📰 บทความทั้งหมด

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

Brand Consistency – เสมอต้นเสมอปลาย ก่อน-หลังเลือกตั้ง Brand Transparency – โชว์ความสุจริตโปร่งใสผ่าน FB LIVE Brand Citizenship – พูดคุยกับคนทุกอาชีพอย่างเป็นกันเอง จากกิจกรรมตลอดการหาเสียงและการทำงานในทุกวันเมื่อเป็นผู้ว่ากทม. มาวันนี้ “อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในมุมการตลาดและในฐานะผู้นำองค์กรที่เราควรเรียนรู้ไว้ อ.ชัชชาติมาเกี่ยวข้องยังไงกับการบริหารองค์กร? แม้การเป็นผู้ว่ากทม.จะแตกต่างจาก CEO บริษัท เพราะประชาชนไม่ใช่พนักงาน เพราะเงินเดือน CEO ไม่ได้มาจากภาษีพนักงาน และเพราะเราไม่ได้วัดคุณค่าของคนจาก Performance ที่ทำได้เสมอไป แต่ผู้ว่ากทม.ภายใต้การนำของ อ.ชัชชาติ กลับสะท้อนภาพภาวะ “ความเป็นผู้นำ” ที่น่าประทับใจ (จนแม้แต่ในแวดวงนักธุรกิจยังให้การชื่นชม) ถ้าอย่างนั้น เราลองมาวิเคราะห์ อ.ชัชชาติ ในมุมการตลาดและแกะรอยภาวะความเป็นผู้นำของเค้าดูกัน บอกเลยว่าน่าสนใจจนใช้เป็น Role Model ได้เลย!  Brand Consistency อ.ชัชชาติยังคง “เสมอต้นเสมอปลาย” ตื่นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เลิกดึกดื่น แถมทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุด 7 วัน/สัปดาห์ และบุคลิกความ […]

Personal Brand Archetype – ตัวตนของคุณขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่สื่อออกไปอยู่รึเปล่า?

Personal Brand Archetype – ตัวตนของคุณขัดแย้งกับภาพลักษณ์ที่สื่อออกไปอยู่รึเปล่า?

จากบทความก่อน เราพูดถึงเรื่อง “Brand Archetype” ตัวตนในฐานะของแบรนด์ตัวองค์กร แต่ความจริงแล้วเรื่องนี้ ยังมีอีกมุมมองหนึ่ง ที่เรียกว่า “Personal Brand Archetype” ตัวตนในฐานะบุคคล(ผู้นำองค์กร) ว่าเป็นประเภทไหนจากทั้งหมด 12 ประเภท เวลาผู้คน “นึกถึงผู้นำคนนี้…จะนึกถึงอะไร?” อารมณ์ความรู้สึกแว่บแรกที่เกิดขึ้นคืออะไร ซึ่งเป็นพื้นฐานของการสร้าง “แบรนด์บุคคล” ที่กำลังเป็นที่นิยมในยุคนี้ เราตามไปดู Personal Brand Archetype ทั้ง 12 ประเภทกัน 1. The Outlaw – นักเปลี่ยนแปลง  กล้าหาญที่จะปฏิวัติวงการ ทิ้งสิ่งเดิมที่ไม่เวิร์ค รับสิ่งใหม่ที่เวิร์คกว่า เชื่อมั่นว่ากฎมีไว้แหก ฉีกทุกกฎเกณฑ์ที่คร่ำครึ พร้อมเสี่ยงเพื่อไปสู่จุดหมาย กล้าแตกต่าง มีจุดยืนอุดมการณ์ที่แข็งแกร่ง เช่น Elon Musk / Mark Zuckerberg / ชัชชาติ สิทธิ์พันธุ์ 2. The Ruler – นักปกครอง  […]

วิเคราะห์ Brand Archetype บุคลิกที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์

วิเคราะห์ Brand Archetype บุคลิกที่เป็นตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์

Apple มีบุคลิกแบบ “The Creator” Uniqlo มีบุคลิกแบบ “The Everyman” Godiva มีบุคลิกแบบ “The Lover” นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “Brand Archetype” ที่ผู้นำองค์กร นักวางแผนกลยุทธ์ หรือนักการตลาดจำเป็นต้องรู้แต่เนิ่นๆ ก่อนพาองค์กรออกเดินทาง Brand Archetype คืออะไร? เดิมที สิ่งที่เรียกว่า Archetype เป็นองค์ความรู้ที่ริเริ่มมาจากศาสตร์ทางด้าน “จิตวิทยา” โดย Carl Jung จิตแพทย์ชาวสวิส เขารวบรวมความหลากหลายด้าน “บุคลิกภาพ” ของมนุษย์ที่ถูกสะท้อนผ่านการกระทำ ทัศนคติ มุมมองความเชื่อ วิสัยทัศน์ ก่อนแยกแยะแบ่งประเภทออกไป ในเวลาต่อมา มีการนำมาประยุกต์ใช้กับ “แบรนด์” องค์กรเพื่อทำการตลาดและงานโฆษณาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสื่อว่า เวลาผู้บริโภค “นึกถึงแบรนด์นี้…จะนึกถึงอะไร?” อารมณ์ลักษณะแบบไหนที่จะเกิดขึ้น จนกลายเป็นพื้นฐานของการ “สร้างแบรนด์” สำหรับองค์กรที่นักวางแผนกลยุทธ์จำเป็นต้องรู้ ไปรู้จักกับ Brand Archetype ทั้ง 12 ประเภทกัน […]

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด  โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

TikTok แซงหน้า IG ขึ้นเป็นอันดับ 4 แอปคนใช้งานมากที่สุด 35.8 ล้านคน คือจำนวนผู้ใช้งาน TikTok ในเมืองไทย ไม่กี่ปีมานี้ ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าการเติบโตของ “TikTok” เป็นอีกช่องทางใหม่ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อมันเป็นโซเชียลมีเดียที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีคาแรคเตอร์ของแพลตฟอร์มที่โดดเด่นแตกต่าง และมีแนวทางการสร้างคอนเทนต์ที่ดูเหมือนจะตบหน้าทุกตำราการตลาดที่ผ่านมา จนเราอาจเปรียบเปรยขำๆ ได้ว่ามันคือ “ประเทศ TikTok” ที่มีเอกราช มีกฎหมายเป็นของตัวเองเลยก็ยังได้ ทำไมการตลาดเดิมๆ ใช้กับ TikTok ไม่ได้อีกต่อไป? คาแรคเตอร์ที่โดดเด่นที่สุดของ TikTok คือ เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นๆ ที่ไม่ชอบความซีเรียส ทุกคอนเทนต์ต้องสนุก-ผ่อนคลาย-หัวเราะได้ยิ้มได้  แบรนด์จึงต้องสื่อสารแบบ Authentic สั้น กระชับ เน้นความเป็นมนุษย์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงงานโปรดักชั่นต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสวยหรูเพอเฟกต์ ขอแค่มันสื่อสารตรงประเด็นได้เป็นพอ ประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือ แพลตฟอร์มนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังของ “คนรุ่นใหม่” เป็นส่วนใหญ่ นักการตลาดที่อาจมีอายุเยอะแล้ว ต้องฟังลูกค้ากลุ่มนี้ให้มากๆ อย่าปักใจคิดหรือเชื่อในสิ่งเดิมๆ ที่เคยเรียนรู้มา ระวัง generation gap ให้ดี สิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้องดีงาม […]