สุดท้ายจะย้อนกลับมาทำร้ายเรา ถ้าคุณชอบกินสเต๊ก…แต่ถ้ากินมากไป คุณจะอ้วน ถ้าคุณชอบวิ่งออกกำลังกาย…แต่ถ้าวิ่งมากไป ร่างกายจะอ่อนล้า ถ้าคุณชอบบริจาคเงินช่วยเหลือผู้อื่น…แต่ถ้าบริจาคมากไป-ถี่ไป ผู้รับอาจรอแต่รับอย่างเดียว ไม่ขวนขวายหาเงิน การทำงานก็เช่นกัน…ถ้าทำหนักเกินไป ใจจดจ่ออยู่กับมันทุกวินาทีเสมือนมันคือชีวิตทั้งหมดของเรา ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดี เราเรียกมันว่า “Toxic Productivity” Toxic Productivity ภัยเงียบที่คุณไม่รู้ตัว  เพราะโลกธุรกิจเราโอบกอดระบบทุนนิยม โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง (Perpetual Growth) เป็นหมุดหมายที่ทุกองค์กรต้องทำให้ได้ การสร้างผลผลิต (Productivity) ให้ได้มากที่สุดจึงเป็นของคู่กัน  แถมในมุมของนายจ้าง ก็ต้องการใช้งานพนักงานให้คุ้มค่าที่สุด (Maximize capacity) แต่การหมกมุ่นโปรดักทีฟเกินไป นำไปสู่ Toxic Productivity ซึ่งอาจมาในรูปแบบของ ในหัวคิดแต่เรื่องงานตลอดเวลา จนลืมสังคมคนรอบข้าง คาดหวังผลงานสูงลิบ ต้องการเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง นอนหลับยาก เพราะสมองยังหยุดคิดเรื่องงานไม่ได้ หรือกำลังนั่งอยู่บนโซฟาเล่นกับลูกที่ยังเล็กอยู่ และเผลอมองนาฬิกาเพื่อดูว่า “มีเวลาเหลืออีกกี่นาที”  ในการได้เล่น…ถ้าถึงขั้นนั้นคุณอาจต้องหันกลับมาพิจารณาวิธีการทำงานใหม่ได้แล้ว และในแง่ตัวเลข ชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของพนักงานอาจพุ่งไปสูงถึง 80-90 ชม./สัปดาห์ จะดีกว่าไหมถ้าทำงานอย่างสมดุลพอเหมาะ…โดยยังรักษาสุขภาพ / ความสัมพันธ์ […]

กำจัด Burnout อย่างไรให้ไฟกลับมาลุกโชนใหม่

กำจัด Burnout อย่างไรให้ไฟกลับมาลุกโชนใหม่

ลูกจ้างกว่า 76% ประสบกับ Burnout ช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตการทำงาน Burnout สร้างภาระค่าใช้จ่ายกับนายจ้างถึง 45,000 ล้านปอนด์/ปี ผลการศึกษาจาก University of California เผยว่าปัญหา ”Burnout” หรือการทำงานหนักเกินไปจนหมดไฟ-หมดเรี่ยวแรง ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซึ่งมักมาเป็นระลอกๆ และ “เกิดขึ้นได้กับทุกคน”  โดยเฉพาะกลุ่มผู้นำองค์กร ซึ่งกว่า 96% เคยประสบกับ Burnout มาแล้วช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (มากกว่าพนักงานทั่วไป) เพราะความรับผิดชอบและความคาดหวังอันหนักอึ้งที่แบกรับอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้วเราพอจะหาทางขจัด Burnout อย่างไรได้บ้าง? 1. Delegation ปริมาณงานเยอะเกินหน้าที่ความรับผิดชอบ แม้คุณจะเป็นคนเก่ง…แต่ก็เป็นมนุษย์อยู่ดีที่มี “ขีดจำกัด” ซึ่งไม่สามารถ “ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง” ได้หมด ทางออกแบบตรงไปตรงมาที่สุดคือ “ให้คนอื่นทำแทน” ซะ! สมัยที่ Barack Obama ดำรงตำแหน่งปธน.สหรัฐอเมริกาที่แต่ละวันมีแต่งานยุ่งไปหมด บริหารองค์กรว่ายากแล้ว…บริหารประเทศยากกว่าหลายสิบเท่า! เขาจึงจำเป็นต้อง “มอบหมายงาน” ที่สำคัญน้อยลงมาให้คนอื่นที่ไว้ใจและเลือกมาแล้วไปทำแทนซะ มอบอำนาจให้ตัดสินใจเต็มที่ ตัวเขามีหน้าที่แค่เซ็นรับรองในขั้นตอนสุดท้าย วิธีนี้จึงทำให้ Barack […]