📰 บทความทั้งหมด

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง ในการทำงาน ไม่มีใครเห็นด้วยกับเราไปซะทุกเรื่องหรอก ไม่ช้าก็เร็ว ความเห็นขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการ “โต้เถียง” (Argument) ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสัจจะธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน-หัวหน้า-ลูกน้อง-ลูกค้า ถ้าคุณมั่นใจว่ามีเหตุผลมากพอ ประเด็นจึงเป็นการโต้เถียงอย่างมี “ชั้นเชิง” ที่ไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน (Mutual understanding) และร่วมทำงานกันต่ออย่างสันติ แล้วเราพอมีวิธีโต้เถียงอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรบ้าง? 1. เถียงกันที่ “ไอเดีย” การเถียงที่ใช้อารมณ์ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีจุดจบกลายเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล (Personal issue)  เรื่องนี้อาศัย “วาทศิลป์” ชั้นเชิงในการพูดเช่นกัน เทคนิคคือ อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล แต่ให้โจมตีที่ “ไอเดีย” ความคิดนั้นๆ หลีกเลี่ยงการเรียก “สรรพนาม” ที่สื่อถึงอีกฝ่าย “จากข้อมูลยืนยัน ผมคิดว่าไอเดียนี้ยังไม่ค่อยเวิร์ค” “งานภาพรวมจะออกมาดี ถ้าทุกฝ่ายส่งงานตรงเวลา” “แผนนี้ที่พวกเราคุยกัน อาจต้องหาข้อมูลซัพพอร์ตมากกว่านี้” เมื่อใครก็ตามที่เผลอข้ามเขตแดนจากไอเดียไปสู่ตัวบุคคล เรื่องมักไม่จบง่ายๆ แน่นอน เพราะไม่รู้แหล่ะว่าตัวเองผิดหรือถูก แต่มนุษย์มีกลไกตอบโต้อัตโนมัติอยู่ในตัว (Automatic defense mechanism) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและอาจยับยั้งใจไม่ได้ (หรือไม่ทัน) […]

Salience Bias: จุดเด่นเพียงเรื่องเดียว พาให้ตัดสินใจพลาด

Salience Bias: จุดเด่นเพียงเรื่องเดียว พาให้ตัดสินใจพลาด

ผู้หญิงถูกโปรโมทขึ้นเป็น CEO ในบริษัทวิศวกรรม นักลงทุนตกใจกับข่าว CEO ถูกพักงาน รถสวยมาก จนมองข้ามฟังก์ชั่นการใช้งานอื่น ซื้อผลิตภัณฑ์ญี่ปุ่นเพราะแพกเกจจิ้งสวยๆ ล้วนๆ เรื่องราวต่างกัน แต่มีจุดร่วมหนึ่งที่เหมือนกันนั่นคือ Salience Bias การถูกหลอกล่อเพราะจุดเด่นเพียงเรื่องเดียว Salience Bias คืออะไร?  เป็นภาวะที่ “จุดเด่นเพียง 1 เรื่อง” มีอิทธิพลอย่างมากในการ “ชี้นำ” ให้เราคิดหรือตัดสินใจบางอย่าง (ซึ่งมักเป็นการตัดสินใจที่ผิด)  คือสิ่งที่โดดเด่นในการรับรู้ เห็นง่าย เข้าใจง่าย ดู ‘เผินๆ’ เหมือนเป็นเหตุและผลของกันและกัน (แต่ความจริงแล้วไม่ใช่!) หลอกล่อให้เราคิด / เชื่อ / ตัดสินใจบางอย่าง…เนื่องจากคนเรามักมองข้ามสิ่งที่ไม่เด่นชัด-ที่เห็นได้ยาก หรือต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ Salience Bias เป็นกลไกลการทำงานของสมอง(และสายตา) ที่อยู่คู่กับมนุษย์เรามาช้านาน เพราะช่วยให้เรา “โฟกัส” สิ่งที่สำคัญที่สุด โดดเด่นที่สุด ต่างจากพวกที่สุด เช่น ลายสิงโตท่ามกลางทุ่งหญ้า / หลังจระเข้ในบ่อน้ำ / งูพิษบนต้นไม้…เป็นกลไกที่เพิ่มโอกาสรอดชีวิตนั่นเอง คุณอาจปะทะกับจุดเด่นอย่าง […]

Confirmation Bias: มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias: มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

เคยเป็นไหม? มองหาแต่หลักฐานที่มาสนับสนุนความคิด-ความเชื่อที่ฝังรากลึกของตัวเอง อะไรที่ไม่เข้าพวกก็ปัดทิ้ง ฟังผ่านๆ หรือทำเป็นไม่รับรู้ซุกไว้ใต้พรม ถ้าใช่ คุณอาจกำลังติดกับดักทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Confirmation Bias” อยู่ Confirmation Bias คืออะไร? ลองนึกภาพตาม มันคือการที่เรา “ปักธง” คิดหรือเชื่ออะไรไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ก่อนจะรับข้อมูลเข้ามาและปรับแต่งให้ “ถูกจริต” กับความคิด-ความเชื่อของเรา เป็นการ “ย้ำคอนเฟิร์ม” นั่นเอง (พร้อมๆ กับปิดกั้นข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่ขั้วตรงข้าม) ในกรณีที่เลวร้าย จะไม่ใช่แค่การรับข้อมูลเฉยๆ แต่เรามีแนวโน้มจะ “ค้นหา-เลือก” เฉพาะข้อมูลที่ถูกจริตกับเราเท่านั้น! เช่น “ข่าว” ที่เรามักเปิดเฉพาะช่องที่ให้ข้อมูลตรงกับเรา หรือ “อยู่ฝ่ายเรา” เท่านั้น Confirmation Bias เป็นได้ทั้งด้านบวก และ ลบ เหมือนกับการ “มองหาอะไร ก็ได้อย่างนั้น” คุณชอบนาย A เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านดีๆ ของเขา (ทั้งๆ ที่ด้านแย่ก็มีไม่น้อย) คุณไม่ชอบนาย B เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านแย่ๆ […]