- ตัวอักษรชื่อแบรนด์ GUCCI / Rolex / Cartier
- ซีเรียบผสมนมของ Kellogg’s
- ภาพ Infographic สวยๆ ของเพจต่างๆ
ดูเผินๆ ทุกอย่างช่างแตกต่างกันเหลือเกิน ไม่น่ามีอะไรเกี่ยวข้อง…แต่เปล่าเลย สิ่งหนึ่งที่มีเหมือนกันคือ “Picture-Superiority Effect”
Picture-Superiority Effect: เพราะเรียบง่าย จึงจำง่าย
Picture-Superiority Effect คือภาวะที่ว่า “รูปภาพ” จะถูกจดจำขึ้นใจและเข้าใจง่ายกว่าตัวอักษร เพราะรูปภาพมีความ “เรียบง่าย” และเป็นสากลในการสื่อสารโดยธรรมชาติ และมาจากการที่มนุษย์รับข้อมูลผ่านสายตาเป็นลำดับแรก
โดยเราจะเห็นแพทเทิร์นโดยรวมทั้งรูปทรง / มิติลึกหนา / สีสัน / อารมณ์ที่ถ่ายทอด…ทั้งหมดเกิดขึ้นในระดับเสี้ยววินาที
- ผลวิจัยเผยว่า มนุษย์จดจำเนื้อหาตัวอักษรสิ่งที่อ่านได้ไม่เกิน 10% หลังผ่านไป 3 วัน
- แต่ถ้าเพิ่มรูปภาพเข้าไป ประสิทธิภาพการจำจะพุ่งเป็น 65% หลังผ่านไป 3 วัน
ผลวิจัยยังเสริมว่า คนเราจะยิ่งจำได้แม่นและจำได้นาน เมื่อใส่ “บริบท” (Context) สีสันสภาพแวดล้อมลงไปด้วย
เซลฟี่ตัวเองโดยมีฉากหลังเป็นสีขาว (คล้ายถ่ายรูป ID บัตรประจำตัว) VS. เซลฟี่ตัวเองโดยมีฉากหลังเป็นแสงสลัวๆ ในร้านอาหาร..แบบหลังจะน่าจดจำมากกว่า
ตัวอย่างการใช้ Picture-Superiority Effect
Kellogg’s รู้เรื่องนี้มานานแล้ว ปกติอาหารเช้าตระกูล “ซีเรียล” จะกินคู่กับ “นม” จึงไม่แปลกเลยที่เราเห็นแบรนด์นำภาพ “ซีเรียลกินคู่กับนม” บนถ้วยอาหารเช้ามาแปะอยู่บนหน้ากล่องแพกเกจจิ้งขนาดใหญ่ให้เห็นเต็มตา แทบไม่ต้องมีข้อมูลอื่นใดเพราะภาพบรรยาย “อรรถรส” ได้ครบแล้ว
บริษัท Publishing Media ยุคใหม่ที่เน้นการสื่อสารในโลกออนไลน์ มักทำภาพ “Infographic” ที่มีทั้ง ตัวอักษร+รูปภาพ ผสมรวมกันได้อย่างลงตัว ทำให้ผู้อ่านได้ทั้งข้อมูลใจความสำคัญ เข้าใจง่าย จำง่าย…และแชร์ง่าย (Easily Sharable)
แต่ Picture-Superiority Effect ไม่ได้จำกัดแค่การสร้างรูปภาพเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการออกแบบ “อักษรชื่อแบรนด์” ด้วย!!
ฟ้อนต์ที่ชื่อว่า “Serif” ซึ่งให้ลวดลายที่ดูมืออาชีพ น่าเชื่อถือ ไม่หวือหวาแต่แลดูภูมิฐาน ออกแนว “เรียบหรู” นั่นเอง ซึ่งแบรนด์ระดับโลกก็ถึงขนาดเลือกใช้มาเขียนขื่อแบรนด์เลยทีเดียว เช่น GUCCI / Rolex / Tiffany / Dior / Cartier / GAP
เช่น “GUCCI” สมองจะเห็นภาพทั้ง 5 ตัวอักษรนี้ “รวมเป็นคำเดียว” ไม่ใช่ G-U-C-C-I
เราจะเห็นแล้วว่า แบรนด์ไม่ได้ออกแบบรูปภาพเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่แฝงไปด้วย Picture-Superiority Effect ที่สร้างจุดเด่นและการจดจำได้อย่างดีเยี่ยม
ที่สำคัญคือ ไม่ว่าจะแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ ก็ล้วนประยุกต์ใช้ได้ทั้งนั้น ขอเพียงออกแบบให้ตรงกับจุดประสงค์ที่วางไว้ และอาศัยกึ๋นในการขัดเกลาให้สวยงาม…
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง
- https://www.wordtracker.com/academy/social/visual/how-to-use-the-picture-superiority-effect-to-your-advantage
- https://en.m.wikipedia.org/wiki/Picture_superiority_effect
- https://videomaker.simpleshow.com/picture-superiority-effect/
- https://www.huffpost.com/entry/the-key-to-infographic-ma_b_6510744
- https://www.ebaqdesign.com/blog/elegant-logo-fonts