📰 บทความทั้งหมด

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

“ดีต่อใจ บรรลัยต่อฟัน” จาก น้ำพริกแคบหมูยายน้อย “ถึงคุณ…คนธรรมดา” จาก เสื้อยืดตราห่านคู่ “เราไม่อยากให้คุณกลับมาหาเราอีก” จาก เงินติดล้อ “FCK” จาก KFC “Don’t Buy This Jacket” จาก Patagonia การกระทำของแบรนด์เหล่านี้ที่ดูเหมือนสร้างภาพลักษณ์แง่ลบให้ตัวเอง กลับกลายเป็นสร้างกระแสโดด่งดังให้แบรนด์ด้านบวก และไม่ใช่ความผิดพลาดของทีมการตลาด แต่เป็นเบื้องหลังของกลยุทธ์สุดครีเอทีฟที่เรียกว่า “Bully Marketing” Bully Marketing – อยากดังต้อง “แซว” ตัวเอง Bully Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดสุดครีเอทีฟที่แบรนด์ใช้ “ล้อเลียนตัวเอง” สร้างประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่เสียดสีให้ร้ายตัวเองในลักษณะ “ตลกขบขัน” โดยเป็นการนำ Pain Point หรือจุดอ่อนบางข้อของแบรนด์ มาพูดบุลลี่ในเชิงสร้างสรรค์ อย่างเช่น ปกติแล้วแบรนด์มักบรรยายสรรพคุณสินค้า / วัตถุดิบชั้นเลิศในการผลิต / ประโยชน์ที่ลูกค้าจำได้รับ / ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ยังไง…แต่ Bully Marketing จะทำตรงกันข้ามเชิงขบขัน  สินค้าธรรมดาๆ ไม่มีอะไรโดดเด่นหรอก […]

Customer Profitability Analysis การแบ่งลูกค้าเป็น 4 ประเภทตามต้นทุนยอดขาย

Customer Profitability Analysis การแบ่งลูกค้าเป็น 4 ประเภทตามต้นทุนยอดขาย

หลายปีที่ผ่านมา มุมมองด้านธุรกิจเริ่มเปลี่ยนจากโฟกัสตัวสินค้ามาเป็นโฟกัสที่ “ตัวลูกค้า“ (Customer-Centric) มากขึ้นเรื่อยๆ นักการตลาดจึงเกิดวิธีการคิดวิเคราะห์ที่ข่วยให้แบรนด์เข้าใจและแยกแยะลูกค้าตัวเองได้แบบเห็นภาพมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือ “Customer Profitability Analysis” ที่จะมาแบ่งประเภทของลูกค้าออกเป็น 4 ประเภทตาม “ยอดขาย & ต้นทุน” เพื่อวิเคราะห์กำไรสูงสุดจากแต่ละกลุ่ม และเพื่อจะได้คิดกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันไป วิธีนี้ยังเป็นการต่อยอดที่ลึกซึ้งขึ้นจากแนวคิด 80-20 ที่ว่า ลูกค้าเพียง 20% แต่สร้างยอดขายถึง 80% ให้กับบริษัท  แล้วลูกค้าทั้ง 4 ประเภทมีอะไรบ้าง? ไปพบกับ Customer Profitability Analysis ทั้ง 4 ประเภท 1. Champion – ลูกค้าในอุดมคติ นี่คือกลุ่มลูกค้าขั้นนิพพานที่แบรนด์ต้องสวดอ้อนวอนและพร้อมทำทุกอย่างเพื่อเอาใจ เพราะนี่คือกลุ่มลูกค้าที่ซื้อในปริมาณมาก (หรือซื้อน้อยแต่มูลค่าสูง) สร้างยอดขายส่วนใหญ่ให้กับบริษัท ขณะเดียวกัน แม้ซื้อเยอะ แต่กลับเป็นกลุ่มที่ไม่เรียกร้องโหยหาสิทธิพิเศษตอบแทนนัก ไม่ได้ต้องการบริการพิเศษ VVIP แต่อย่างใด พวกเค้าแค่ประทับใจและพึงพอใจในสินค้าบริการที่แบรนด์มอบให้เท่านั้น ในมุมฝั่งแบรนด์จึง “ไม่เหนื่อย” มาก เพราะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายดูแลลูกค้ากลุ่มนี้น้อยมาก […]