📰 บทความทั้งหมด

Problem Solving Activities: อัพสกิลครีเอทีฟด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋น

Problem Solving Activities: อัพสกิลครีเอทีฟด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋น

เรามักบอกว่า Creativity คือการ Connecting the Dots เชื่อมโยงสิ่งเดิมจนนำไปสู่สิ่งใหม่ หรือ คิดในแบบที่แตกต่างยังไม่มีใครทำมาก่อน หรือ การคิดในแบบทำน้อยแต่ได้มาก สิ่งเหล่านี้เป็นแก่นหลักชั้นดีของ Creativity แต่ความจริงแล้วมัน “พูดง่าย-ทำยาก”  และไม่ใช่ทุกคนที่มีทักษะนี้  ดีกว่าไหม? ถ้าเราจะมีมาตรฐาน “เทคนิคการคิด” ที่ช่วยลับคมสมองให้ครีเอทีฟและอ่านเกมขาดมองเห็นปัญหา แถมยังได้กระชับความสัมพันธ์กับทีม (Team building) รู้ตัวอีกทีซี้ปึ้กกันแล้ว เราไปทำความรู้จัก “Problem Solving Activity” ครีเอทีฟพุ่งด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋นกัน เปิดด้วยไอเดียที่ “ซื่อบื้อ” ที่สุด นี่เป็นเทคนิคที่เหมาะกับการเปิดการประชุมระดมสมอง เพราะมักเรียก “เสียงหัวเราะ” จากทุกคน ต้องไม่ลืมว่า ความคิดสร้างสรรค์มักเกิดจากการคิดในช่วงอารมณ์ที่ “ผ่อนคลาย” (ยิ่งเครียด ยิ่งคิดไม่ออก) นี่ยังเป็นวิธีในการปล่อยวางอีโก้ของตัวเอง ไม่มีใครผิด ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ไอเดียที่ตอนแรก “ดูเหมือน” ซื่อบื้อโง่เขลา…อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปเมื่อคุณให้เวลาขบคิดกับมัน อยากให้นักท่องเที่ยวมีที่พักอาศัย? ก็เปิดบ้านตัวเองให้เค้าพักซะเลย!! (ต่อมาอาจกลายเป็น Airbnb) อยากให้คนกดลิ้งค์เข้า Website? ก็ลองเขียนสะกดผิดๆ […]

Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง

Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง

รู้หรือไม่? สมองคนมีอยู่ 84,000 เซลล์ โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย แว่บแรกที่เห็น เราทุกคนล้วนเอะใจถึงความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ เรารู้อยู่ในใจลึกๆ ว่ามันผิดและมีแรงผลักดันอยากที่จะ “ทำให้ถูกต้อง”…ยินดีด้วย คุณกำลังตกอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “Cunningham’s Law” Cunningham’s Law คืออะไร?  หลายคนอาจเดาได้ว่าคำนี้มาจากชื่อคน โดยผู้ที่คิดค้นแนวคิดนี้คือคุณ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน และเป็นผู้พัฒนาเว็ปไซต์ WikiWikiWeb เวอร์ชันแรกของโลก  เขาคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1980s โดยมีหัวใจหลักคือ “วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน” (เพราะเดี๋ยวผู้คนจะมาทำให้ถูกเอง!!) เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดพื้นที่ให้ใครก็ได้มาแก้ไขข้อมูลและประสบความสำเร็จไปทั่วโลก จิตวิทยาเบื้องหลัง  Cunningham’s Law มีคำอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องหลัง เพราะคนเรามักให้ความสนใจในการ “แก้ไขสิ่งที่ผิด” มากกว่าการตอบคำถามอันชาญฉลาด  ส่วนหนึ่งเพราะการแก้ไขให้ถูก ง่ายกว่าการคิดเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพื้นฐานตรรกะมานำเสนอให้เราอยู่บ้างแล้วนั่นเอง และมนุษย์เรามีจริตในการอยากแก้ไขบางอย่างที่ผิดให้ถูกต้อง หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Tendency to Correct” แต่โดยทั่วไป Cunningham’s Law จะทำงานได้มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษ […]