📰 บทความทั้งหมด

Kodak ปั้นองค์กรอย่างไร? จากผู้นำตลาดสู่การล้มละลาย

Kodak ปั้นองค์กรอย่างไร? จากผู้นำตลาดสู่การล้มละลาย

ในอดีต Kodak เคยเป็นธุรกิจที่ยิ่งใหญ่และแทบจะผูกขาดส่วนแบ่งทั้งตลาด แต่แล้วกลับถูกคู่แข่งแซงหน้า และถูก Disrupt ในที่สุดจนต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลายในปี 2012 ถ้ามองในมุมกลับ ก็น่าสนใจไม่น้อยว่า Kodak มีวิธีคิดและการปั้นองค์กรอย่างไร? ถึงพาบริษัทมาสู่ผลลัพธ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดเช่นนี้? จุดเริ่มต้นของ Kodak Kodak ถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1888 คิดค้นนวัตกรรม กล้องถ่ายรูปแบบที่ใช้ฟิล์ม (Photographic film) มาตั้งแต่จุดเริ่มต้นจนเชี่ยวชาญและเป็นผู้นำตลาดเรื่อยมา เมื่อถึงทศวรรษปี 1970s บริษัทก็มีส่วนแบ่งตลาดกล้องถ่ายรูปกว่า 80% จากทั่วโลก พร้อมพนักงานนับ 100,000 คน ยุคนั้นทุกคนคิดเหมือนกันว่า Kodak คงจะอยู่ไปอีกนานไม่มีวันล้ม Razor & Blades Business Plan ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ Kodak ใช้โมเดลธุรกิจที่น่าสนใจมากอย่าง “ใบมีดโกน” ชิ้นส่วนหลัก = กล้องถ่ายรูป / ราคาต่ำ / กำไรน้อย / ซื้อครั้งแรกจบ ชิ้นส่วนเสริม = ม้วนฟิล์ม […]

Conservatism Bias: ยึดติด “ความสำเร็จในอดีต” จนปัจจุบันพัง

Conservatism Bias: ยึดติด “ความสำเร็จในอดีต” จนปัจจุบันพัง

“หุ้นขึ้นมาตลอด ข่าวร้ายออกมาคงไม่เป็นไรหรอกมั้ง” “เคยทำแบบนี้แล้วเวิร์ค ทำไมจะทำซ้ำไม่ได้” “มี Best Practice ในอดีตมาแล้ว ก็ทำตามๆ ไปเถอะ” เรื่องนี้ไม่มีถูกผิด แต่บางครั้งการยึดติดกับอดีตจนเกินไป ก่อให้เกิด “Conservatism Bias” จนพลาดโอกาส ณ ปัจจุบันและอนาคต Conservatism Bias ยึดติดความสำเร็จในอดีตจนไร้อนาคต Conservatism Bias คือภาวะที่เรา “ยึดติดความสำเร็จในอดีต” หรือข้อมูลเก่าๆ ข่าวดีเก่าๆ ทัศนคติเก่าๆ มาเป็นบรรทัดฐานในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มันอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว  เป็นการพยายามกินบุญเก่าในอดีต แทนที่จะสร้างบุญใหม่ในปัจจุบันและอนาคต Conservatism Bias จึงมีแนวโน้ม “ปิดกั้น” ไอเดียใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ บุคลากรใหม่ๆ เพียงเพราะมันขัดแย้งกับของเดิม เรื่องนี้ยิ่งมีอิทธิพลเป็นพิเศษกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ (Grand past achievement) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนกลายเป็น “Best Practice” ที่ผู้คนยึดถือปฏิบัติกัน  ในกรณีนี้ Best Practice ถือเป็นดาบสองคมก็ว่าได้  นัยหนึ่ง…มันปูทางสูตรสำเร็จมาให้เราเดินตามได้อย่างง่ายดายแล้ว  แต่นัยหนึ่ง…มันตีกรอบให้เราอยู่ในทางเดินเดิมๆ […]