Sophisticated Consumers: เมื่อผู้บริโภค…คิดลึกกว่าที่คุณคิด!!

Sophisticated Consumers: เมื่อผู้บริโภค…คิดลึกกว่าที่คุณคิด!!
  • 7-8 ปีที่แล้ว นทท.ไทยไปเที่ยว Tokyo พักที่อุเอโนะ ช็อปตึกม่วง ก่อนแวะกินราเมงข้อสอบ
  • 7-8 ปีต่อมา นทท.ไทยไปเที่ยว Kiikatsuura พักโฮมสเตย์กับชาวญี่ปุ่น ช็อปผักสดในตลาด ก่อนแวะกินราเมงท้องถิ่นที่ไม่มีอยู่ในไกด์บุ๊ค

นี่คือตัวอย่างที่เริ่มเห็นในหลายวงการแล้วของ “Sophisticated Consumers” เมื่อผู้บริโภคมองหาตัวเลือกอันหลากหลาย และ…คิดลึกซึ้งกว่าที่คุณคิด

Sophisticated Consumers คืออะไร?

ถ้าเราเปรียบเปรย “ผู้บริโภค 101” ว่าคือเด็กใหม่พึ่งเข้าวงการ รู้จักแต่ข้อมูลสินค้าพื้นฐาน อาจพึ่งทดลองใช้สินค้าบริการประเภทนั้นๆ…ก็ขอให้มองว่า Sophisticated Consumers คือ “ผู้บริโภครุ่นเก๋า” ที่อยู่ขั้วตรงข้าม

Sophisticated Consumers คือ กลุ่มผู้บริโภคที่มีความ “รอบรู้” (Knowledgeable) ชำนาญการใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบอย่างเป็นธรรมชาติ (Digital native) 

ลูกค้าประเภทนี้จะ

  • พิจารณาซื้อสินค้าหลากหลายมิติ…ไม่ใช่แค่คุณภาพ-ราคา 
  • ก้าวข้ามความแมส สู่ความแอดวานซ์-เอ็กซ์คลูซีฟ
  • เป็นตัวของตัวเอง ไม่เอนเอียงไปตามกระแสหลัก
  • ใช้ “สติ มากกว่า สตางค์” ต่อให้บางคนมีกำลังซื้อสูง ก็ใช่ว่าจะยอมจ่ายง่ายๆ แต่มักคิดแล้วคิดอีก

ในหลายกรณี พวกเขาโหยหา “ประสบการณ์” มากกว่าซื้อสินค้าเพื่อแสดงออกถึงฐานะเสียอีก (หรือแม้แต่มีประสบการณ์ใช้สินค้าบริการนั้นมาบ้างแล้วจากคู่แข่ง)

ที่สำคัญ พวกเขาคาดหวังการได้รับปฏิบัติแบบ “ให้เกียรติ” ซึ่งไม่ใช่แค่มิติปฏิสัมพันธ์กับพนักงานขายเท่านั้น แต่รวมถึง 

  • คุณภาพสินค้า (เกรดพรีเมียม)
  • ที่มาที่ไปของสินค้า (ลูกจ้างได้ค่างานเป็นธรรม)
  • วัสดุของแพกเกจจิ้ง (ย่อยสลาย-รีไซเคิลได้)
  • การตั้งราคา (สมเหตุสมผล)

เราอาจสรุปสั้นๆ ว่า Sophisticated Consumers จะ “ตกผลึกทางความคิด” ก่อนจ่ายเงินซื้อสินค้า-บริการใดๆ

ถ้ามีคนถามพวกเค้าว่า “คุณยอมจ่ายเงินซื้อสินค้า-บริการเหล่านี้ไปเพื่ออะไร?” พวกเค้าจะให้คำตอบที่ลึกซึ้งได้เสมอ

ปัจจัยที่ขับเคลื่อน Sophisticated Consumers? / เทรนด์ 

Wealth

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความคิดลึกซึ้งในการบริโภค มาพร้อมเงินในมือที่มากขึ้น (เพราะถ้ายากจน เราจะถูกจำกัดให้บริโภคแต่ของราคาถูก)

ตัวอย่างประเทศที่ร่ำรวยขึ้นอย่างรวดเร็วคือ เกาหลีใต้

ปี 1970 GDP ต่อหัว/เดือน เกาหลีใต้อยู่ที่ 7,400 บาท

ปี 1990 GDP ต่อหัว/เดือน เกาหลีใต้อยู่ที่ 34,600 บาท

ปี 2019 GDP ต่อหัว/เดือน เกาหลีใต้อยู่ที่ 90,200 บาท

คนเกาหลียุคใหม่ย่อมโอบกอดความหลากหลายของสินค้าบริการในท้องตลาด เพราะเมื่อกำลังซื้อมากขึ้น “ตัวเลือก” ก็มากขึ้นตาม 

  • ใช้สินค้าพรีเมียมขึ้น (จาก Toyota ขยับไป Lexus)
  • เกิดการเปรียบเทียบ (แบรนด์ A-B-C-D)
  • เข้าใจศาสตร์ใหม่ๆ (จากกาแฟชง สู่ กาแฟดริป) 
  • กระบวนการผลิตใหม่ๆ (เครื่องสำอางไม่ทดลองในสัตว์) 
  • แนวคิดใหม่ๆ (Plant-based meat)

ความเป็นไปได้ใหม่ๆ แทบจะมีไม่สิ้นสุด ผู้บริโภคต้องเสพและทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้ ย่อมทำให้คิดลึกซึ้งขึ้นไปในตัว

Education

ในภาพใหญ่ คนเราจะมีความคิดลึกซึ้งได้ ต้องย้อนกลับไปว่า “เติบโต” มาแบบไหน

เรื่องนี้ต้องขอบคุณอานิสงส์ “ระบบการศึกษา” สมัยใหม่โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว 

ยกตัวอย่างเช่น ประเด็นเรื่องภาวะโลกร้อน (Global warming) ซึ่งเป็นปัญหาแห่งศตวรรษที่ 21 ถูกบรรจุอยู่ในระบบการศึกษาตั้งแต่ชั้นประถม (ในเมืองไทย บรรจุอยู่ตามโรงเรียนนานาชาติ)

และเมื่อโตขึ้นถึงระดับชั้นมัธยม-อุดมศึกษา องค์ความรู้แบบดั้งเดิมไม่ได้ถูกสอนแบบท่องจำ แต่ ถูกท้าทายด้วยการค้นพบใหม่ๆ เช่น

GDP VS. Better Life Index

สมัยก่อนการพัฒนาประเทศเราบูชา GDP เป็นเป้าหมายสูงสุด ทำยังไงก็ได้ให้ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้น…แม้จะต้องทำลายสิ่งแวดล้อมมหาศาล / เพิกเฉยความเหลื่อมล้ำ / กดขี่เอาเปรียบแรงงาน ฯลฯ

แต่ล่าสุดได้ถูกท้าทายโดยดัชนีใหม่ “Better Life Index” ซึ่งถูกนำเสนอโดยกลุ่มประเทศร่ำรวยของโลก (OECD) ซึ่งสมาชิกล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหมด โดย Better Life Index จะครอบคลุม “มิติอื่นของชีวิต” มากขึ้นเช่น สุขภาพ / ความสัมพันธ์กับสังคม / สิ่งแวดล้อม ฯลฯ 

เพราะข้อมูลปัจจุบันบอกเราว่า ยุโรปมีคะแนนดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) สูงกว่าสหรัฐอเมริกาใน “ทุกด้าน” ทั้งๆ ที่มี GDP ต่อหัว น้อยกว่า 40% และ อัตราการปล่อยมลพิษต่อหัว น้อยกว่าถึง 60% 

การถกเถียงองค์ความรู้ดั้งเดิมแบบนี้ “หล่อหลอม” ให้คนรุ่นใหม่ มีวิจารณญาณในการคิดวิเคราะห์ / ไม่โอเคกับความผิวเผิน / ตั้งคำถามกับสิ่งเดิมๆ / กล้าวิพากษ์วิจารณ์

เมื่อพวกเค้าโตขึ้นทำงานและเป็นผู้บริโภค ก็จะมีวิธีคิดแบบนี้ติดตัวไปด้วยนั่นเอง

External Forces

นอกจากนี้ยังรวมถึงปัจจัยภายนอก (External force) ที่เป็น “แรงกดดัน” ให้ผู้บริโภคยุคใหม่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบหลายมิติ เช่น ภาวะโลกร้อน / พื้นที่ป่าไม้ที่ถูกทำลาย / carbon footprint

หลายประเทศในสหภาพยุโรป (EU) กำลังดำเนินการให้ระบุปริมาณ Carbon footprint ลงไปในทุกผลิตภัณฑ์ (และอนาคตอาจมีมาตรฐาน “Climate Score”)

Sophisticated Brands: แบรนด์ที่คิดลึกซึ้งตาม

Lego 

ชุดตัวต่อเมืองของเลโก้ยุคใหม่ (LEGO City Town) จะรวมศาสตร์การออกแบบเพื่อทุกคน (Universal design) แฝงอยู่ทุกซอกทุกมุมของเมือง

  • พื้นผิวต่างระดับนำทางผู้พิการทางสายตา (Tactile paving)
  • เลนจักรยานแยกต่างหาก (Isolated bike lane)
  • รถเมล์แบบไร้ขั้นก้าวขึ้นลง (Stepless bus)
  • ตัวต่อเลโก้ที่เป็น คนแก่ / คนท้อง / คนนั่งวีลแชร์

นอกจากสนุกท้าทายแล้ว ยังสอนเด็กๆ ถึง “ความหลากหลาย” ของผู้คนในเมือง

(เลโก้กำลังผลิตตัวต่อที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล 100% วางแผนเปิดตัวในอีก 2 ปีข้างหน้า)

Image Cr. https://bbc.in/3yQhgg9

Japan National Tourism Organization (JNTO)

การไปเที่ยวญี่ปุ่นคืออีกตัวอย่างที่ชนชั้นกลางไทยได้สัมผัสเรื่องนี้ด้วยตัวเอง โดยมี JNTO ทำหน้าที่เป็น Content Provider นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจของประเทศญี่ปุ่นในหลายรูปแบบ

7-8 ปีที่แล้ว หลังญี่ปุ่นพึ่งฟรีวีซ่าให้ คนไทยแห่ไปเที่ยว “เมืองหลัก” อย่างโตเกียว-โอซาก้า-เกียวโต-ซัปโปโร 

Content ที่เสิร์ฟมักเป็นเรื่องพื้นฐาน…การยืนบันไดเลื่อน / มารยาทในที่สาธารณะ / วิธีซื้อตั๋วขึ้นรถไฟ / ทัวร์ญี่ปุ่น

7-8 ปีต่อมา (ก่อนโควิด) คนไทยเริ่มตระเวน “เมืองรอง” มากขึ้นแล้ว

และ Content พื้นฐานก็ไม่น่าดึงดูดอีกต่อไป แต่ต้องนำเสนอ Insight ที่ลึกซึ้งขึ้น เช่น การนอนโฮมสเตย์กับชาวญี่ปุ่นท้องถิ่น / การเช่ารถขับเที่ยวด้วยตัวเอง

ในโลกยุคใหม่ที่ข้อมูลเชิงลึกเข้าถึงคนหมู่มากได้ง่ายขึ้น ผู้คนมีแนวโน้มที่จะกลายเป็น Sophisticated Consumers มากขึ้น 

แบรนด์และผู้นำองค์กรก็จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าตัวเองเพื่อตอบโจทย์พวกเขาได้ตรงจุดมากขึ้นเช่นกัน

.

การเลือกอาชีพ สำหรับ Sophisticated People ก็ไม่ได้เลือกจากเพียงเงินเดือน หรือสวัสดิการอีกต่อไป

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง