📰 บทความทั้งหมด

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

เจ้าของพัดลม Hatari บริจาค 900 ล้าน อ.ชัชชาติ นั่งทานข้าวกับคนกวาดถนน Bar B Q Plaza เปิดบุฟเฟ่ต์ ถ้าคนกทม.ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกิน 2 ล้านคน ในมุมการตลาด เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนความเป็น “Brand Citizenship” ซึ่งได้ใจผู้บริโภคยุคใหม่ไปเต็มๆ Brand Citizenship – ประชาชนแบรนด์ Brand Citizenship คือแนวคิดที่แบรนด์ปฏิบัติตัวเสมือนเป็น “ประชาชนคนหนึ่งในสังคม” ไม่ได้ดูแตกต่าง ไม่ได้ดูยิ่งใหญ่ ไม่ได้แปลกแยกตัวเองจากเหตุการณ์บ้านเมืองในสังคม โดย Brand Citizenship จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านการตลาด การบริหารชื่อเสียง การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การมีส่วนร่วมกับผู้คนในสังคม รายงานผลสำรวจจาก Global Strategy Group เผยว่า กว่า 92% ของผู้ถูกสำรวจคิดว่า แบรนด์ยุคนี้ต้องมีบทบาทที่ดีต่อสังคมทางใดทางหนึ่ง เพราะแบรนด์ก็คือประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจ ชื่อเสียง และพลังการเปลี่ยนแปลง แบรนด์ 1 แบรนด์มีหน้าที่มากกว่าขายสินค้าคุณภาพดีเพื่อเอากำไร แต่…ต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ด้วย Brand […]

Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี “Shareholder Capitalism” แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในยุค 1980 บรรดา CEO บริษัทใหญ่ต่างมุ่งเน้น “กำไรสูงสุด” แก่องค์กรและผู้ถือหุ้น (พร้อมๆ กับผลตอบแทนของเหล่า CEO โดยเฉพาะอเมริกันที่โตแบบก้าวกระโดด) แนวคิดนี้เป็นเชื้อเพลิงที่นำไปสู่การเกิด Globalization โลกาภิวัฒน์ขึ้นทั่วโลก บริษัทข้ามชาติบินไปลงทุนในอีกซีกโลกหนึ่ง(รวมถึงไทย) หาตลาดแรงงานราคาถูก หาแหล่งตั้งโรงงานผลิตสินค้า เดากันได้ เหตุการณ์จากนี้เกิดการกอบโกยทำทุกวิถีทางเพื่อทำกำไรสูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น กดขี่แรงงาน กดค่าแรง ใช้แรงงานผิดกฎหมาย เช่นที่ อินเดีย บังคลาเทศ  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษ น้ำเน่าเสีย ตัดไม้ทำลายป่า…โลกและคนเริ่มถูกทำร้ายอย่างกว้างขวาง แต่ยุคนั้นหลายประเทศทั่วโลกเอาเศรษฐกิจมาก่อน สิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องรอง Shareholder Capitalism จึงเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ดำเนินไปอีกหลายทศวรรษ ถึงวันนี้เรารู้แล้วว่าสังคมและโลกของเราบอบช้ำมากแค่ไหน จึงเริ่มเกิดแนวคิดที่ต้านกระแสหลักนี้ซึ่งมีชื่อว่า “Stakeholder Capitalism”  Stakeholder แปลว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” แนวคิดทุนนิยมนี้ก้าวไกลไปกว่าการมองแค่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น แต่มองครอบคลุมไปถึง “สังคมผู้คนและโลก” ใบนี้ของเรา เป้าหมายคือสร้าง “คุณค่า” ที่มีความหมายสูงสุดแก่ทุกฝ่ายโดยรวม ไม่ใช่สร้างตัวเลขกำไรให้เร็วและเยอะที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนเหมือนแต่ก่อน Stakeholder Capitalism เชื่อว่ามี […]