The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ
  • ถ้าคุณได้โปรโมทเป็นหัวหน้าในแผนก เงินเดือนขึ้น 50,000 บาท…คุณมีความสุข
  • แต่ถ้าคุณมารู้ทีหลังว่า เพื่อนร่วมงานของคุณอีกแผนก ก็ได้โปรโมทขึ้นเป็นหัวหน้าด้วย แต่เงินเดือนขึ้น 100,000 บาท

เป็นไปได้สูงมากว่า ภายในใจคุณจะรู้สึกไม่มีความสุขขึ้นมาทันที

นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “The Easterlin Paradox”

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

Richard Easterlin นักเศรษฐศาสตร์จาก University of Southern California และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความสุข (Happiness data) อย่างเป็นระบบ 

เขาระบุว่า การเติบโตของ GDP เป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ตั้งข้อสงสัยว่า “ยิ่งเศรษฐกิจโต…ความสุขจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามหรือไม่?”

A picture containing graphical user interface

Description automatically generated

เขาได้ทำการศึกษา รายได้ (Income) และ ความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) ในหลากหลายประเทศทั่วโลก และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจไม่ว่าจะ…

ความรวยทำให้เรามีความสุขขึ้นจริง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เงินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามเป็นเส้นตรงอีกต่อไป

จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ตัวเลข Happiness data ในสหรัฐอเมริกาพีคจุดสูงสุดราวทศวรรษที่ 1950s เมื่อผู้คนมี GDP ต่อหัว/ปี แค่ราว $15,000 (ปรับเป็นค่าเงินปัจจุบันแล้ว) 

หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ชาวอเมริกันรวยขึ้นถึง 4 เท่า…แต่ตัวเลข Happiness data ไม่ได้พุ่งขึ้น 4 เท่าตาม แต่กลับราบเรียบคงที่ และลดฮวบเป็นบางช่วงด้วยซ้ำ เช่น ปี 2008 ตอนเกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์

A picture containing sunset, sky, outdoor, sun

Description automatically generated

คุณ Easterlin เผยว่า มันไม่ใช่แค่ “รายได้” ที่สำคัญเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการ “กระจายรายได้” (Income distribution) ด้วย

สังคมที่มีการกระจายรายได้ไม่ทั่วถึง…หรือก็คือมีความ “เหลื่อมล้ำสูง” (Inequality) มีแนวโน้มมีความสุขน้อยกว่า เพราะความเหลื่อมล้ำก่อให้เกิดความรู้สึกอยุติธรรม ความเชื่อมั่นหมู่ในสังคมต่ำ ไร้ซึ่งความสามัคคี การขยับชนชั้นฐานะน้อยกว่า อาชญากรรมสูงกว่า

A picture containing building

Description automatically generated

แถมกระทบต่อคุณค่าที่เรายึดถือกันสุดซึ้งอย่าง “ประชาธิปไตย” เพราะพื้นฐานหนึ่งของประชาธิปไตย คือการที่ผู้คนเคารพและเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่เราจะเคารพและเข้าใจกันได้อย่างไรในเมื่อความเหลื่อมล้ำที่สูงเหลือเกิน ทำให้ชีวิตคนรวย-คนจนแทบไม่เคยได้มาสัมผัสกันเลย?

อีกประเด็นที่ค้นพบคือ ถ้าคุณรวยขึ้นแต่คนอื่นดันรวยขึ้น “มากกว่า” คุณจะรู้สึกเป็นทุกข์แทน เพราะมองรายได้แบบเปรียบเทียบนั่นเอง

A group of people sitting at a table

Description automatically generated with low confidence
  • ถ้าบริบทการทำงานเหมือนกันหมด แต่รายได้คุณเพิ่ม 50% ขณะที่เพื่อนร่วมงานคุณเพิ่ม 100% มีแนวโน้มที่คุณจะไม่มีความสุขอย่างที่ควรจะเป็น(จากรายได้ที่เพิ่ม)
  • แต่ถ้ารายได้คุณเพิ่ม 20% และเพื่อนร่วมงานคุณเพิ่ม 20% เท่ากัน…คุณกลับมีความสุข ทั้งๆ ที่รายได้ที่เพิ่มขึ้น…น้อยกว่าแบบแรก!!

The Easterlin Paradox ในระดับประเทศ

เมื่อข้อสรุปเป็นเช่นนี้ เราสามารถประยุกต์นำมาคิดกับสเกลระดับประเทศ เช่น คุณภาพชีวิตผู้คนหรืออายุขัยเฉลี่ย อาจเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าความร่ำรวย

การมีชีวิตที่ยืนยาว คือหนึ่งในความฝันของคนทุกคน

สหรัฐอเมริกามี GDP ต่อหัว/ปี ราว $59,500 เป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก และมีอายุขัยเฉลี่ย 78.5 ปึ

  • แต่คนญี่ปุ่นมีรายได้น้อยกว่าคนอเมริกันราว 30% แต่กลับมีอายุขัยเฉลี่ย 84.2 ปี
  • เกาหลีใต้น้อยกว่า 50% แต่มีอายุขัยเฉลี่ย 82.6 ปี
  • โปรตุเกสน้อยกว่า 65% แต่มีอายุขัยเฉลี่ย 81.3 ปี
  • คอสตาริกาน้อยกว่าถึง 500% แต่มีอายุขัยเฉลี่ย 80.1 ปี

หลายประเทศจนกว่าอเมริกา แต่กลับมีอายุขัยเฉลี่ยมากกว่า…แสดงว่าความร่ำรวยที่มากขึ้น ไม่ได้เป็นไปเพื่อยกระดับสุขภาพความเป็นอยู่ของผู้คน?

หรือคุณภาพชีวิตมิติอื่น เช่น โปรตุเกสมีสวัสดิภาพมนุษย์ (Human welfare) โดยรวมสูงกว่าสหรัฐอเมริกา 

  • มีระบบสุขภาพถ้วนหน้าในราคาถูก 
  • ประชาชนเข้าถึงระบบศึกษาที่ดีมากกว่า 
A picture containing indoor, floor, blue

Description automatically generated

ทั้งๆ ที่มี GDP ต่อหัว/ปี น้อยกว่าอเมริกาถึง $38,000 เราสามารถพูดว่า $38,000 ที่คนอเมริกันมีมากกว่า เป็นส่วนเกินหรือความสูญเปล่าใช่หรือไม่? (จะรวยขึ้นไปเพื่ออะไร ถ้าไม่ได้เป็นไปเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต?)

ซึ่งนั่นมีมูลค่าเท่ากับ $13 Trillion ในเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาทั้งประเทศ และหมายถึง $13 Trillion ในการต้องไปเฟ้นหาพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ(ในการได้มาซึ่ง GDP) 

A picture containing smoke, train, outdoor, coming

Description automatically generated

และชวนตั้งคำถามว่า ในทางทฤษฎีแล้ว หมายความว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาสามารถลดขนาดลงมาได้ถึง 65% โดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้คนได้ใช่หรือไม่?

แน่นอนว่า คงไม่เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ แต่ก็ชวนให้เราฉุกคิดและตั้งคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิตผู้คนจริงๆ (ไม่ใช่มองแค่ว่าจะทำยังไงให้ GDP โตอย่างเดียว)

จะเห็นว่า The Easterlin Paradox ไม่ได้ห้ามให้เรารวยขึ้น แต่ฉุกคิดให้ถามต่อว่า…รวยขึ้นแล้ว ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้คนดีขึ้นตามหรือไม่

ระดับองค์กรปรับใช้ยังไงได้บ้าง?

ผู้นำองค์กรไม่ควรโฟกัสที่การสร้างยอดขายให้โตขึ้นทุกไตรมาส-ทุกปีอย่างเดียว

แต่ควรให้ความสำคัญกับความเป็นของพนักงานด้วย (Employee Well-being) ผ่านระบบสวัสดิการพนักงาน / หน้าที่การทำงาน / อิสระในการตัดสินใจ เป็นตัวของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะย้อนกลับมาทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงานและกระตุ้นไอเดียใหม่ๆ

A picture containing text, computer, person, indoor

Description automatically generated

ทุกองค์กรคาดหวังการ “ส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ลูกค้า” แต่สุดท้ายคนที่ส่งมอบจริงๆ ก็คือ พนักงาน เราจึงควรส่งมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่พนักงานของเราก่อนด้วย

สุดท้ายแล้ว The Easterlin Paradox อาจเป็นเครื่องคอยเตือนสติเราไม่ให้หลงระเริงไปกับการสร้างความมั่งคั่งอย่างเดียว แต่ทำให้เราฉุกคิดถึงมิติอื่นของชีวิตที่ก็สำคัญไม่แพ้กัน

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง