Prolonged Workforce: เมื่อการทำงานเปลี่ยนไปเพราะอายุยืนขึ้น

Prolonged Workforce: เมื่อการทำงานเปลี่ยนไปเพราะอายุยืนขึ้น
  • เกษียณตอนอายุ 60 หรือต่อจนถึง 65
  • บริหารคนแค่ 2-3 เจเนอเรชั่นในองค์กร
  • 30 คือคนรุ่นใหม่ 50 คือคนรุ่นเก๋า 

ค่านิยม ทัศนคติ และบริบทการทำงานแบบดั้งเดิมเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไป ด้วยการมาถึงของเทคโนโลยีการแพทย์และพันธุศาสตร์ที่ทำให้คนเราอายุยืนขึ้น นำไปสู่ “Prolonged Workforce” ที่จะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตอันใกล้!!

Prolonged Workforce: การทำงานเปลี่ยนไปเพราะอายุยืนขึ้น

Dr. David Sinclair นักชีววิทยาแถวหน้าของโลกประจำ Harvard Medical School และผู้เขียนหนังสือขายดีปฏิวัติวงการแพทย์อย่าง Lifespan: Why We Age―and Why We Don’t Have To ประกาศด้วยความยินดีว่า ค้นพบหนทางการทำให้มนุษย์ “อายุยืน” (Prolonged Longevity) ขึ้นได้แล้ว

แต่ก่อนจะไปพูดถึง อายุยืนที่เกี่ยวข้องกับโลกการทำงาน…เราไปทำความเข้าใจวิทยาศาสตร์ล่าสุดของความแก่เสียก่อน

วิทยาศาสตร์ของความแก่

Dr. David Sinclair ขอให้เราจำประโยคนี้ให้ขึ้นใจ “ความแก่เป็นโรคชนิดหนึ่ง เมื่อเป็นโรค…จึงรักษาหายได้” (Aging is a disease. Disease is treatable.)

A picture containing invertebrate, arthropod, colorful, colors

Description automatically generated
  • กฎธรรมชาติในพันธุกรรมมนุษย์ (Biological law) ไม่มีระบุว่าเราต้องแก่
  • ความเสื่อมถอยของเซลส์หลายประการมาจากปัจจัยภายนอก
  • ความแก่คือตัวกำเนิดโรคภัย (Mother of all diseases) ที่นำไปสู่โรคอื่นๆ เช่น มะเร็ง
  • ปัจจุบัน นักวิจัยสามารถชะลอความแก่ในหนูทดลองที่ห้องแลปจนเป็นเรื่องปกติไปแล้ว
  • มีอาหารเสริม 4 ชนิดที่ชะลอความแก่ได้แล้ว: Tru Niagen / NMN / Resveratrol / Pterostilbene
  • มีอยู่ 4 แนวทางที่หมุนเวลาเซลล์ให้กลับมาหนุ่มสาว: mTOR / Telomere / Metformin / NMN
  • มียีนส์ดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่งในตัวมนุษย์ทุกคน เมื่อถูกกระตุ้นให้ทำงาน (Activate) จะชะลอความแก่ทั้งหมดในร่างกาย
  • ยีนส์ชนิดนี้ถูกกระตุ้นได้ด้วยการทำให้ร่างกายเครียด (Stress) เช่น ทำ Intermittent fasting ให้ท้องหิว / ออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็ว 70% / และอื่นๆ
A person running on a treadmill

Description automatically generated with medium confidence

จนไปถึงหนทางในอุดมคติ (แต่เทคโนโลยีปัจจุบันยังไปไม่ถึง) ที่เรียกว่า “Cellular Reprogramming” ที่พอเราแก่…ก็สามารถโปรแกรมย้อนกลับเซลล์ในร่างกายให้กลับมาหนุ่มสาวได้ ซึ่งถ้าทำได้จริง คาดการณ์ว่าเมื่อสิ้นสุดศตวรรษที่ 21 มนุษย์จะสามารถมีชีวิตยืนยาวได้ถึง 150 ปี

(ปล. รายละเอียดเชิงลึกด้านพันธุศาสตร์ถูกอธิบายอยู่ในหนังสือ Lifespan: Why We Age―and Why We Don’t Have To)

“อายุเป็นเพียงตัวเลข” คำพูดนี้จะเกิดขึ้นจริงแก่คนหมู่มากในอนาคตอันใกล้แน่นอน ปัจจุบัน คนทั่วไปมักไม่อยากมีอายุยืนยาวหลัก 100 ปี เพราะคิดว่ามันต้องมาพร้อมกับโรคราต่างๆ ผิวหนังเหี่ยวย่น สมองฝ่อ กลายเป็น “ภาระ” แก่ลูกหลาน

แล้วถ้าความจริงคือ ต่อให้คุณอายุ 100 ปี แต่ร่างกายและสมองยังทำงานได้ปกติดีเยี่ยมไม่ต่างจากตอนอายุ 50 ปี คุณจะยังอยากไปให้ถึงจุดนั้นอยู่ไหม? คำตอบที่ได้จะเริ่มเปลี่ยนไป

A couple of women sitting on a couch and looking at a cell phone

Description automatically generated with low confidence

อายุยืนยาวนับ 100 ปี+ เกิดขึ้นได้จริง ต้องไม่ลืมว่าเรา “มาไกล” แค่ไหนในเส้นทางเดินประวัติศาสตร์ 

  • ศตวรรษที่ 19 มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย 31 ปี
  • ศตวรรษที่ 20 มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย 46 ปี
  • ศตวรรษที่ 21 – ปัจจุบัน มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย 72 ปี

ซึ่งทั้งหมดนี้ จะกระทบต่อโลกการทำงานอันใกล้ที่จะถึงอย่างไรบ้าง?

Prolonged Retirement

มาตรฐาน “60 เกษียณ” ที่ใช้ติดต่อกันมาค่อนศตวรรษคือประการแรกที่จะต้องถูกเปลี่ยน เพราเมื่อคนอายุยืนขึ้น อายุ 60 จะยังคงแข็งแรงและสมองทำงานได้ดีเยี่ยมแทบไม่ต่างจากวัยเริ่มทำงาน 

ในอนาคต เมื่ออายุขัยยืนยาวขึ้น…คุณอาจพึ่งมาถึงครึ่งทางชีวิตเท่านั้นเองตอนอายุ 60

A person using a computer

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3bDcN6F

อันที่จริง เราเริ่มเห็นสัญญาณนี้แล้ว ระหว่างปี 2012-2017 อายุเฉลี่ยของ “CEO หน้าใหม่” ที่รับตำแหน่งในบริษัทมหาชนที่สหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นจาก 45 ปี เป็น “50 ปี”

และปัจจุบัน ยังมี CEO หรือผู้บริหารระดับสูงที่ยังทำงานอยู่ (และทำได้ดีเยี่ยม) ที่อายุเกิน 60 ปีไปแล้ว เช่น

  • Warren Buffett อายุ 91 ปี
  • Sheldon Adelson อายุ 87 ปี
  • Leslie Wexner อายุ 84 ปี
  • Bill Gates อายุ 66 ปี

เพราะตัวเลขเกษียณวัย 60 ปี ถูก “ขีดเส้น” ขึ้นในยุคที่โลกมีอายุขัยเฉลี่ยต่ำกว่าปัจจุบันมาก…ยิ่งในอนาคตที่คนอายุยืนขึ้น ตัวเลข 60 นึ้จึงมีแนวโน้มต้องเขยิบขึ้น

Multi-Generational Workplace

ปัจจุบัน เป็นครั้งแรกของโลกที่มีผู้คนถึง 4 เจเนอเรชั่นด้วยกันในที่ทำงาน ได้แก่ Baby Boomer / Gen X / Gen Y / Gen Z 

แต่ความท้าทายนี้จะเปลี่ยนไป 4 เจเนอเรชั่นจะกลายเป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อคนอายุยืนยาวมากขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม และอายุวัยเกษียณถูกเขยิบออกไปราวกับไม่มีกำหนด

…จะเป็นครั้งแรกของโลกเช่นกันที่อาจมีผู้คนถึง “5-8 เจเนอเรชั่น” ในที่ทำงานที่เดียว

A picture containing person, indoor, table, dining table

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3bB8iK8

เมื่อนึกภาพว่าอายุ “เด็กสุด-แก่สุด” ในที่ทำงานคือ “20-100 ปี” ความท้าทายคือการออกแบบวิธีบริหารจัดการที่จะตอบสนองความต้องการผู้คนมากหน้าหลายวัยในองค์กร

นอกจากนี้ โลกที่เปลี่ยนเร็ว เทคโนโลยีที่เปลี่ยนเร็ว “ช่องว่าง” แต่ละเจเนอเรชั่นจะแคบลง แต่จะมีความ “แตกต่าง” กว่ายุคสมัยก่อน เช่น ห่างกันแค่ 6-7 ปีก็เหมือนอยู่ “คนละวัย” ได้แล้ว เพราะโตมาในโลกที่แตกต่างกัน

และความท้าทายอีกอย่างคือการ “ตั้งชื่อ” ว่าเราควรจะเรียกเจเนอเรชั่นใหม่ๆ ว่าอะไรดี?

Reskill & Upskill

เรามักจะพูดกันว่า “ไม่มีใครแก่เกินเรียน” วลีนี้จะถูกนำมาใช้จริงๆ ก็ตอนนี้ เพราะเมื่อเราอายุยืนยาวถึงจุดหนึ่ง

  • อายุ 50 ก็ออกไปเรียนปริญญาเพิ่มอีกใบได้
  • อายุ 60 ก็เรียนสิ่งใหม่ๆ ได้ไม่ต่างจาก 30
  • อายุ 70 ก็ต่อยอดความรู้เดิมให้แอดวานซ์ขึ้นได้
A person giving a presentation

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3BJSor7

ประเด็นเหล่านี้เป็นเพียงน้ำจิ้มให้เราได้ลิ้มรส เพราะรายละเอียดและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ยังมีอีกมหาศาล 

ขอแค่ระลึกว่าพวกเราอายุยืนขึ้นได้จริงๆ และมันจะมาพลิกโฉมโลกการทำงานไม่มากก็น้อย Prolonged Workforce จะเกิดขึ้นแน่นอน

ส่วนคำตอบที่เกิดขึ้นจริงว่าจะเป็นอย่างไร?…เราคงจะได้พิสูจน์กับตาในช่วงชีวิตของเรา

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง