ยิ่งสูง-ยิ่งหนาว…การ Exit ครั้งใหญ่ของเหล่า High Flyers

ยิ่งสูง-ยิ่งหนาว…การ Exit ครั้งใหญ่ของเหล่า High Flyers

คนนอก: เงินดี / การงานดี / ภาพลักษณ์ดี / มีคนรอบข้างคอยบริการ…ชีวิตดีมากแม่!!

คนใน: งานหนักจนไม่มีเวลาใช้เงิน / ทำงานวันละ 12 ชม. / วันหยุดไม่ได้หยุดจริง / กินข้าวเที่ยงบนโต๊ะ / ชีวิตด้านอื่นคือพัง..

“High Flyers” เป็นกลุ่มคนอัจฉริยะ พรสวรรค์ว่าเยอะแล้ว-พรแสวงเยอะกว่า พวกเราคือกลุ่มคนจำนวนเล็กๆ ที่อยู่ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังคอยขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กรทั่วโลก

แต่ฉากหลังความสำเร็จ ปนเปื้อนมาด้วยความเหนื่อยล้าของใครหลายคน ความไม่พอดีของการงานที่ทำลายความสัมพันธ์ส่วนตัว จนเริ่มตั้งคำถามถึงการ Exit เพื่อมุ่งสู่หนทางอื่นที่ลงตัวกว่านี้

แต่คำถามคือ…แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าเมื่อไรควรไป?

Unworthy Money

อย่างแรกเลย “ผลตอบแทน” ที่คุณได้ไม่คุ้มค่ามากพอ

จากผลการวิจัยที่อังกฤษในหมู่ผู้บริหารอายุต่ำกว่า 40 เผยว่า ในจำนวนนี้ กว่า 72% คาดหวังเงินที่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่ 1/4 ยอมรับว่า เคยลาออกจากบริษัทเก่าเพราะไม่ได้รับการโปรโมท ทั้งๆ ที่คิดว่าควรจะได้รับจากผลงานที่ตนสร้าง

นอกจากนี้งานที่หนักเกินจนไม่มีเวลาคิดเรื่องอื่น นำไปสู่ภาวะ “ทำงานจนหมดสภาพ” (Burnout) ซึ่งสร้างภาระให้สหรัฐอเมริกาประเทศเดียวถึงปีละ 300,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือกว่า 9 ล้านล้านบาท อันเป็นผลต่อเนื่องที่นำไปสู่การขาดงาน, ผลิตภาพน้อยลง, ค่ายารักษา, การลาออก และอื่นๆ อีกมาก

เพราะยิ่งสูง งานยิ่งเยอะ ความรับผิดชอบยิ่งสูงตาม ต้องทำงานแทบตลอด วันหยุดไม่ได้หยุดจริงๆ บางคนกดดัน เครียด จนพบแพทย์กินยาและมีปัญหาสุขภาพตามมาในที่สุด

Too Many Noises

พลีชีพสร้างผลงานให้เบื้องบนเห็น แต่เงินเท่าเดิม ผลงานต้องมาก่อน และต้องโดดเด่นด้วยถึงจะได้ขึ้น

บางเคสเจอลักษณะ “ถูกใช้งาน” มีผลงานแต่กลับไม่ได้ขึ้น หรือได้ขึ้นแต่ไม่คุ้มกับผลงานชิ้นโบว์แดง-ไม่คุ้มกับค่าเหนื่อยที่ทุ่มหมดตัวไป

และที่ปฏิเสธไม่ได้คือ “การเมืองภายใน” ที่ต้องเล่นให้เป็น แต่ High Flyers บางคนเป็นสายการงาน ไม่ใช่สายการเมือง ความเก่งของคุณไปขัดผลประโยชน์ใครเข้า ก็โดนกลั่นแกล้งทางใดทางหนึ่ง สร้างความเบื่อหน่ายไม่น้อย

ผลสำรวจอดีตที่ปรึกษาจาก Boston Consulting Group ที่ออกมา ‘ทำเอง’ ได้ 7 ปีกว่าแล้วพบว่า เขาได้ทำโปรเจ็คท์ที่มีความหมายและน่าสนใจมากกว่าตอนอยู่บริษัทเสียเอง ทั้งยังไม่ต้องปวดหัวกับการเมืองภายในและการฟาดฟันแย่งเก้าอี้ตำแหน่ง ซึ่งบ่อยครั้งชวนปวดหัวกว่าเรื่องงานเสียอีก!

Mission Accomplished

หลายปีก่อน คุณเริ่มเข้าสายงานนี้จากการทำ “แบบประเมินอาชีพ” ของ CareerVisa พอรู้ว่าชอบอาชีพแนวนี้ ก็เลยบินสูงพุ่งทะยานมาทางนี้ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ถึงตอนนี้คุณได้พิสูจน์ตัวเองแล้ว ได้ลิ้มรสความท้าทายแล้ว สำเร็จแล้ว มีผลงานแล้ว พอมองไปรอบตัว มิติด้านอื่นของชีวิตก็ลงตัวโอเคแล้ว ทำไมต้องเหนื่อยทะลักทุเลขนาดนี้ต่อไปล่ะ?

High Flyers หลายคนไม่น้อยผ่านด่านมาถึงจุดนี้… 

เริ่มอยากใช้ชีวิตกลางๆ ไม่หนักไป-ไม่เบาไป ออกไปรับตำแหน่งอื่นที่อื่น เงินน้อยลงแต่ภาระหน้าที่ก็น้อยลงเช่นกัน และอาจเจอกับสมดุลชีวิตที่ใช่กว่า

ถ้าให้เล่าท้าวความก็คือ เมื่อก่อนคุณเลือกอาชีพนี้เพราะมันตรงกับ Values ในตอนนั้น แต่เวลาเปลี่ยนอะไรก็เปลี่ยน Values ณ ตอนนี้คุณเปลี่ยนไปแล้ว ก็สามารถกลับมาทำแบบประเมินใหม่ได้ เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ใน Stage ถัดไปของชีวิต

เช่น สมัยก่อนคุณยังไม่มีครอบครัว Values คือ หน้าที่การงานที่โตเร็วที่สุด มีเท่าไรใส่เต็ม เดินทางพบปะลูกค้าต่างประเทศ…แต่ตอนนี้มีครอบครัวแล้ว Values กลายเป็น Work-Life Balance ทำงาแต่พอเหมาะ แบ่งเวลามาให้ครอบครัว เน้นความมั่นคง

ขอแนะนำให้กลับไปทำ Career Assessment ใหม่ ทบทวนตัวเองอีกซักรอบ จะได้อาชีพใหม่ที่เหมาะสมกับชีวิตใหม่มากขึ้น รู้ว่า Next Chapter ควรเดินไปทางไหนต่อ..

(More & Bigger) Outside Opportunities

High Flyers หลายคนเมื่อถึงวัยอันควร เก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้ความสามารถและเงินทุนได้มากพอแล้ว ก็ออกมาเดินตามความฝันของตัวเอง

เปิดบริษัท / ลงทุนในสตาร์ทอัพ / ผันมาเป็นที่ปรึกษาอิสระ 

ผลวิจัยที่อังกฤษเผยว่า เศรษฐกิจแบบรับจ้างทำงานเป็นครั้งๆ (Gig Economy) มาจากกลุ่มแรงงานมีฝีมือ-มีทักษะความรู้ ถึง 59%

การออกมาทำเองไม่ใช่เรื่องใหม่…

ผลการสำรวจจาก London Business School ในหมู่ที่ปรึกษากว่า 400 คน เผยว่า กว่า 90% เลือกที่จะออกมาทำเอง และ “พึงพอใจ” กับชีวิตภาพรวมมากกว่าตอนเป็นลูกจ้างบริษัท(ที่ปรึกษาใหญ่) และได้เงินในระดับเทียบเท่าหรือสูงกว่าด้วยซ้ำ 

อดีตผู้บริหารจาก McKinsey ท่านหนึ่งเผยว่านี่คือจุด “Sweet Spot” ที่ลงตัวมากระหว่างชีวิต-การงาน เขามีเวลากับครอบครัวมากขึ้น คุณภาพชีวิตด้านอื่นสมดุลขึ้น เมื่อภายในดี-ภายนอกก็ดีตาม เขารู้สึกมีสมาธิและให้คำปรึกษาลูกค้าได้ดีกว่าเดิม สร้าง impact ได้มากกว่าเดิม ซึ่งนั่นคือจุดสุดยอดของอาชีพที่เขาจะไม่กลับไปทำในองค์กรอีกแล้ว..

.

.

ก่อนจะเป็น High Flyers ต้องมีเป้าหมาย รู้ว่าอยากทำงานอะไร? ทำ “แบบประเมินอาชีพ” ของ CareerVisa เพื่อค้นหาสายอาชีพที่ใช่ ก่อนบินสูงร่วมฝูงกับ High Flyers คนอื่นๆ >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

อ้างอิง