Sleeper Effect: เทคนิคโน้มน้าวใจสุดแนบเนียน

Sleeper Effect: เทคนิคโน้มน้าวใจสุดแนบเนียน

สงสัยไหม…ทำไมโฆษณาชวนเชื่อ หรือ Propaganda มักได้ผลในหลายๆ ประเทศ? เบื้องหลังความสำเร็จคือกับดักจิตวิทยาที่เรียกว่า “Sleeper Effect”

Sleeper Effect: เทคนิคโน้มน้าวใจสุดแนบเนียน

Sleeper Effect เป็นเทคนิคโน้มน้าวใจที่แนบเนียนที่สุดก็ว่าได้…มัน “แนบเนียน” เพราะข้อความชวนเชื่อจะยังไม่ออกฤทธิ์แต่แรก จนผู้รับสารเผลอตายใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไป (และเราได้ยินข้อความนั้นซ้ำๆ) อาจมารู้ตัวอีกทีว่าตัวเอง “หลงกล” เข้าให้แล้ว

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 U.S. War Department ได้จัดทำ National Propaganda ขนานใหญ่ระดับประเทศ เพื่อให้ประชาชนและทหารสนับสนุนการเข้าร่วมสงคราม ด้วยความที่ใช้งบประมาณมหาศาล นักวิจัยของภาครัฐได้ติดตามผลลัพธ์จนพบกับเรื่องน่าสนใจ

A picture containing text, book

Description automatically generated

กล่าวคือ เมื่อทำแบบสอบถามครั้งที่ 1 กับเหล่าทหารว่าคิดเห็นอย่างไรกับ Propaganda เหล่านี้ คำตอบคือ ทหารส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะ “ดูออก” รู้แหล่ะว่าเป็น Propaganda จากภาครัฐ ยังไงก็ต้องทำให้ตัวเองดูดีอยู่แล้ว

แต่พอ 9 สัปดาห์ให้หลัง เมื่อทำแบบสอบถามครั้งที่ 2 กับกลุ่มเดิม กลับพบว่า…ทหารส่วนใหญ่ “เห็นด้วย” ให้การสนับสนุนสงคราม มีความหึกเฮิมในความรักชาติมากกว่าเดิมชัดเจน (บางคนยินดียอมเสียสละชีวิต!)

A picture containing old, group, military uniform, ground

Description automatically generated

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

Carl Hovland นักจิตวิทยาที่ริเริ่มทำวิจัยนี้ให้เหตุผลว่า เพราะ ”แหล่งที่มา” (Source) ของเนื้อหา เลือนลางจางหายเร็วกว่า ตัวเนื้อหาเอง

หรือก็คือ ถ้าเวลาผ่านไปนานพอ คนเรามักจำแหล่งที่มาของเนื้อหาไม่ได้…แต่ยังพอจำ “ตัวเนื้อหา” ได้อยู่ จึงนำไปสู่การตีความผิดๆ ในภายหลัง เพราะเราได้ลืม “บริบท” ของเนื้อหานั้นไปแล้ว 

นี่เป็นเหตุผลว่า ทำไมข้อมูลชวนเชื่อที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ ถึงยังคงอยู่ในสื่อหรือการสนทนาของผู้คนได้อยู่ เพราะเนื้อหา-ข้อความนั้น ยังคง “ตกค้าง” อยู่ในหัวเรา จนชี้นำความคิดได้ในที่สุด

Sleeper Effect รอบตัวเรา

หนึ่งใน Sleeper Effect ที่ชัดเจนและแพร่หลายที่สุดคือ “โฆษณา” หัวใจหลักของการโฆษณาคือ ความถี่ (Frequency) ต้องมากพอ ผู้บริโภคต้องพบเห็นมากพอ-ได้ยินมากพอ 

แม้ตอนแรกจะไม่สนใจใยดีเพราะรู้แหล่ะว่าเป็นโฆษณา แต่พอนานวันเข้า-ถี่มากเข้า ก็อาจถูกโน้มน้าวใจ(โดยไม่รู้ตัว) ในที่สุด

เรื่องนี้จะยิ่งทรงพลังขึ้นเมื่อเป็นผู้บริโภคบอกต่อกันเอง (Word-of-Mouth) เพราะเรามักเชื่อใจคนที่มาจากปากคนอื่นมากกว่าตัวแบรนด์พูดเอง

A picture containing text, booth

Description automatically generated

เรายังจะพบ Sleeper Effect ได้ในช่วงเวลา “หาเสียงทางการเมือง” หนึ่งในกลยุทธ์ที่นักการเมืองมักใช้คือ หาเหตุผลความชอบธรรมในการ “โจมตีฝ่ายตรงข้าม” ไม่ว่าเรื่องนั้นจะมีมูลความจริงหรือหลักฐานมากเพียงพอหรือไม่ก็ตาม

A person holding a microphone

Description automatically generated with medium confidence

นานวันเข้า จากคนที่ไม่เคยเชื่อ ก็อาจเริ่มใจอ่อนและสงสัยในที่สุด

วิธีป้องกัน Sleeper Effect

วิธีแรกแบบตัดปัญหาเฉพาะหน้าเลยคือให้ “ปฏิเสธไว้ก่อน” อย่าพึ่งตอบรับ อย่าพึ่งโอบกอดคำพูดโน้มน้าวใจอันไพเราะและฟังดูดีแต่อย่างใด นี่คือด่านแรกของการไม่ให้ตัวเองถูกชักจูงทางความคิด (Thought manipulation)

จากนั้น ให้ค้นหา “แหล่งที่มา” ของข้อมูลนั้นว่าน่าเชื่อถือมากแค่ไหน

  • ถ้าเป็นตัวเลขธุรกิจในอุตสาหกรรม…มาจากสถาบันวิจัยโดยตรง หรือ มาจากแค่บทความทั่วไป(ที่ไม่ได้อ้างอิงแหล่งที่มา)
  • ถ้าเป็นเนื้อหาวิชาการ…มีผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ ในวงการทำ Peer Review ไว้หรือยัง?
A person holding a computer

Description automatically generated with medium confidence

สุดท้าย อยู่ที่ “วิจารณญาณ” ของตัวคุณเองแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ต้องอาศัย

  • Critical Thinking หัดขบคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ใครบ้างที่ได้ผลประโยชน์แอบแฝงจากการโน้มน้าวนี้
  • ละทิ้ง Confirmation Bias ไม่เลือกหาแต่ข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อตัวเอง
  • หักตั้งคำถามยากๆ Tough Question 

ถ้าเรารู้ทัน Sleeper Effect นอกจากจะไม่ตกเป็น “เหยื่อ” ของใครหรือขององค์กรใดแล้ว ยังถือเป็นอิสรภาพในการใช้ชีวิตอย่างหนึ่ง…อิสรภาพในการ “มีความคิดเป็นของตัวเอง”

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง