Conservatism Bias: ยึดติด “ความสำเร็จในอดีต” จนปัจจุบันพัง

Conservatism Bias: ยึดติด “ความสำเร็จในอดีต” จนปัจจุบันพัง
  • “หุ้นขึ้นมาตลอด ข่าวร้ายออกมาคงไม่เป็นไรหรอกมั้ง”
  • “เคยทำแบบนี้แล้วเวิร์ค ทำไมจะทำซ้ำไม่ได้”
  • “มี Best Practice ในอดีตมาแล้ว ก็ทำตามๆ ไปเถอะ”

เรื่องนี้ไม่มีถูกผิด แต่บางครั้งการยึดติดกับอดีตจนเกินไป ก่อให้เกิด “Conservatism Bias” จนพลาดโอกาส ณ ปัจจุบันและอนาคต

Conservatism Bias ยึดติดความสำเร็จในอดีตจนไร้อนาคต

Conservatism Bias คือภาวะที่เรา “ยึดติดความสำเร็จในอดีต” หรือข้อมูลเก่าๆ ข่าวดีเก่าๆ ทัศนคติเก่าๆ มาเป็นบรรทัดฐานในปัจจุบัน ทั้งๆ ที่มันอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกันแล้ว 

เป็นการพยายามกินบุญเก่าในอดีต แทนที่จะสร้างบุญใหม่ในปัจจุบันและอนาคต

Conservatism Bias จึงมีแนวโน้ม “ปิดกั้น” ไอเดียใหม่ๆ โอกาสใหม่ๆ บุคลากรใหม่ๆ เพียงเพราะมันขัดแย้งกับของเดิม

A picture containing text, computer, indoor, computer

Description automatically generated

เรื่องนี้ยิ่งมีอิทธิพลเป็นพิเศษกับความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ (Grand past achievement) ซึ่งเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนกลายเป็น “Best Practice” ที่ผู้คนยึดถือปฏิบัติกัน 

ในกรณีนี้ Best Practice ถือเป็นดาบสองคมก็ว่าได้ 

  • นัยหนึ่ง…มันปูทางสูตรสำเร็จมาให้เราเดินตามได้อย่างง่ายดายแล้ว 
  • แต่นัยหนึ่ง…มันตีกรอบให้เราอยู่ในทางเดินเดิมๆ ไม่มีอะไรใหม่

สาเหตุของ Conservatism Bias

เวลาเราปักใจ “ยอมรับ” ข้อมูล / ทัศนคติ / แนวคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เราไม่ได้ทำไปเพราะเชิงตรรกะเหตุผลล้วนๆ เท่านั้น แต่เรามี “ความรู้สึกร่วม” ไปกับมันด้วย

  • ภูมิใจที่ได้ถือหุ้นตัวนี้ในมือ ราคาขึ้นเอาๆ
  • เชื่อในแนวคิดการทำงานแบบนี้
  • ดีใจกับตัวบุคคล มี CEO ท่านนี้คอยนำทัพ

จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ที่เราจะต้อง “สะบัดทิ้ง” ความรู้สึกดีๆ นั้นออกไป เมื่อมีข้อมูลใหม่ล่าสุดมาโต้แย้ง-ลบล้างแล้วว่ามันไม่จริง หรือเพียงแค่…ของใหม่อาจดีกว่าของเก่าก็เท่านั้นเอง

  • หุ้นที่ถือเกิดข่าวร้าย แนวโน้มมีแต่ลง
  • การทำงานของคนรุ่นใหม่อาจยืดหยุ่นกว่า
  • CEO รุ่นใหม่ไฟแรง บริหารเข้ากับยุคสมัยกว่า
A picture containing person, person, suit

Description automatically generated

นอกจากนี้ ยังสะท้อนไปถึงความล้มเหลวในการ “ตอบสนอง” ได้ทันท่วงที โดยเฉพาะในวงการด้านการเงิน-การลงทุน ที่อาจหมายถึงต้องคำนวณข้อมูลมหาศาลใหม่ทั้งหมด กว่าจะได้ข้อสรุป ความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นไปแล้ว

ตัวอย่าง Conservatism Bias

กระแสดราม่าล่าสุดของ LISA BLACKPINK ใน MV ตัวใหม่ที่ชื่อ “LALISA” พบเห็นการใส่ “ชฎา” และ “ชุดไทยสั้น” จนมีกลุ่มคนอนุรักษ์นิยมออกมาแสดงความคิดเห็นว่า “ไม่เหมาะสม” เพราะไม่ถูกหลักขนบธรรมเนียมดั้งเดิมที่เป็นมา

ซึ่งก็มีผู้คนมากมายตั้งคำถามว่า ทำไมชฎาและชุดไทยถึงต้องถูกแช่แข็งตีกรอบให้อยู่ในขนบธรรมเนียมดั้งเดิมไปตลอดกาล…จะดีกว่าไหม ถ้านำมันมาผนวกเข้ากับยุคสมัยใหม่ จนกลายเป็นจุดแข็งด้านความคิดสร้างสรรค์ที่มีเอกลักษณ์?

