📰 บทความทั้งหมด

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ

งานยังไม่เสร็จ เก็บเอาไปคิดตอนเที่ยวต่างประเทศ พรุ่งนี้พรีเซนท์ใหญ่ วันนี้เลยไม่มีกะจิตกะใจทำอย่างอื่น โฆษณาที่โชว์โลโก้แบรนด์ขาดๆ เกินๆ ให้คนไปคิดต่อ นี่คือจิตวิทยาที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect” Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ Zeigarnik Effect มาจากชื่อของคุณ Bluma Zeigarnik นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ค่ำคืนหนึ่ง เธอไปรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้านอาหาร รายการอาหารที่สั่งค่อนข้างเยอะแถมมีการขอรีเควสพิเศษ  ที่น่าสนใจคือ พนักงานรับออเดอร์ไม่มีการ “จดออเดอร์” ลงกระดาษใดๆ ทั้งสิ้น Zeigarnik คาดการณ์ว่าต้องมีผิดพลาดบ้างแน่นอน แต่สิ่งที่เหลือเชื่อคือ เมนูที่เสิร์ฟกลับถูกต้องทุกจาน!!  หลังทานเสร็จและออกร้าน เธอนึกขึ้นได้ว่าลืมผ้าเช็ดหน้าไว้ที่โต๊ะจึงกลับเข้าร้านไปเอา และพบกับพนักงานรับออเดอร์คนเดิม ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่าคือ…พนักงานคนนี้จำเธอไม่ได้เลยแม้แต่น้อย!! เธอถามกลับไปว่า: “เป็นไปได้อย่างไร เมื่อกี้คุณยังจำเมนูทุกอย่างได้อย่างแม่นยำเป๊ะๆ อยู่เลย?” พนักงานตอบกลับว่า: “ผมจำเมนูที่ลูกค้าสั่งได้เป๊ะก็จริง แต่เมื่อพวกเค้าชำระเงินเสร็จ ผมก็ลืมหมดแล้ว” จากการศึกษาในเวลาต่อมา เธอค้นพบว่าสมองของมนุษย์พวกเราก็ทำงานไม่ต่างจากพนักงานคนนั้น จนกลายมาเป็น Zeigarnik Effect ในที่สุด Zeigarnik Effect คืออะไรกันแน่? […]

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่ 100 ปี เพิ่ม Productivity

Ivy Lee Method: เทคนิคเก่าแก่อายุ 100 ปี เพิ่ม Productivity ย้อนกลับไปเมื่อปี 1918 คุณ Ivy Lee ที่ปรึกษาเฉพาะทางด้านการเพิ่ม Productivity ถูกว่าจ้างจากบริษัท Bethlehem Steel Corporation บริษัทต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกขณะนั้น ให้ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร Image Cr. bit.ly/3EDehLH เขาไม่ได้ทำอะไรซับซ้อน เพียงแค่ใช้เทคนิคที่สร้างขึ้นมาอย่าง “Ivy Lee Method” ใช้เวลาคุยกับผู้บริหารอื่นๆ เพียงคนละไม่เกิน 15 นาที แต่กลับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรอย่างสิ้นเชิงเพียงเวลาแค่ 3 เดือนเท่านั้น  เจ้าของบริษัทถึงกับเต็มใจให้ค่าตอบแทนพิเศษเป็นเงินถึง $25,000 หรือเทียบเท่ากับ 12 ล้านบาทในค่าเงินปัจจุบัน (และทำให้เขาไม่จำเป็นต้องทำงานอีกเลยตลอดชีวิตก็ยังได้) แต่คุณ Ivy Lee ก็ยังเดินสายเผยแพร่เทคนิคอันเรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพสุดๆ ต่อไป คำถามคือ แล้ว Ivy Lee Method ที่ว่า มีขั้นตอนอะไรบ้าง? ขั้นตอนการทำ […]