Personality and your Right Career
บุคลิกภาพของเราเป็นแบบไหน แล้วเราเหมาะจะทำงานอะไร เหมาะจะอยู่ในสังคมของคนแบบใดที่มีทัศนคติอย่างไร จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีความสุข ในขณะที่ได้พัฒนาศักยภาพของตนเอ
จากฉบับที่แล้ว เอ็มได้เกริ่นไปว่า Career Design ประกอบไปด้วย Framework ชื่อ 5 Shades of life ที่จะช่วยให้เราทบทวนตัวเอง และวิเคราะห์อาชีพใน 5 ด้านด้วยกัน
- Skill and Interest ทักษะและความสนใจ
- Personality and people to work with บุคลิกภาพ และคนที่เราเหมาะจะทำงานด้วย
- Working condition สภาพแวดล้อมในการทำงาน
- Lifestyle รูปแบบการใช้ชีวิต
- Value ค่านิยมของตัวเรา สิ่งที่เราให้ความสำคัญในชีวิต
ในฉบับนี้ เราจะมาคุยเรื่อง Shade 2: Personality and People to work with บุคลิกภาพ และคนที่เราเหมาะจะทำงานด้วย
ทำไมต้องดูบุคลิกภาพด้วย? รู้มั้ยคะว่าสาเหตุแรกๆ ของการลาออกจากงาน คืออะไร?

จากบทความ เหตุผล 10 ข้อที่ทำให้พนักงานลาออก (Top 10 Reasons Why Employees Quit Their Jobs) ที่เขียนโดย Susan M. Heathfield ใน The Balance กล่าวว่า .
“A bad boss is the number one reason why employees quit their job.”
เจ้านายที่ไม่ดีเป็นสาเหตุอันดับ 1 ที่ทำให้พนักงานลาออก
“Research from the Gallup organization indicates that one of the 12 factors that illuminate whether an employee is happy on their job is having a best friend at work. Relationships with coworkers retain employees.”
การวิจัยจากบริษัทแกลลอปชี้ว่าหนึ่งใน 12 ปัจจัยที่บอกได้ว่าพนักงานมีความสุขในที่ทำงานหรือไม่ คือ การมีเพื่อนสนิทในที่ทำงาน ความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ทำงานทำให้พนักงานไม่ลาออก

จริงอยู่ว่าทุกอาชีพ ทุกสังคม ก็มีคนทั้งดีและไม่ดีปนกันไป มีหลากหลายบุคลิกภาพ และทัศนคติ
แต่งานและสังคมที่เราอยู่ ก็ส่งผลต่อทัศนคติ เช่นกัน จากการวิจัยหัวข้อ ผลกระทบของการเปลี่ยนตำแหน่งงานต่อทัศนคติต่อตำแหน่งนั้น “The Effects of Changes in Roles on the Attitudes of Role Occupants,” โดย Seymour Lieberman in Human Relations ในปีค.ศ. 1956
“In a manufacturing company, workers and foreman switched roles“
การวิจัยทำในบริษัทผลิตสินค้าแห่งหนึ่ง มีการสลับตำแหน่งผู้ใช้แรงงานกับหัวหน้า
“Within 6 months of taking their new jobs, 70% of the new foremen reported seeing the company as a better place to work than the did when they were workers. 74% believed that the union should have less say in setting standards than they did when they were workers”
ในระยะเวลาเพียง 6 เดือนในตำแหน่งใหม่นั้น 70% ของผู้ใช้แรงงานที่ขึ้นมาเป็นหัวหน้า ให้คะแนนว่าบริษัทเป็นที่น่าทำงานมากกว่าคะแนนที่พวกเขาเคยให้เมื่อเป็นผู้ใช้แรงงาน และ 74% ของคนกลุ่มนี้มีความเห็นว่าสหภาพแรงงานควรมีบทบาทน้อยกว่า ความเห็นที่ให้ตอนที่พวกเขาเป็นผู้ใช้แรงงาน
“Some of new foremen were demoted back to be workers”
จากนั้นผู้ใช้แรงงานบางคนที่ได้เป็นหัวหน้าชั่วคราวถูกลดตำแหน่งกลับไปเป็นผู้ใช้แรงงานตามเดิม
“Workers who returned to being workers soon developed pretty much the same anti-management and pro-union sentiments as their fellow workers; but those who remained as foreman retained their pro-company and pro-management attitudes.”
ผู้ใช้แรงงานเหล่านั้นกลับมามีทัศนคติต่อต้านผู้บริหารและสนับสนุนสหภาพเหมือนเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ใช้แรงงานคนอื่นๆ ส่วนผู้ใช้แรงงานที่ยังเป็นหัวหน้าก็ยังคงมีทัศนคติที่ดีต่อบริษัท และผู้บริหาร แต่การทดลองนี้เกี่ยวกับทัศนคติเท่านั้น แล้วบุคลิกภาพที่เหมาะสมของคนในแต่ละอาชีพมีจริงหรือ?
ลองจินตนาการว่าคนที่เป็นนักการเมือง แวดล้อมด้วยนักการเมืองที่ต้องอวดตัวเอง ติคู่แข่งอยู่เรื่อยๆ คงยากที่จะมีคนที่มีบุคลิกภาพเงียบๆ เรียบร้อย ถ่อมตน จะสามารถประสบความสำเร็จในสายการเมืองได้ ในขณะที่คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในห้องแลป ทำการวิจัย และแวดล้อมด้วยคนที่ไม่เชื่ออะไรที่พิสูจน์ไม่ได้ คนที่พูดเก่ง แต่พูดมากกว่าลงมือทำก็คงยากที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างสิ่งใหม่ให้กับโลก เป็นต้น ดังนั้น เมื่อเรารู้ว่าเราเป็นคนแบบไหน สังคมที่ทำงานแบบไหนที่เราอยากอยู่ด้วย เราก็จะสามารถเดาได้ว่าเราควรทำอาชีพอะไร จึงจะได้อยู่ในสังคมแบบที่เหมาะกับเรา

เราสามารถใช้แบบทดสอบบุคลิกภาพ MBTI (Myers-Briggs Type Indicator) หรือ DISC ของ Dr. William Moulton Marston ก็ได้ที่เรารู้สึกว่าทำออกมาแล้วตรงกับตัวเราที่สุด นอกจากเราจะได้รู้จักวิธีคิด ตัดสินใจของตัวเองมากขึ้นแล้ว เรายังจะได้เข้าใจว่าวิธีคิดของเราอาจจะไม่ใช่วิธีที่ถูกที่สุดเพียงวิธีเดียว แล้วก็ลองเชคกับสิ่งที่เพื่อนบอกว่าเราเป็น feedback ที่ได้จากคนรอบตัวสำคัญมาก เพราะถ้าเราคิดเองเออเอง บางครั้งผลที่ออกมา มันก็ไม่ใช่ตัวเราจริงๆ หรอกค่ะ เอ็มเคยคิดว่าตัวเองเป็นคนที่พูดจาถนอมน้ำใจคนอื่นมาก เพราะเวลาพูดอะไรออกไป เราจะระวังคำที่ใช้ เช่น คำว่า โง่ ซื้อบื่อ หรือ ไม่ได้เรื่อง จะไม่ออกจากปากเลย แต่จาก feedback ที่ได้จากเพื่อนกลายเป็นว่า เอ็มเป็นคนพูดตรงมาก ถึงแม้ว่าจะไม่ใช้คำที่แรงทิ่มแทงจิตใจ แต่ก็ยังสื่อความหมายที่ตรงเกินกว่าที่คนรอบข้างจะอยากฟังอยู่ดี เป็นต้น แล้วสิ่งที่เราพูดเองเออเองว่าเราเป็น คืออะไร? มันคือตัวเราในแบบที่เรามโนขึ้นมา ที่เค้าเรียกกันว่า Ideal Self หรือ คนที่เราอยากจะเป็นในอุดมคติของเราเอง ไม่ใช่ตัวเราเองในปัจจุบันซะทีเดียว แต่การที่เรารู้แล้วว่าเราอยากเป็นคนแบบไหน ช่วยให้เรามีหนทางการพัฒนาตัวเองไปถึงจุดที่เราอยากจะเป็นนะคะ เพียงแต่ต้องแยกให้ออกระหว่างตัวเราเองในปัจจุบันที่เราเป็นจริงๆ ผ่านมุมมองของคนรอบข้างหลายๆ คน และ ตัวเราในอุดมคติของเราเอง เมื่อเราเห็นความต่าง ระหว่าง 2 ร่างนี้ เราก็จะรู้ว่ามีอะไรบ้างที่เราจะต้องพัฒนาเพื่อพัฒนาไปเป็นคนที่เราอยากเป็นต่อไป
เมื่อเรารู้แล้วว่าเรามีสิ่งที่ต้องแก้ไขปรับปรุงในด้านใดบ้าง คนที่เห็นตัวเองชัดเจน และมีคนที่เราอยากเป็นที่ชัดเจน จะมีข้อที่ต้องแก้ไขหลายข้อ เห็นแบบนี้แล้วอาจจะท้อใจ คิดไปว่า เรานี่ช่างไม่ดี ไม่เก่งเอาเสียเลย อย่าค่ะ อย่าคิดแบบนั้น เพราะเราทุกคนเป็น Work-in-progress หรือ สิ่งที่ยังต้องพัฒนาต่อไปกันทั้งนั้น ไม่มีใครเป็น finished product หรือ สินค้าที่สมบูรณ์แบบแล้ว ดังนั้น การที่เราจะพัฒนาตัวเองได้ ก็เริ่มจากการเลือกเพียง 1 อย่างที่เราอยากจะพัฒนาที่สุด เปลี่ยนทีละอย่าง ค่อยๆเป็นค่อยๆไป เราก็จะสามารถเข้าใกล้ คนที่เราอยากเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ และความก้าวหน้าที่เราเห็นจากการเปลี่ยนแปลงตัวเองก็จะทำให้เราภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
อีกอย่างที่อยากให้คิดใน shade นี้ คือ คนแบบไหนที่เราทำงานด้วยแล้วได้แรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง รู้สึกสนุก สบายใจ กระตือรือร้น มีพลัง อธิบายออกมาให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทั้งบุคลิกภาพ ความสนใจ หรือเป้าหมายในชีวิต ของคนเหล่านี้ จนแทบจะเห็นภาพบอกได้เลยว่าจากคนที่เดินมา 5 คน คนไหนจัดอยู่ในกลุ่มคนที่เราอยากทำงานด้วย แล้วที่ไหนที่น่าจะพบคนเหล่านี้ที่สุด งานไหน อาชีพอะไร องค์กรแบบไหนเพราะเราควรพาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางกลุ่มคนเหล่านี้ ในฉบับต่อไป เราจะมาคุยกันเรื่อง Shade 3: Working Conditions สภาพการทำงานที่เหมาะสม ทั้งเวลา และสถานที่ และ Shade 4: Lifestyle ไลฟสไตล์ และทรัพยากรที่เราต้องการเพื่อให้ได้ใช้ Lifestyle สุดชิคของเรา ติดตามฉบับหน้านะคะ