 Image Cr. bit.ly/3E9yoAV

วงการหุ้นก็สะท้อน Conservatism Bias ได้ชัดเจนมากเพราะมีความเคลื่อนไหวใหม่ๆ แทบทุกวัน (และทุกวินาที)

เช่น คุณถือหุ้น ABC อยู่แล้วราคาเป็นบวกขึ้นมาอย่างต่อเนื่องหลายเดือน-หลายปี แต่จู่ๆ วันนี้เกิดข่าวร้ายใหญ่ของบริษัทออกมา มีแหล่งข่าววงในออกมายืนยันแล้วว่าเป็นข่าวจริง 

ขณะที่ราคาส่งสัญญาณร่วงลงเรื่อยๆ แต่คุณกลับลังเลขายเพราะในใจขัดแย้งกันเอง พยายาม “ไม่อยากจะเชื่อ” ว่ามันเป็นจริง Conservatism Bias กำลังทำงาน

กว่าคุณจะยอมรับความจริงได้ ราคาหุ้นก็ร่วงลงไปหนักแล้ว ทำให้คุณได้ผลตอบแทนน้อยลงจนไปถึงขาดทุน

Chart, line chart

Description automatically generated

เราทราบดีว่า Kodak และ Nokia คืออดีตยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมของตัวเองเมื่อกาลครั้งหนึ่ง แต่เพราะยึดติดกับความสำเร็จในแนวทางและนวัตกรรมของตัวเองที่ทำสำเร็จมาหลายทศวรรษ จึงไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกยุคสมัยได้ทันท่วงที สุดท้ายถูก Disrupt ขนานใหญ่

Toyota ดึงดันที่จะพัฒนารถน้ำมันต่อไป (และเทคโนโลยีไฮโดรเจนที่ตนคิดค้น) ขณะที่เทรนด์โลกมุ่งหน้าสู่รถยนต์ไฟฟ้าหมดแล้ว จนถูก Tesla ที่เป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าเต็มตัวแซงหน้าไปในเชิงมูลค่าบริษัท (นักลงทุนให้มูลค่าในอนาคตมากกว่า)

A white car on a road

Description automatically generated with low confidence

Conservatism Bias ยังสอดแทรกอยู่ในระดับบุคคล เช่น ในการทำงานโปรเจคท์ใหญ่ที่มีสมาชิกทีมมาจากหลากหลายแผนก

แต่ละคนมีแนวโน้มจะดึงเอาประสบการณ์ตัวเอง / องค์ความรู้ตัวเอง / ผลงานเก่าของตัวเองมาบรรยายให้ทีมฟัง และอาจถึงขั้นสถาปนาเป็น “มาตรฐาน” ในการทำงาน จนอาจปะทะกับไอเดียอันหลากหลายที่มาจากแผนกอื่นได้

วิธีป้องกัน Conservatism Bias

ในยุคที่ทุกอย่างถูก Disrupt ได้ตลอดและมีข้อมูลเกิดใหม่ทุกวันที่พร้อมโต้แย้งความคิดเดิมๆ เราควรมีทัศนคติเชิงปล่อยวาง-โฟกัสกับปัจจุบัน 

เช่นว่า “ความสำเร็จเป็นเรื่องอดีต เกิดขึ้นไปแล้ว และจบลงสมบูรณ์ไปแล้ว…ปัจจุบันค่อยว่ากันใหม่”

ทัศนคตินี้จะช่วยให้เราตอบสนอง (Reaction) ต่อข้อมูลใหม่ๆ ได้ทันท่วงที ไม่รีรอ-ไม่ชักช้า

A person holding a newspaper

Description automatically generated with medium confidence

ลองท้าทายวิธีการทำงานเดิมๆ และมองหารูปแบบการทำงานใหม่ๆ

เช่นจากเดิม บริษัทมีนโยบาย Work From Office เท่านั้น ก็เปลี่ยนเป็น Work From Home ทำงานจากที่บ้าน ก่อนขยายไปสู่ Work From Anywhere ทำงานจากที่ไหนก็ได้เพื่อความยืดหยุ่นสูงสุด และเป็นไปตามกระแส “Workation” หรือลักษณะการทำงานแบบพักร้อน คือ ทำงานไป-พักผ่อนไป สร้างความสมดุลมากขึ้น

A picture containing table, indoor, window, computer

Description automatically generated

หรือให้พนักงาน “หมุนเวียน” หน้าที่การทำงานในสาขาของตัวเอง จะได้เข้าใจหลายบทบาท มีมุมมองที่กว้างขึ้น

ตั้งคำถามถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ และพยายามหา “คำตอบ” เท่าที่เป็นไปได้มากที่สุด แน่นอนว่าไม่มีใครรู้คำตอบที่ถูกต้อง แต่จะช่วยให้เราไม่ตื่นตระหนกเวลาเจอข้อมูลใหม่ๆ 

ยุคนี้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นรายวัน หลายอุตสาหกรรมถูก Disrupt ของใหม่มาแทนที่ของเก่าเป็นว่าเล่น

การจะดีลกับปัจจุบันและจินตนาการถึงอนาคตได้…ต้องเลิกยึดติดกับอดีตเสียก่อน 

.

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/3E9yoAV

อ้างอิง