📰 บทความทั้งหมด

Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย

Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย

ตัวอักษรชื่อแบรนด์ GUCCI / Rolex / Cartier ซีเรียบผสมนมของ Kellogg’s ภาพ Infographic สวยๆ ของเพจต่างๆ ดูเผินๆ ทุกอย่างช่างแตกต่างกันเหลือเกิน ไม่น่ามีอะไรเกี่ยวข้อง…แต่เปล่าเลย สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันคือ “Picture-Superiority Effect” Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย Picture-Superiority Effect คือภาวะที่ว่า “รูปภาพ” จะถูกจดจำขึ้นใจและเข้าใจง่ายกว่าตัวอักษร เพราะรูปภาพมีความ “เรียบง่าย” และเป็นสากลในการสื่อสารโดยธรรมชาติ และมาจากการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านสายตาเป็นลำดับแรก  โดยเราจะเห็นแพทเทิร์นโดยรวมทั้งรูปทรง /  มิติลึกหนา / สีสัน / อารมณ์ที่ถ่ายทอด…ทั้งหมดเกิดขึ้นในระดับเสี้ยววินาที ผลวิจัยเผยว่า มนุษย์จดจำเนื้อหาตัวอักษรสิ่งที่อ่านได้ไม่เกิน 10% หลังผ่านไป 3 วัน แต่ถ้าเพิ่มรูปภาพเข้าไป ประสิทธิภาพการจำจะพุ่งเป็น 65% หลังผ่านไป 3 วัน ผลวิจัยยังเสริมว่า คนเราจะยิ่งจำได้แม่นและจำได้นาน เมื่อใส่ “บริบท” (Context) […]

Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์

Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์

Lacoste ใช้ “จระเข้” เป็นโลโก้แบรนด์ รถสปอร์ต Jaguar มีแรงบันดาลใจจาก “เสือจากัวร์”  Red Bull มี “กระทิง” 2 ตัวหันหน้าชนกัน Ralph Lauren มาพร้อมภาพจำคือคนกำลังขี่ “ม้า” นี่คือแบรนด์ระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์ “Animal Marketing” เป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ไปแล้ว Animal Marketing: เมื่อ “สัตว์” คือตัวแทนของแบรนด์ Animal Marketing คือกลยุทธ์การตลาดที่แบรนด์เลือกใช้ “สัตว์” เข้ามาเป็นอัตลักษณ์ส่วนหนึ่งของแบรนด์อย่างจริงจัง ช่วยในการสื่อสารสร้างภาพจำ หรือโปรโมทค่านิยมบางอย่างเป็นพิเศษ ซึ่งการเลือกใช้ มีได้หลายรูปแบบมากๆ เช่น โลโก้แบรนด์ มาสคอต งานโฆษณา ทำไม Animal Marketing น่าดึงดูดใจ? คำอธิบายในแง่วิวัฒนาการ (Evolution) ให้คำตอบเราได้ถึงแก่นที่สุด เพราะมนุษย์สามารถ “จดจำและแยกแยะ” สัตว์ต่างๆ ได้ดีกว่าที่(คนในยุคปัจจุบัน) คิด  เรากรอกสายตาแล้วรับรู้ได้ทันที (Instant recognition) […]

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

สร้าง “เรื่องราว” แทนที่จะเป็น…ข้อมูลตัวเลข ให้ “ความหมาย” แทนที่จะเป็น…คำอธิบาย เร่งเร้า “อารมณ์” แทนที่จะเป็น…ตรรกะเหตุผล ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนคือคาแรคเตอร์ของกับดักจิตวิทยาอันทรงเสน่ห์ที่เรียกว่า “Narrative Bias” Narrative Bias: ถูกล่อลวงใจง่ายๆ ด้วย “เรื่องเล่า” Narrative Bias คือกับดักจิตวิทยาที่มนุษย์ชอบทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ “เรื่องเล่า-เรื่องราว” พยายามหาความหมาย-ความเชื่อมโยงที่กระตุ้น “อารมณ์”  แต่เวลาสิ่งใดก็ตามถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวอันน่าติดตาม มันมัก “กลบ” ตัวแปรข้อเท็จจริงมากมายระหว่างทาง ซึ่งบ่อยครั้ง เป็นการบิดเบือนความจริง และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ทำไมเรามักติดกับดัก Narrative Bias ได้ง่าย? Yuval Noah Harari เผยว่า ทักษะหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารคือ ความสามารถในการ “ร่วมมือกัน” (Cooperation)  แต่การจะไว้เนื้อเชื่อใจและร่วมมือกันได้นั้น ทุกฝ่ายต้องจับมือเห็นพ้องตรงกันเสียก่อน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลก็คือ การสร้างเรื่องเล่า-เรื่องราว (Narrative Bias เกิดขึ้นมานานแล้ว) ตำนานเรื่องราวต่างๆ (Mythology) เกิดขึ้นก่อนปรัชญาหรือศาสนาด้วยซ้ำ ก่อนที่คนจะเริ่มคิดอะไรแบบวิทยาศาสตร์ (Think […]