📰 บทความทั้งหมด

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เราน่าจะเคยเห็นแบรนด์ที่ “สำเร็จชั่วข้ามคืน” สร้างความน่าอิจฉาและภาวนาให้เกิดกับแบรนด์ตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หลังจากที่ปลุกปั้นมานาน ก็มีบางแบรนด์ที่ “พังในชั่วข้ามคืน” เอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน  จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้แบรนด์ที่ทำพัง น่าจะมีประโยชน์และน่าเรียนรู้กว่าศึกษาแบรนด์ที่สำเร็จ เพราะปัจจัยที่ทำให้สำเร็จมักมี “มากกว่า” ปัจจัยที่ทำให้ล้มเหลว หรือก็คือ แบรนด์มีวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน แต่มักมีวิธีที่ทำให้ล้มเหลวคล้ายกัน ถ้าทำตามแบรนด์ที่สำเร็จ…อาจไม่ได้สำเร็จตามเสมอไป แต่ถ้าทำตามแบรนด์ที่ล้มเหลว…การันตีได้เลยว่าล้มเหลวแน่ Warren Buffett ยังเคยกล่าวว่า “ชื่อเสียงใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่ถูกทำลายลงได้ในง่ายๆ ภายใน 5 นาที” แล้วมีอะไรบ้างที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลว…จนถึงขั้นอาจพังทั้งแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน? อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ไม่ได้เป็น อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ “ไม่ใช่” มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จระดับนึงแล้ว ความสำเร็จอยู่ตัวแล้ว มี Best practice หรือแพทเทิร์นที่การันตีความสำเร็จแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว  แล้วมักอยาก “ลองของ” อะไรใหม่ๆ (อาจเกิดจากพนักงานหน้าใหม่-ความคิดใหม่) ซึ่งการลองอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ “ใช่” ของแบรนด์ด้วย ไม่อย่างนั้น อาจเกิด Backlash ลูกค้าไม่ยอมรับ เมินหน้าหนี […]

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

กรณีศึกษา เมื่อกลยุทธ์แก้ปัญหากลับให้ผลลัพธ์ตรงกันข้าม

คุณรู้หรือไม่? “ถุงพลาสติก” ที่ตอนนี้ทั่วโลกพยายามลดเลิกใช้มันอยู่เพราะไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ต้องใช้เวลานับ 100 ปีกว่ามันจะย่อยสลายไปเอง…ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยความตั้งใจสัตย์จริงที่จะให้ผู้คน “ใช้ซ้ำ” ต่างหาก! ในปี 1959 คุณ Sten Gustaf Thulin วิศวกรชาวสวีเดนเป็นผู้คิดค้นถุงพลาสติกใบแรกของโลกได้สำเร็จ เป็นแรงบันดาลใจมาจากการบริโภค “ถุงกระดาษ” ในยุคสมัยนั้นที่ต้องตัดไม้ทำลายไม้ เขาจึงตั้งใจสร้างถุงพลาสติกขึ้นมาซึ่ง “ไม่ต้องตัดต้นไม้” ซักต้นและสามารถ “ใช้ซ้ำ” ได้ไปอีกนาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหา “สิ่งแวดล้อม” ในระยะยาว เมื่อถึงปี 1979 ถุงพลาสติกก็ได้ครอบงำการใช้งานภาชนะหิ้วกว่า 80% ทั่วทวีปยุโรปแล้ว เมื่อถึงปี 2018 ถุงพลาสติกกว่า 1 ล้านล้านใบถูกผลิตขึ้นทั่วโลก  แต่ประเด็นคือ ถุงพลาสติกกลับไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำ ตรงกันข้าม…มันมักถูกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง!! (อัตราการรีไซเคิลทั่วโลกมีไม่ถึง 1%) ซึ่งกลับสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ  และนี่คือตัวอย่างคลาสสิกในสเกลระดับโลกของ “Backfire Solutions” ทางออกของปัญหาหนึ่งที่ดันสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมา หรือนำไปสู่ผลลัพธ์แง่ลบที่ไม่ได้คาดหวังไว้ กล่าวคือ Solution ในตัวมันเองสามารแก้ Problem ที่มีอยู่ได้จริงๆ (เช่น ถุงพลาสติก) แต่ดันมีปัจจัยรอบด้านอื่นๆ […]