JR ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ขนส่งมวลชนที่ทำกำไรมหาศาล

JR ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่ขนส่งมวลชนที่ทำกำไรมหาศาล
  • JR มีรายได้เฉพาะค่าโดยสารรถไฟกว่า 4.31 ล้านล้านเยน
  • สถานีรถไฟเต็มไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน
  • เป็นส่วนหนึ่งในการท่องเที่ยวของพวกเราที่ขาดไม่ได้

JR มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่?

Privatization

ทศวรรษ 1970s การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japanese National Railways – JNR) เป็นหนี้สะสมมากถึง 250,000 ล้านเยน ทางรอดคือการ “แปรรูปรัฐวิสาหกิจ” โอนกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (Privatization) ใช้เวลาเตรียมการราว 10 ปีจนแล้วเสร็จในปี 1987

ผลลัพธ์คือ Japan Railways (JR) แตกออกเป็น 6 กลุ่มบริษัทใหญ่แบ่งตามภูมิภาค ได้แก่ JR Hokkaido / JR East / JR Central  / JR West / JR Shikoku / JR Kyushu 

A picture containing text, sign

Description automatically generated

เมื่อเอกชนเข้ามาบริหาร เชี่ยวชาญในแต่ละภูมิภาค จึงดำเนินงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพขึ้น นี่คือการย้อนกลับมาติดกระดุมเม็ดแรกที่ถูกต้อง

(Privatization รถไฟในญี่ปุ่น ยังเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับกระแสโลกยุคนั้น เช่น Privatization รถไฟที่อังกฤษ เกิดขึ้นยุค 1990s) 

TOD

“ขนส่งมวลชน…ทำยังไงก็ไม่กำไร” โดยเฉพาะถ้ามันครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งกินพื้นที่ชนบทความหนาแน่นต่ำ (ไม่ใช่แค่เฉพาะเมืองใหญ่)

นี่คือสิ่งที่ JR รู้ดีมาแต่แรก จึงได้ริเริ่มแผนการทำพาณิชยกรรมขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “TOD”  (Transit-Oriented Development) หรือ การพัฒนาความเจริญรอบสถานีรถไฟ 

ซึ่งมาในรูปแบบ Mixed-Use Development โปรเจคท์ขนาดใหญ่รวมทุกความเจริญไว้ในที่เดียวกัน เช่น ขนส่งมวลชนทุกรูปแบบ / ออฟฟิศ / โรงแรม / คอนโด / ห้างสรรพสินค้า / พิพิธภัณฑ์ / แหล่งท่องเที่ยว / สวนสาธารณะ 

A city at night

Description automatically generated with low confidence

สถานีที่ได้รับการทำ TOD จะกลายเป็นศูนย์กลางใหญ่(และใหม่) ของเมือง สร้างรายได้มหาศาล สถานีลักษณะนี้กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศ เช่น Osaka Station / Nagoya Station / Hakata Station / Shinjuku Station / Tokyo Station

A picture containing text, apartment building

Description automatically generated

ความเจริญของ TOD สร้างศูนย์กลางใหม่ของย่าน เมื่อเขยิบออกไปรอบๆ ในสเกลเล็กลงมา ยังเกิดย่านที่เป็น “ถนนช็อปปิ้งคนเดิน” รอบสถานีรถไฟอีกชั้นหนึ่ง ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และ JR ไปลงทุนสร้างไว้เอง

Land Development

JR ไม่ได้มีรายได้หลักจากค่าโดยสารรถไฟ เพราะคิดเป็น 10-20% เท่านั้น ขณะที่รายได้จาก “อสังหาริมทรัพย์” มากกว่าหลายเท่า

เพราะมาจากการพัฒนา “โครงการจัดสรรที่ดิน” ทั่วประเทศ ซึ่งเกิดขึ้นรอบนอกเมืองใหญ่ หรือ ตามย่านแหล่งท่องเที่ยวในชนบท เช่น Den-en Chofu ย่านหมู่บ้านจัดสรรหรูชานเมืองโตเกียว

A street with trees on the side

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3mQvx7Y

  • JR East ทำสกีรีสอร์ต ติดกับสถานีรถไฟชินคันเซ็น เพียง 1 ชม.จากโตเกียว มีลานสกี / ออนเซ็น / ร้านค้าและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น / ห้าง / รีสอร์ต / สถานีรถไฟ ดึงดูดให้ผู้คนในเมืองใหญ่ละแวกใกล้เคียงมาเยือน
  • JR Kyushu ดึงจุดแข็งด้านโลเคชั่นของเกาะคิวชูที่อุดมไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ จึงสร้างรถไฟแนวท่องเที่ยว เช่น จ้างดีไซเนอร์มาตกแต่งรถไฟให้น่าดึงดูด กลายเป็น “Design & Story Train” (D&S Train) ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากมาย
A room with tables and chairs

Description automatically generated with low confidence

Image Cr. bit.ly/3FGkB5o

หรือแม้แต่การสร้าง “กิมมิค” เล็กๆ น้อยๆ ที่ใช้ต้นทุนน้อยแต่ได้ผล เช่น JR West สร้างมาสคอตแมว “Tama-chan” ให้แก่สถานีรถไฟเล็กๆ Kishi Station จนประสบความสำเร็จมีนักท่องเที่ยวมาเยือนจากทั่วประเทศ ส่งผลให้เศรษฐกิจท้องถิ่นดีขึ้น

Cost Structure

ภาครัฐสร้างกลไกและกฎหมายบางอย่างที่ยับยั้งไม่ให้ JR และบริษัทเดินรถไฟอื่นๆ “ขึ้นค่าโดยสารรถไฟ” ได้ตามอำเภอใจ เพราะจะกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน (ค่าโดยสารรถไฟในโตเกียวไม่ได้ขึ้นมาเป็นทศวรรษแล้ว)

ตัวอย่างเช่น โดยเฉลี่ย ค่าโดยสารรถไฟในโตเกียว/เที่ยว คิดเป็น 25% ของค่าแรงขั้นต่ำ/ชม. เท่านั้น

A train travels down the tracks

Description automatically generated with medium confidence

JR จึงหันไปสร้าง “ประสิทธิภาพ” และบริการอันเป็นเลิศแทน นี่เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ผู้คนยังเลือกเดินทางด้วยรถไฟที่สะดวกสบาย ราคาเป็นธรรม และเมื่อคนมาใช้ชีวิตรอบสถานี ก็เกิดการจับจ่ายใช้สอย JR จึงยังรักษาช่องทางรายได้หลักนี้ได้อยู่

A train on the railway tracks

Description automatically generated with medium confidence

ประสิทธิภาพยังรวมถึง “นวัตกรรม” ที่เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้โดยสาร เช่น นวัตกรรมบัตร IC Card (ภายใต้แบรนด์ Suica) บัตรเดียวใช้แตะขึ้นรถไฟสายต่างๆ ซื้อของร้านสะดวกซื้อ และร้านค้าอีกเพียบ อำนวยความสะดวกผู้คน ซึ่ง JR ยังได้เก็บ “ข้อมูล” มหาศาลของลูกค้าเช่นกันเพื่อนำมาปรับปรุงบริการให้ดียิ่งขึ้น

A picture containing text, businesscard, envelope

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3DCbu44

อีกด้านหนึ่ง JR ควบคุมต้นทุนด้วยการ “ยกเลิกเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไร” ซึ่งมักอยู่ตามชนบทต่างจังหวัด 

  • เส้นทางดังกล่าวกว่า 2,546 กม. ถูกยกเลิกไปแล้ว 
  • และอีกกว่า 2,200 กม. กำลังถูกโอนให้รัฐบาลท้องถิ่นรับช่วงดูแลต่อ (แม้ขาดทุน แต่จำเป็นต้องมีเพราะเป็น “ขนส่งสาธารณะ”)

ทั้งนี้ การยกเลิกต้องขออนุญาตจากท้องถิ่นและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเสียก่อน

ปรับตัวตามยุคสมัย

เราจะเห็นว่ามีการ “ปรับตัว” ตามยุคสมัยอย่างแท้จริง 

  • จาก JNR สู่ JR
  • จากสถานีรถไฟที่เป็นแค่ขนส่งมวลชน กลายเป็น TOD ศูนย์กลางใหม่ของเมืองที่มีทุกอย่าง
  • จากบริเวณที่ความหนาแน่นต่ำ สร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ดึงดูดผู้คน
  • เมื่อยุคดิจิตอลมาถึง ก็รีบออกบัตร IC Card สะดวกสบาย
A picture containing outdoor, stone

Description automatically generated

การปรับตัวไปตามสภาพการณ์และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป เป็นปัจจัยที่ทำให้ JR เป็นมากกว่าแค่ขนส่งมวลชนใช้เดินทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิตและท่องเที่ยวของผู้คนไปแล้ว

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง