📰 บทความทั้งหมด

Position Amnesia: ลืมไปแล้วเหรอว่าแบรนด์คุณเป็นใคร

Position Amnesia: ลืมไปแล้วเหรอว่าแบรนด์คุณเป็นใคร

เคยไหม? คุณชื่นชอบแบรนด์หนึ่งเพราะเค้ายึดมั่นในอุมดมการณ์บางอย่างมาตั้งแต่เริ่ม (เช่น เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองในสัตว์) จนคุณเทใจอยากสนับสนุน แต่แล้วมาวันหนึ่ง แบรนด์กลับผิดคำพูด เริ่มทำในสิ่งตรงข้ามที่ไม่ได้สัญญาไว้ แม้จะเป็นกิจกรรมหรือแคมเปญเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ แต่ใจคุณก็รู้สึกผิดหวังไปแล้ว นี่คือ “Position Amnesia” การที่แบรนด์ลืมไปว่าตัวเองเป็นใคร ก่อตั้งมาทำไม ทำธุรกิจไปเพื่ออะไร เดินผิดทางในสิ่งที่ยึดมั่นไว้จนไปทำร้ายจิตใจผู้อื่น และคนที่แบรนด์ได้ทำร้ายมากที่สุดก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็นลูกค้าเก่าแก่…เช่นคุณ Position Amnesia: ลืมไปแล้วสินะว่าแบรนด์คือใคร? Position Amnesia คือภาวะที่แบรนด์เริ่มทดลองอะไรใหม่ๆ จน “เลยเถิด” ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์อีกต่อไป ทำในสิ่งที่ผิดสัญญากับลูกค้า หรือทำในสิ่งที่ “ขัดแย้งกับอุดมการณ์” ของตัวเอง Position Amnesia ไม่ได้เกิดกับแบรนด์น้องใหม่ที่อาจยังไม่ชัดเจนในตัวเองอย่างเดียว แต่สามารถเกิดกับแบรนด์ใหญ่ที่อยู่ในตลาดมานานแล้วก็ได้ โดยกรณีหลัง มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จมาระดับนึงแล้ว ความสำเร็จเริ่มอยู่ตัวแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว จึงอยาก “ลองอะไรใหม่ๆ” ซึ่งถ้าวิเคราะห์ไม่ดี ก็อาจเลยเถิดไปไกลจนลูกค้าแบนได้ แต่อย่าสับสน Position Amnesia ต่างจากการ Rebranding ตรงที่อย่างหลังจะเปลี่ยนจุดยืน-วิสัยทัศน์-ตำแหน่งการตลาด-กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดไปเลยควบคู่กับสินค้าใหม่ๆ ขณะที่ Position Amnesia ยังคงเหมือนเดิม […]

กรณีศึกษา การยกระดับสินค้าท้องถิ่นของ SMEs ญี่ปุ่น

กรณีศึกษา การยกระดับสินค้าท้องถิ่นของ SMEs ญี่ปุ่น

ช็อกโกแลต Royce’ ใช้นมจาก ฮอกไกโด Kininari Ringo ใช้แอปเปิ้ลจาก อาโอโมริ Melon no Kataomori ใช้เมล่อนจาก อาโอโมริ สินค้าทั้งหมดจากแบรนด์ตัวอย่างนี้ ดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ความจริงแล้วเบื้องหลังมีจุดร่วมเหมือนกัน และทุกแบรนด์เติบโตมาจากการเป็น “แบรนด์ท้องถิ่น” บ้านๆ ธรรมดาๆ ยังไม่มีใครรู้จัก ก่อนเติบโตจนมีชื่อเสียงระดับโลก(หรือนานาชาติ) ในปัจจุบัน แล้วที่มาความเป็น “สินค้าท้องถิ่นญี่ปุ่น” เหล่านี้ มีที่มาอย่างไร? คำตอบมีตัวแปรที่มาจากหลายกลไกด้วยกัน ประการหลักๆ ได้แก่ 1. OVOP ย่อมาจาก “One Village One Product” (OVOP) หรือ “หนึ่งหมู่บ้าน-หนึ่งผลิตภัณฑ์” จากคำย่อนี้เอง หลายคนตอนนี้น่าจะแว่บนึกถึงคำว่า “OTOP” ของไทย ที่มาจาก “หนึ่งตำบล-หนึ่งผลิตภัณฑ์” ใช่แล้ว…แนวคิด OTOP ไทยมีที่มาจาก “OVOP ญี่ปุ่น” นั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้านับสิบปี(และพิสูจน์ว่าประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา) OVOP เป็น […]