📰 บทความทั้งหมด

ทำไมการเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ กลับทำให้เรา Creative ขึ้น?

ทำไมการเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ กลับทำให้เรา Creative ขึ้น?

“Work From Home ทำงานอยู่บ้าน Productive กว่าเยอะ” ไม่กี่ปีที่ผ่านๆ มา คำนี้น่าจะยืนยันพวกเราได้แล้วว่าจริง แต่ที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ ทำอยู่บ้านน่ะ Productive จริง…แต่ถ้าอยาก “Creative” ต้องเข้าออฟฟิศ! Productive กับ Creative ต่างกันไม่เหมือนกันนะ ทำไมการเข้าออฟฟิศกลับทำให้ Creative? อันดับแรก การเดินทางเข้าออฟฟิศได้สร้าง “เส้นแบ่งทางใจ” (Psychological Boundary) โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลด “ความเครียด” ที่เกิดขึ้นได้ (ตัวการขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ชั้นดี) เราจะรู้สึกว่าได้แบ่งพื้นที่ส่วนตัว-ทำงาน (บ้าน-ออฟฟิศ) เวลาเครียด โกรธ หงุดหงิดเรื่องงาน อารมณ์ด้านลบมีแนวโน้มจะถูก “จำกัดบริเวณ” อยู่ในออฟฟิศ…ไม่ติดตัวตามมาที่บ้าน(เท่ากับนั่งทำอยู่บ้าน) เมื่อก้าวขาออกจากออฟฟิศเพื่อเดินทางกลับบ้าน สมองจะ “เข้าใจไปเองว่า” ได้เอาตัวเองออกมาจากปัญหานั้นแล้ว (แม้จะห่างกันแค่ 10 ก้าว) ส่งผลให้ความเครียดลดลง หัวใจเต้นช้าลง ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ ที่สำคัญยังดีต่อสุขภาพโดยรวม Caroline Williams ผู้เขียนหนังสือ MOVE! […]

Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

Mind-Healing เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น

เดี๋ยวนี้ใครๆ ก็นั่งสมาธิ  แอปเพลงช่วยกล่อมนอนโตระเบิด และสปาที่เต็มทุกที่หลังเปิดโควิด ชัดขนาดนี้ ไม่ต้องสงสัยแล้วว่าเรากำลังอยู่ในยุคของ “Mind-Healing” เมื่อผู้คนเยียวยาจิตใจตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ไปแล้ว! Mind-Healing: เยียวยาใจตัวเองเพื่องานที่ดีขึ้น Mind-Healing ไม่ใช่แค่เทรนด์ในเมืองไทยหรือระดับภูมิภาค แต่เป็นเทรนด์ระดับทั่วโลก (Global trend) และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง  ส่วนนึงเพราะ ผู้คนเหนื่อยล้าและเจ็บปวด(ทางกาย-ใจ) มาเยอะแล้วจากยุคโควิด-19 เมื่อได้สัมผัส Mind-Healing ซึ่งเป็นการเยียวยาใจที่ดีเลิศและผ่อนคลายสุดๆ ย่อมรู้สึก “ติดใจ” นอกจากนี้ Mind-Healing ไม่ใช่การบริโภคครั้งเดียวแล้วหมดไปเหมือนการไปกินบุฟเฟ่ต์ แต่เป็นการ “เดินทางระยะยาว” ภายในจิตใจตัวเอง บางคนใช้เวลาหลายเดือน บางคนใช้เวลาหลายปี และบางคนอาจใช้เวลาหลายทศวรรษเลยทีเดียว กิจกรรมและมูลค่าทางเศรษฐกิจที่วนรอบ Mind-Healing จึงมี “มูลค่าสูง” และเกิดการ “บริโภคซ้ำ” เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง (เช่น เข้าสปาทุกอาทิตย์) และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย โดยมูลค่าอุตสหากรรมทั่วโลกที่เกี่ยวกับ Mind Healing ทั้งหมด เช่น สปา / การทำสมาธิ / การท่องเที่ยวเชิงจิตวิญญาณ มีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นถึง […]

Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

Worry Time – เครียดน้อยลงด้วยการกำหนดเวลาเครียด!

เราทุกคนรู้ดีว่า “ความเครียด” เป็นตัวร้ายชั้นดีที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของเรา มันตามหลอกหลอนเราไปทุกที่และทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องงาน / ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว / คุณภาพการนอน / อรรถรสการกิน / อภิรมย์การเที่ยว…ทุกเรื่องในขีวิตจริงๆ Dr. Sabrina Romanoff นักจิตวิทยาคลินิกจาก Yeshiva University แห่งนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา เห็นถึงผลกระทบเรื่องนี้เป็นพิเศษ จึงได้ออกแบบเทคนิค “Worry Time” ขึ้นมาซึ่งมีข้อสนับสนุนด้านจิตวิทยาด้วย แทนที่จะเครียดมาก-เครียดน้อยตลอดทั้งวัน แต่ Worry Time จะเป็นการ อุทิศเวลาช่วงหนึ่งเพื่อ “เครียดให้ถึงที่สุด” เอาให้มันรู้กันไปข้างเลย  ปกติแล้วการกำหนด “ตารางเวลา” (Schedule) แทบทุกประเภมมักเกิดขึ้นกับการเพิ่มประสิทธิภาพการงานหรือเรื่องอื่นๆ ด้านบวก จึงมีการคิด “มุมกลับ” ว่าแล้วทำไมเราไม่ลองใช้กับความเครียดดูบ้างล่ะ? โดยจากการทดลองพบว่า Worry Time การกำหนดเวลาเครียดลักษณะนี้ กลับให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการ “เครียดตลอดทั้งวัน” ซะอีก! ทำไม Worry Time ถึงเวิร์คกว่าที่คิด? เรื่องนี้ฟังดูย้อนแย้งและขัดกับสัญชาตญาณ ความเครียดไม่ดีต่อร่างกาย […]

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

เทคนิคเฟ้นศักยภาพการทำงานในแบบที่ตัวคุณเองก็ไม่คาดคิด

คนเราเวลาทำงานอะไรไปก็มัก “เคยชิน” กับเรื่องเดิมๆ นานวันเข้า กลายเป็นการจมปลักอยู่กับที่ ไม่ได้พัฒนาตัวเอง ไม่ได้เฟ้น “ศักยภาพ” ที่มีออกมาใช้ จะดีกว่าไหม? ถ้ามีเทคนิคช่วยกระตุ้นให้เราทำงานด้วยวิธีใหม่ๆ-แนวคิดใหม่ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองไปดูกัน… 1. ตั้ง (Almost) Impossible Deadline  ความขี้เกียจเป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้ว ยิ่งมีเวลามากในการทำอะไร เรามักปล่อยปละละเลยแล้วมาทำตอนใกล้หมดเวลา เมื่อเป็นแบบนี้ ทางออกคือ ลดเวลาให้เหลือน้อยที่สุดด้วยการตั้ง “(Almost) Impossible Deadline” ซึ่งเราจะมี “เวลา” น้อยลง จึงเป็นการบีบบังคับให้ต้อง “เรียงลำดับความสำคัญ” (Setting priority) ไปโดยปริยาย เราจะโฟกัสเฉพาะงานที่สำคัญที่สุด และตัดที่ไม่สำคัญทิ้งไป กระบวนนี้ยังทำให้เราตระหนักด้วยว่า อะไรสำคัญ-ไม่สำคัญ นักวิจัยยังเผยว่า ความเครียด(ในแบบพอดี) เป็นตัวกระตุ้น “ความคิดสร้างสรรค์” ให้เกิดได้อย่างน่าอัศจรรย์ นี่ยังเป็นวิธีที่ Steve Jobs ใช้ประจำสมัยยังบริหารอยู่ที่ Apple โดยเขาจะตั้ง “Impossible Deadline” เดตไลน์การทำงานที่(ดูเหมือน)ไม่น่าเป็นไปได้แก่ทีม เรื่องเซอไพรส์คือ บ่อยครั้งที่ลูกทีมค้นพบ […]

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

ถ้าคุณได้โปรโมทเป็นหัวหน้าในแผนก เงินเดือนขึ้น 50,000 บาท…คุณมีความสุข แต่ถ้าคุณมารู้ทีหลังว่า เพื่อนร่วมงานของคุณอีกแผนก ก็ได้โปรโมทขึ้นเป็นหัวหน้าด้วย แต่เงินเดือนขึ้น 100,000 บาท เป็นไปได้สูงมากว่า ภายในใจคุณจะรู้สึกไม่มีความสุขขึ้นมาทันที นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “The Easterlin Paradox” The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ Richard Easterlin นักเศรษฐศาสตร์จาก University of Southern California และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความสุข (Happiness data) อย่างเป็นระบบ  เขาระบุว่า การเติบโตของ GDP เป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ตั้งข้อสงสัยว่า “ยิ่งเศรษฐกิจโต…ความสุขจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามหรือไม่?” เขาได้ทำการศึกษา รายได้ (Income) และ ความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) ในหลากหลายประเทศทั่วโลก และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจไม่ว่าจะ… ความรวยทำให้เรามีความสุขขึ้นจริง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เงินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามเป็นเส้นตรงอีกต่อไป จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ตัวเลข Happiness data ในสหรัฐอเมริกาพีคจุดสูงสุดราวทศวรรษที่ […]