ทำไมการเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ กลับทำให้เรา Creative ขึ้น?

ทำไมการเดินทางไปทำงานที่ออฟฟิศ กลับทำให้เรา Creative ขึ้น?

“Work From Home ทำงานอยู่บ้าน Productive กว่าเยอะ” ไม่กี่ปีที่ผ่านๆ มา คำนี้น่าจะยืนยันพวกเราได้แล้วว่าจริง

แต่ที่หลายคนอาจมองข้ามไป คือ ทำอยู่บ้านน่ะ Productive จริง…แต่ถ้าอยาก “Creative” ต้องเข้าออฟฟิศ! Productive กับ Creative ต่างกันไม่เหมือนกันนะ

ทำไมการเข้าออฟฟิศกลับทำให้ Creative?

อันดับแรก การเดินทางเข้าออฟฟิศได้สร้าง “เส้นแบ่งทางใจ” (Psychological Boundary) โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลด “ความเครียด” ที่เกิดขึ้นได้ (ตัวการขัดขวางความคิดสร้างสรรค์ชั้นดี)

เราจะรู้สึกว่าได้แบ่งพื้นที่ส่วนตัว-ทำงาน (บ้าน-ออฟฟิศ) เวลาเครียด โกรธ หงุดหงิดเรื่องงาน อารมณ์ด้านลบมีแนวโน้มจะถูก “จำกัดบริเวณ” อยู่ในออฟฟิศ…ไม่ติดตัวตามมาที่บ้าน(เท่ากับนั่งทำอยู่บ้าน) เมื่อก้าวขาออกจากออฟฟิศเพื่อเดินทางกลับบ้าน สมองจะ “เข้าใจไปเองว่า” ได้เอาตัวเองออกมาจากปัญหานั้นแล้ว (แม้จะห่างกันแค่ 10 ก้าว) ส่งผลให้ความเครียดลดลง หัวใจเต้นช้าลง ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ

A group of people on a train

Description automatically generated with medium confidence

ที่สำคัญยังดีต่อสุขภาพโดยรวม Caroline Williams ผู้เขียนหนังสือ MOVE! เผยว่า การเคลื่อนไหวร่างกาย(เพื่อไปออฟฟิศ) สอดคล้องกับธรรมชาติร่างกายมนุษย์ที่สุดแล้ว ร่างกายเราถูกออกแบบมาให้ “เคลื่อนไหว” (Move) ซึ่งเป็นรากฐานของสุขภาพที่แข็งแรงในทุกอย่าง แถมกระตุ้นสมองให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ไปในตัว “ยิ่งเดิน-ยิ่งครีเอทีฟ” คำนี้มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน

A picture containing way, sidewalk, several

Description automatically generated

นอกจากนี้ เราแบ่งงานเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้ว่า 

  • 1. งานประจำซ้ำๆ เดิมๆ ไม่ได้ใช้หัวคิดเยอะ
  • 2. งานครีเอทีฟไอเดียใหม่ๆ ที่ใช้หัวคิดเยอะ

ถ้าอยากทำข้อ 1. ได้ดี ให้ทำอยู่บ้าน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ไม่ต้องเสียเวลาแต่งตัวใดๆ ตื่นมากินข้าวเสร็จแล้วเปิดคอมทำทันทียังได้เลย…แต่ถ้าอยากทำข้อ 2. ได้ดี การนั่งทำอยู่บ้านจะไม่ค่อยเวิร์คอีกต่อไป

A group of people sitting around a table with laptops

Description automatically generated with medium confidence

เป็นที่รู้กันดีว่า หลายคนตอนนี้ WFH มาเป็นปีๆ แล้ว เดือนนึงเข้าออฟฟิศนับครั้งได้ จึงเริ่มเกิด “ผลข้างเคียง” เช่น รู้สึก เฉา / เปื่อย / เหงา จากการทำงานที่บ้าน

ผลวิจัยเผยว่า การที่พนักงานได้มาเจอหน้ากัน เพิ่ม Creativity ได้มากกว่า เจอกันผ่านประชุมออนไลน์ถึง 8 เท่า (ในบริบทที่พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีและมีเป้าหมายร่วมกันแล้ว) เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เราต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น การได้เจอหน้ากันและถกเถียงปัญหากัน เสนอชี้แนะไอเดียกัน เห็นสีหน้าค่าตาภาษากายแต่ละคน มันให้ความรู้สึกทรงพลังกว่าคุยกันผ่านหน้าจออยู่แล้ว

เราไม่ได้ปฏิเสธการเข้าออฟฟิศ แต่ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้หมกตัวทำงานอยู่แต่บ้าน คงจะดีกว่าถ้าเลือกงาน Productive ไว้ทำที่บ้าน และเอางาน Creative มาช่วยกันทำที่ออฟฟิศ

และเมื่อเข้าออฟฟิศ เราจำเป็นต้อง “เดินทาง” (Commuting) แล้วจะมีวิธีไหนที่ช่วย Optimize วิธีการเดินงานมาทำงานของเราได้บ้าง?

ได้เวลา Optimize การเดินทางไปทำงาน!

อันดับแรก ให้คุณลอง สังเกตและจดจ่อ (Concentrate) ความเป็นไปของเมืองหรือสภาพแวดล้อมรอบด้านตลอดทางที่เดินทางไปทำงาน จากเดิมที่เรามักติดนิสัย ขึ้นรถไฟฟ้าปุ๊ป-ก้มหน้าเล่นมือถือปั๊ป อยู่ใน “โลกส่วนตัว” ของตัวเองทันที หรือถ้าขับรถก็เคยชินกับรถติดและเส้นทางเดิมๆ จนไม่ได้สังเกตหรือขบคิดอะไร 

A double decker bus in front of a clock tower

Description automatically generated with medium confidence
  • คุณอาจพบว่า Copywriting คำบนโฆษณาช่วงหลังใช้ภาษาที่มีความ Authentic ดูตรงไปตรงมามากขึ้น ซึ่งคุณนำไปใช้เป็นไอเดียกับงานโฆษณา
  • คุณอาจพบว่า เทรนด์ Fashion ใหม่กำลังมาในหมู่สาววัยทำงาน และอาจนำมาใช้ปรับตัวตนภาพลักษณ์ของตัวเองบนโซเชียลมีเดีย
  • คุณอาจพบว่า เดี๋ยวนี้มองไปทางไหน ผู้คน “ไถ TikTok” จนเป็นเรื่องปกติ (ไม่ใช่ไถ Facebook อีกต่อไป) จนคุณอาจต้องกลับมาวางแผนว่าทำอย่างไรถึงจะเติบโตใน TikTok ได้มากกว่านี้

เรื่องง่ายๆ แค่นี้อาจเป็น Source ของความคิดสร้างสรรค์ดีกว่าที่คุณคิด

A picture containing sky, outdoor, people, walking

Description automatically generated

อีกขั้นที่แอดวานซ์ไปอีกคือให้ เดินทางเพื่อเห็น-เข้าใจ-รู้สึกถึง “ปัญหา” นี่เป็นเทคนิคที่ อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ใช้เป็นประจำเวลาลงพื้นที่เดินไปไหนต่อไหนในเมือง เรียกได้ว่าเป็นการ “จับผิด” ก็ว่าได้ มองสิ่งแวดล้อมรอบตัวด้วยเลนส์ที่ต่างออกไป เราอาจพบว่า สิ่งที่เรารู้สึกว่า “ปกติ” เพราะเคยชินมาแต่เด็ก แท้จริงแล้วอาจ “ผิดปกติ” ก็ได้

แม้ว่าเทคนิคนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้องานที่คุณทำโดยตรง แต่กลับเป็นวิธี “วอร์มอัพสมอง” ก่อนถึงออฟฟิศได้เป็นอย่างดี ช่วยคุณในการมองเห็นปัญหา / คิดวิเคราะห์ / ตั้งคำถาม / ไม่ยึดติดกับเรื่องเดิมๆ

ที่สำคัญ อย่า Multi-Tasking จนเกินไป อย่างมากที่สุดไม่ควรทำเกิน “2 อย่าง” ในเวลาเดียวกัน เช่น ขับรถไปด้วย-ฟัง Podcast ไปด้วยก็พอแล้ว (อันทีจ่ริงผลวิจัยเผยว่า แม้แต่การฟังเพลงชิลๆ ระหว่างขับรถ ก็ทำให้ประสิทธิภาพการขับรถลดน้อยลงแล้ว เพราะสมองถูกแบ่งไปโฟกัสที่เพลง)

องค์กรควรทำยังไงกับเรื่องนี้ดี?

ผู้บริหารหรือฝั่ง HR ต้องสำรวจว่าพนักงานสะดวกสบายในการเดินทางมาทำงานหรือไม่ ผลวิจัยเผยว่า ถ้าพนักงานต้องเดินทางมาทำงานไกลกว่า 10 กม. ประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมจะลดลง 7-10%

ต้องไม่ลืม่วา “ประสบการณ์” การเดินทางที่ดี ส่งผลต่ออารมณ์พนักงานทั้งวันและส่งผลต่อการทำงานอย่างเลี่ยงไม่ได้

A picture containing building, people, hall, rainy

Description automatically generated

ถ้ามีการเดินทางเกิดขึ้นแล้ว ต้องออกแบบ “Commute Policy” ที่อาจมีสวัสดิการด้านการเดินทาง ทำให้พนักงานเดินทางได้อย่างมี “ความสุข” 

  • เด็กจบใหม่ อาจอยากได้ค่ารถไฟ
  • ผู้บริหารระดับสูง อาจอยากได้ที่จอดรถ

อาจต้องแบ่งกระจาย “เวลาเข้างาน” ให้เหมาะกับแต่ละตำแหน่ง เช่น บัญชีการเงินเข้า 8:30 น. แต่ สายการตลาดครีเอทีฟ(ที่ยืดหยุ่นในการทำงานกว่า อาจเป็นกลุ่มคนที่นอนดึกกว่า) ก็ให้เข้างาน 10:30 น.

A group of people in an office

Description automatically generated with medium confidence

ไม่ว่ายังไงก็ตาม สไตล์การทำงานยุคปัจจุบันพลิกมาในแนว Hybrid work คอมโบระหว่างทำที่บ้าน-เข้าออฟฟิศกันเยอะจนเป็นปกติแล้ว คงจะดีไม่น้อยถ้าเรา Optimize การทำงานทั้งสองแบบได้ 

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง