📰 บทความทั้งหมด

The Lauderdale Paradox: อีกสาเหตุลับของภาวะโลกร้อน

The Lauderdale Paradox: อีกสาเหตุลับของภาวะโลกร้อน

คนรวยที่สุด 80 คนแรกของโลก มีความมั่งคั่งเท่ากับ คนจนที่สุดของโลก 3,500 ล้านคน จะเป็น Top 1% ในอังกฤษ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ £160,000 ต่อปี จะเป็น Top 1% ในอเมริกา ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ $394,000 ต่อปี ขณะที่เรากำลังพูดถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อหวังว่าเม็ดเงินจะลงมาถึงคนส่วนใหญ่มากขึ้น (Trickle-down) แต่ทำไมความเหลื่อมล้ำกลับยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกที? หนึ่งในเบื้องหลังความเหลื่อมล้ำนี้ คือสิ่งที่เรียกว่า “The Lauderdale Paradox” The Lauderdale Paradox: สาเหตุลับของความเหลื่อมล้ำ James Maitland ผู้มีสถานะเป็นเอิร์ลที่ 8 แห่งลอเดอร์เดล (The 8th Earl of Lauderdale) หนึ่งในสมาชิกชนชั้นนำของจักรวรรดิอังกฤษ ตั้งข้อสังเกตถึงระบบทุนนิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้นในศตวรรษที่ 18 ว่า  มีความสัมพันธ์ที่สวนทางกันระหว่าง ความมั่งคั่งสาธารณะ (Public wealth) และ ความร่ำรวยส่วนตัว (Private […]

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

ถ้าคุณได้โปรโมทเป็นหัวหน้าในแผนก เงินเดือนขึ้น 50,000 บาท…คุณมีความสุข แต่ถ้าคุณมารู้ทีหลังว่า เพื่อนร่วมงานของคุณอีกแผนก ก็ได้โปรโมทขึ้นเป็นหัวหน้าด้วย แต่เงินเดือนขึ้น 100,000 บาท เป็นไปได้สูงมากว่า ภายในใจคุณจะรู้สึกไม่มีความสุขขึ้นมาทันที นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “The Easterlin Paradox” The Easterlin Paradox: เมื่อสุข-ทุกข์ เกิดจากการเปรียบเทียบ Richard Easterlin นักเศรษฐศาสตร์จาก University of Southern California และเป็นนักเศรษฐศาสตร์คนแรกที่ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลความสุข (Happiness data) อย่างเป็นระบบ  เขาระบุว่า การเติบโตของ GDP เป็นนโยบายหลักของแทบทุกประเทศทั่วโลก แต่ก็ตั้งข้อสงสัยว่า “ยิ่งเศรษฐกิจโต…ความสุขจะยิ่งเพิ่มขึ้นตามหรือไม่?” เขาได้ทำการศึกษา รายได้ (Income) และ ความพึงพอใจในชีวิต (Life satisfaction) ในหลากหลายประเทศทั่วโลก และได้ข้อสรุปที่น่าสนใจไม่ว่าจะ… ความรวยทำให้เรามีความสุขขึ้นจริง แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง เงินที่เพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้ความสุขเพิ่มขึ้นตามเป็นเส้นตรงอีกต่อไป จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา ตัวเลข Happiness data ในสหรัฐอเมริกาพีคจุดสูงสุดราวทศวรรษที่ […]

Empathy: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Empathy: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

คนจนเพราะขี้เกียจ เครียดแล้วก็กินเหล้า  สอนงานไปแล้ว ทำไมไม่จำซักที!! โปรแกรมใช้งานง่าย ป่านนี้ทำไมยังไม่คล่องอีก!! คำเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าคนพูดมี Empathy มากกว่านี้… Empathy คือคำที่ถูก(นำกลับมา)พูดถึงเยอะมากในช่วงนี้ และจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นแก่ทุกเรื่องในศตวรรษที่ 21 อย่างแน่นอน!! ทำไม Empathy ถึงสำคัญในยุคนี้?  Empathy คือการรู้สึกว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร (I feel how you feel.) เอาตัวเองดำดิ่งลงไปว่าถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ / บริบท / สถานะ / เงื่อนไขเดียวกับคนนั้น…เราจะรู้สึก คิด ทำอย่างไร? นี่จึงไม่ใช่เพียงจุดเริ่มต้นของความเข้าอกเข้าใจกันอย่างแท้จริง แต่จุดประกายความผูกพัน-ห่วงใย-เชื่อมโยงถึงกันและกัน  เรียกได้ว่า ท่ามกลางโลกธุรกิจที่แพ้คัดออก พนักงานถูกปฏิบัติราวกับหุ่นยนต์…Empathy นำพาเรากลับไปสู่ความเป็นมนุษย์ (Humane) อีกครั้ง และเมื่อนั้น…มันจึงส่งผลกระทบถึงทุกเรื่องในชีวิตของเรา Empathy ในเรื่องต่างๆ? เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยี Disrupt กันรายปี หุ่นยนต์กำลังมาแทนที่คน แต่สิ่งหนึ่งที่หุ่นยนต์ยังทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์(อย่างน้อยก็ในศตวรรษนี้) คือการเข้าใจ “ความรู้สึกมนุษย์” ด้วยกันเองนี่แหล่ะ เรื่องนี้ชัดเจนมากในบริบทสังคมสูงวัย (Ageing […]