📰 บทความทั้งหมด

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

Brand Consistency – เสมอต้นเสมอปลาย ก่อน-หลังเลือกตั้ง Brand Transparency – โชว์ความสุจริตโปร่งใสผ่าน FB LIVE Brand Citizenship – พูดคุยกับคนทุกอาชีพอย่างเป็นกันเอง จากกิจกรรมตลอดการหาเสียงและการทำงานในทุกวันเมื่อเป็นผู้ว่ากทม. มาวันนี้ “อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในมุมการตลาดและในฐานะผู้นำองค์กรที่เราควรเรียนรู้ไว้ อ.ชัชชาติมาเกี่ยวข้องยังไงกับการบริหารองค์กร? แม้การเป็นผู้ว่ากทม.จะแตกต่างจาก CEO บริษัท เพราะประชาชนไม่ใช่พนักงาน เพราะเงินเดือน CEO ไม่ได้มาจากภาษีพนักงาน และเพราะเราไม่ได้วัดคุณค่าของคนจาก Performance ที่ทำได้เสมอไป แต่ผู้ว่ากทม.ภายใต้การนำของ อ.ชัชชาติ กลับสะท้อนภาพภาวะ “ความเป็นผู้นำ” ที่น่าประทับใจ (จนแม้แต่ในแวดวงนักธุรกิจยังให้การชื่นชม) ถ้าอย่างนั้น เราลองมาวิเคราะห์ อ.ชัชชาติ ในมุมการตลาดและแกะรอยภาวะความเป็นผู้นำของเค้าดูกัน บอกเลยว่าน่าสนใจจนใช้เป็น Role Model ได้เลย!  Brand Consistency อ.ชัชชาติยังคง “เสมอต้นเสมอปลาย” ตื่นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เลิกดึกดื่น แถมทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุด 7 วัน/สัปดาห์ และบุคลิกความ […]

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

Brand Citizenship – เมื่อยุคนี้คนคาดหวังให้แบรนด์คือประชาชนคนหนึ่ง

เจ้าของพัดลม Hatari บริจาค 900 ล้าน อ.ชัชชาติ นั่งทานข้าวกับคนกวาดถนน Bar B Q Plaza เปิดบุฟเฟ่ต์ ถ้าคนกทม.ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเกิน 2 ล้านคน ในมุมการตลาด เหตุการณ์เหล่านี้สะท้อนความเป็น “Brand Citizenship” ซึ่งได้ใจผู้บริโภคยุคใหม่ไปเต็มๆ Brand Citizenship – ประชาชนแบรนด์ Brand Citizenship คือแนวคิดที่แบรนด์ปฏิบัติตัวเสมือนเป็น “ประชาชนคนหนึ่งในสังคม” ไม่ได้ดูแตกต่าง ไม่ได้ดูยิ่งใหญ่ ไม่ได้แปลกแยกตัวเองจากเหตุการณ์บ้านเมืองในสังคม โดย Brand Citizenship จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับด้านการตลาด การบริหารชื่อเสียง การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ การมีส่วนร่วมกับผู้คนในสังคม รายงานผลสำรวจจาก Global Strategy Group เผยว่า กว่า 92% ของผู้ถูกสำรวจคิดว่า แบรนด์ยุคนี้ต้องมีบทบาทที่ดีต่อสังคมทางใดทางหนึ่ง เพราะแบรนด์ก็คือประชาชนกลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจ ชื่อเสียง และพลังการเปลี่ยนแปลง แบรนด์ 1 แบรนด์มีหน้าที่มากกว่าขายสินค้าคุณภาพดีเพื่อเอากำไร แต่…ต้องมีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่อยู่ด้วย Brand […]

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

Bully Marketing – ปั้นแบรนด์ให้ดังระเบิดด้วยการ “แซว” ตัวเอง

“ดีต่อใจ บรรลัยต่อฟัน” จาก น้ำพริกแคบหมูยายน้อย “ถึงคุณ…คนธรรมดา” จาก เสื้อยืดตราห่านคู่ “เราไม่อยากให้คุณกลับมาหาเราอีก” จาก เงินติดล้อ “FCK” จาก KFC “Don’t Buy This Jacket” จาก Patagonia การกระทำของแบรนด์เหล่านี้ที่ดูเหมือนสร้างภาพลักษณ์แง่ลบให้ตัวเอง กลับกลายเป็นสร้างกระแสโดด่งดังให้แบรนด์ด้านบวก และไม่ใช่ความผิดพลาดของทีมการตลาด แต่เป็นเบื้องหลังของกลยุทธ์สุดครีเอทีฟที่เรียกว่า “Bully Marketing” Bully Marketing – อยากดังต้อง “แซว” ตัวเอง Bully Marketing เป็นกลยุทธ์การตลาดสุดครีเอทีฟที่แบรนด์ใช้ “ล้อเลียนตัวเอง” สร้างประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ที่เสียดสีให้ร้ายตัวเองในลักษณะ “ตลกขบขัน” โดยเป็นการนำ Pain Point หรือจุดอ่อนบางข้อของแบรนด์ มาพูดบุลลี่ในเชิงสร้างสรรค์ อย่างเช่น ปกติแล้วแบรนด์มักบรรยายสรรพคุณสินค้า / วัตถุดิบชั้นเลิศในการผลิต / ประโยชน์ที่ลูกค้าจำได้รับ / ช่วยแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ยังไง…แต่ Bully Marketing จะทำตรงกันข้ามเชิงขบขัน  สินค้าธรรมดาๆ ไม่มีอะไรโดดเด่นหรอก […]