📰 บทความทั้งหมด

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO

ใส่เสื้อทรงเดิมสีเดิมซ้ำๆ กันทุกวัน กินมื้อเช้าเมนูเดิมๆ ทุกวัน นอนเป็นเวลาทุกคืน ตื่นเช้ามาสดใสทุกวัน ตัดสินใจแค่งานหลัก ส่วนงานรองส่งต่อให้ลูกทีม นี่คือตัวอย่าง “Fatigue Relief” ที่ช่วยตีกรอบให้ผู้บริหารโฟกัสแต่เรื่องสำคัญจริงๆ เท่านั้น Fatigue Relief: เทคนิคลดการตัดสินใจจากเหล่า CEO CEO ทั่วไปในแต่ละวันมีเรื่องต้องคิดเพียบ หนึ่งในปัญหาที่มักเจอคือ “Decision Fatigue” เหนื่อยล้าจากการใช้หัวคิดการงานจนเกินไป  นอกจากนั้นไม่พอ ยังต้องเผชิญกับโจทย์ประจำวันอย่าง วันนี้แต่งตัวยังไงดี? พักเที่ยงกินข้าวร้านไหนดี?  ช่วงบ่ายกินน้ำอะไรดี? ผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์สมองเผยว่า เฉลี่ยแล้วมนุษย์คิดมากถึง 6,200 เรื่อง/วัน หรือเฉลี่ยนาทีละ 4 เรื่องเลยทีเดียว ซึ่งเป็นความคิดที่นึกคิดวิเคราะห์เองและทั้งเกิดนอกจิตสำนึก(แว่บเข้ามาเอง) แต่ CEO ระดับโลก หลีกเลี่ยงเรื่องนี้ด้วย “Fatigue Relief” ตัด-ลด การตัดสินใจให้เหลือเฉพาะที่ “สำคัญ” แล้วพวกเค้าทำอย่างไรบ้าง? ตามไปดูกัน Mark Zuckerberg  ตัดศิลปะการ “แต่งตัว” ในชีวิตทำงานประจำวันออกไป โดยใส่เสื้อคอกลม ทรงเดิม สีเดิม […]

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

25-5 Rule: เทคนิคลำดับความสำคัญสไตล์ Warren Buffett

“25-5 Rule” เป็นเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญที่ขึ้นชื่อลือชาว่ามีต้นกำเนิดมาจาก “Warren Buffett” นักลงทุนผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของโลก และเป็นปรมาจารย์ด้านการคิด-การลงทุน-การทำงาน ที่มีผู้คนนับถือทั่วโลก ในแต่ละวัน Warren Buffett ต้องปะทะกับงานมหาศาลและสเกลเม็ดเงินที่ใหญ่โต การคิดผิด ตัดสินใจผิด ลำดับความสำคัญผิด ย่อมเกิดหายนะที่กระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมได้เลย  25-5 Rule จึงเป็นเทคนิคที่ไว้ขัดเกลาตัวเองให้ “โฟกัส” กับเรื่องที่สำคัญที่สุดเสมอ คำถามคือ…แล้ว 25-5 Rule มีวิธีการอย่างไรบ้าง? 3 ขั้นตอนการทำ 25-5 Rule 1. เขียนลิสท์ 25 เป้าหมายในอาชีพ (Top 25 career goals) ของคุณออกมา ไม่ต้องเร่งรีบ ไม่ต้องทำทีเดียวจบ แต่ค่อยๆ ให้เวลาตัวเองในการขบคิด 2. วงกลม 5 เป้าหมายที่สำคัญที่สุด มีความหมายกับคุณที่สุด เร่งด่วนที่สุด ที่สะท้อนคุณค่าตัวตนของคุณจริงๆ (Urgent goals & Highest priorities) เช่นเคย…ไม่ต้องรีบ […]

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? จะเข้าใจปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร) ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ […]

Compound Skill: เก่งขึ้น 100 เท่า ด้วยการเก่งขึ้นวันละ 0.1%

Compound Skill: เก่งขึ้น 100 เท่า ด้วยการเก่งขึ้นวันละ 0.1%

ภายใต้ระบบทุนนิยม GDP ของโลกต้องเพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อย 2-3% ต่อปี ธุรกิจขนาดใหญ่จึงจะสามารถทำกำไรโดยรวมเพิ่มขึ้นได้ “3% ต่อปี” เป็นตัวเลขที่ฟังดูไม่เยอะ (ถือว่าน้อยสำหรับประเทศที่โตเร็วแบบจีน) แต่ในระยะยาว ผลลัพธ์ที่ได้…อาจเหนือจินตนาการของเราไปมากโข สมมติ เราเริ่มต้นที่ปี 2000 และโตปีละ 3% ตามมาตรฐาน…GDP ของโลกจะ โตขึ้น 2 เท่า ในอีก 23 ปี โตขึ้น 4 เท่า ในอีก 50 ปี โตขึ้น 20 เท่า!! ในอีก 100 ปีข้างหน้า โตขึ้น 370 เท่า!! ในอีก 200 ปีข้างหน้า โตขึ้น 7,000 เท่า!! ในอีก 300 ปีข้างหน้า นี่คือตัวอย่างความมหัศจรรย์และพลานุภาพของการทบต้น (Compound) เพิ่มขึ้นทีละนิด-ทีละนิด แต่เมื่อเป็นเวลาต่อเนื่องระยะยาว กลับสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างจากจุดเริ่มต้นได้มหาศาล ซึ่งเรื่องนี้เราประยุกต์มาใช้กับ […]

Knowledge Expansion: จะมีความรู้เพิ่มท่ามกลางกิจวัตรเดิมๆ ได้อย่างไร?

Knowledge Expansion: จะมีความรู้เพิ่มท่ามกลางกิจวัตรเดิมๆ ได้อย่างไร?

ในโลกธุรกิจที่เคลื่อนไหวไปข้างหน้าอยู่ตลอด ใครที่อยู่เฉยๆ ไม่อัพเดทตัวเอง ก็เหมือน “เดินถอยหลัง” แล้ว!! การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจึงควรเป็น Default Mode เรื่องพื้นฐานที่ต้องทำเป็นกิจวัตร คนที่เรียนรู้พัฒนาตัวเองอยู่เสมอ จะตามทันโลก เข้าใจสถานการณ์ จนมองเห็นโอกาสใหม่ๆ ที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จ แต่พวกเราส่วนใหญ่ วุ่นกับ “กิจวัตรประจำวัน” ที่มีปัญหาเฉพาะหน้าให้แก้ไม่หยุดหย่อน…แล้วจะหาความรู้ใหม่ๆ มาใส่ตัวได้อย่างไร? วิทยาศาสตร์ของการเรียนรู้  ก่อนจะลงลึก เรามาเข้าใจการทำงานของสมองเกี่ยวกับการเรียนรู้เล็กน้อย สิ่งที่ทำให้คนพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างแท้จริงคือการ “รู้รอบด้าน” เพราะจะเกิดการ “เชื่อมโยง” ศาสตร์เข้าด้วยกัน ก่อเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ เรื่องนี้ตรงกับคำที่ฮิตกันอย่าง “Connecting the Dots” ถ้า Dots (หรือจุด) มีความ “แตกต่าง” หลากหลายมากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสนำไปสู่ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ มากเท่านั้น มาถึงตรงนี้เราจะเห็นว่า แค่กิจกรรมง่ายๆ อย่างการ “ลองทำอะไรใหม่ๆ” ก็เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ได้มากแล้ว อ่านหนังสือหลากหลายแนว ท่องเที่ยวที่ใหม่ๆ พบเจอผู้คนใหม่ๆ หลายวงการ ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ รอบรู้ขึ้น…ท่ามกลางกิจวัตรเดิมๆ  เรามาสำรวจเทคนิคง่ายๆ […]

ไอดอล มีใครเป็น ไอดอล?

ไอดอล มีใครเป็น ไอดอล?

ไม่ว่าเก่งมาจากไหน แต่เราทุกคนย่อมมี “ไอดอล” เป็นของตัวเอง นำมาสู่คำถามว่า แล้ว CEO นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จระดับโลก ที่ขึ้นไปอยู่บนยอดสูงสุดของพีระมิดล่ะ…พวกเขามีใครเป็นไอดอลอีกที? เราตามไปดูทีละคนพร้อมกันเลย Elon Musk เขาเป็นอัจฉริยะด้านวิศวกรรมและฟิสิกส์มาตั้งแต่เด็ก โดยมีไอดอลเป็น Richard Feynman นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้ให้กำเนิดวิชากลศาสตร์ควอนตัม ซึ่งเป็นคนที่ทำให้เค้าชื่นชอบศาสตร์นี้ มัสก์จะติดตามผลงานของเขาตลอดผ่านงานเขียนและการสอนต่างๆ นอกจากนี้ ไอดอลของเขายังเป็นบุคคลครั้งในอดีตกาลอย่าง Nikola Tesla ที่เป็นทั้งนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกลและไฟฟ้า…มัสก์ชื่นชอบเขาถึงขนาดนำชื่อมาตั้งเป็นชื่อแบรนด์รถไฟฟ้า Tesla ถึงทุกวันนี้ Image Cr. bit.ly/3dq8ZHC อย่างไรก็ตาม มัสก์ยังได้หนึ่ง “บทเรียน” เป็นเครื่องเตือนสติ เพราะแม้ Nikola Tesla เป็นอัจฉริยะด้านฟิสิกส์และวิศวกรรม แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จทางด้านธุรกิจเลย (ทำสินค้าเก่ง แต่ขายไม่เก่ง) Elon Musk จึงบอกกับตัวเองว่า ทุกนวัตกรรมที่ดีเลิศต้องไปพร้อมกันได้ดีกับธุรกิจ ต้องมีตลาดใหญ่พอ ต้องโปรโมทสินค้า ต้องเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภค…ลำพังสินค้าดีอย่างเดียวไม่เคยพอ Bill & Warren Bill Gates […]