📰 บทความทั้งหมด

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด  โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

ประเทศ TikTok ที่ฉีกทุกกฎเกณฑ์ตำราการตลาด โอกาสธุรกิจที่คุณอาจมองข้ามไป

TikTok แซงหน้า IG ขึ้นเป็นอันดับ 4 แอปคนใช้งานมากที่สุด 35.8 ล้านคน คือจำนวนผู้ใช้งาน TikTok ในเมืองไทย ไม่กี่ปีมานี้ ปฏิเสธไม่ได้แล้วว่าการเติบโตของ “TikTok” เป็นอีกช่องทางใหม่ที่สร้างโอกาสทางธุรกิจในแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อมันเป็นโซเชียลมีเดียที่ขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีคาแรคเตอร์ของแพลตฟอร์มที่โดดเด่นแตกต่าง และมีแนวทางการสร้างคอนเทนต์ที่ดูเหมือนจะตบหน้าทุกตำราการตลาดที่ผ่านมา จนเราอาจเปรียบเปรยขำๆ ได้ว่ามันคือ “ประเทศ TikTok” ที่มีเอกราช มีกฎหมายเป็นของตัวเองเลยก็ยังได้ ทำไมการตลาดเดิมๆ ใช้กับ TikTok ไม่ได้อีกต่อไป? คาแรคเตอร์ที่โดดเด่นที่สุดของ TikTok คือ เป็นแพลตฟอร์มวิดีโอสั้นๆ ที่ไม่ชอบความซีเรียส ทุกคอนเทนต์ต้องสนุก-ผ่อนคลาย-หัวเราะได้ยิ้มได้  แบรนด์จึงต้องสื่อสารแบบ Authentic สั้น กระชับ เน้นความเป็นมนุษย์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงงานโปรดักชั่นต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องสวยหรูเพอเฟกต์ ขอแค่มันสื่อสารตรงประเด็นได้เป็นพอ ประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลยคือ แพลตฟอร์มนี้ขับเคลื่อนด้วยพลังของ “คนรุ่นใหม่” เป็นส่วนใหญ่ นักการตลาดที่อาจมีอายุเยอะแล้ว ต้องฟังลูกค้ากลุ่มนี้ให้มากๆ อย่าปักใจคิดหรือเชื่อในสิ่งเดิมๆ ที่เคยเรียนรู้มา ระวัง generation gap ให้ดี สิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้องดีงาม […]

Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?

Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?

ห้อง VVIP Lounge แยกต่างหาก จำกัดคนเข้าและให้ยืนรอหน้าร้าน ตกแต่งภายในให้หรูหราจนต้องมนตร์สะกด เหล่านี้ล้วนคือเทคนิคของการทำ “Luxury Retailing” Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู? นี่คือเทคนิคที่บรรดา “ชอปแบรนด์หรู” ใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาเยือนถึง “หน้าร้าน” จึงไม่แปลกที่ว่า ทำไมท่ามกลางการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ E-commerce ช็อปปิ้งออนไลน์ แต่เรายังเห็นผู้คนมายืนรอคิวเข้าชอปแบรนด์หรูอยู่ด้วยความเต็มใจ Luxury Retailing ล้วนมีเทคนิคเบื้องหลังที่แนบเนียน เช่น การจำกัดคนเข้า และ ให้ลูกค้าต่อคิวหน้าร้าน ปกติเวลาเราเข้าร้านเสื้อผ้าทั่วไป จะไม่มีพนักงานมาคอยเดินตามให้คำแนะนำ ลูกค้าต้องเป็นฝ่ายเข้าหาเอง แต่ร้านหรู จะมีพนักงานที่เรียกว่า “Fashion Advisor” (FA) ที่จะคอยเทคแคร์ลูกค้าทุกอย่าง  ซึ่ง Fashion Advisor จะมีความเป็น Specialist & Stylist เข้าใจผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ให้คำแนะนำเชิงลึกได้ ทั้งดีไซน์เสื้อผ้าที่เหมาะกับบุคลิกลูกค้า / วัตถุดิบแหล่งที่มาของเนื้อผ้า / เทรนด์ที่กำลังฮิต / ราคาขายต่อด้านการลงทุน / จนไปถึงบริการเสิร์ฟน้ำ-เสิร์ฟขนม […]

Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก

Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก

ไม่ต้องรีบก็ได้ค่ะ…แค่มีลูกค้าอีก 5 ท่านต่อคิวมาดูห้องคอนโดนี้อยู่ ของมีจำกัด หมดแล้วหมดเลย!! ชอปแบรนด์เนมที่ดิสเพลย์สินค้าแค่ไม่กี่ชิ้น เหล่านี้คือเทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Scarcity Error” Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอกง่าย Scarcity Error คือภาวะหลงกลทางจิตวิทยาที่คนเรามักให้คุณค่า(มากเกินไป) กับอะไรก็ตามที่ขาดแคลนมีปริมาณน้อย (Scarcity) มองข้ามราคาและคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพียงเพราะมันเหลือน้อย ศาสตราจารย์ Stephen Worchel จาก University of Hawaii ทำการทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และแจกคุกกี้ชนิดเดียวกัน กลุ่มแรก – ได้รับคุกกี้เต็มโถ กลุ่มที่สอง – ได้รับคุกกี้เพียง 2 ชิ้นจากทั้งโถ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง “ประเมินคุณภาพโดยสายตา” (Visual quality assessment) ก่อนจะพบว่า กลุ่มที่สองให้ “คะแนนสูงกว่า” กลุ่มแรกมาก!!  ซึ่งมันย้อนแย้งกับความเป็นจริง คุกกี้ทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันเป๊ะ และกลุ่มแรกได้คุกกี้เต็มโถซึ่งมีความ “อุดมสมบูรณ์” น่าจะให้คุณค่า-คุณภาพมากกว่า…แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม การทดลองลักษณะนี้ยังถูก […]

Luxury Management: บริหารแบรนด์หรู ให้ผู้คนปรารถนา~

Luxury Management: บริหารแบรนด์หรู ให้ผู้คนปรารถนา~

มีเงินอย่างเดียวซื้อไม่ได้ ต้องมี Privilege บางอย่างด้วย ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในลิสท์ VVIP คุณหมดสิทธิ์ซื้อ ซื้อน้ำหอมตัวนี้เพราะ Made in Paris นี่คือตัวอย่างของ Luxury Management การบริหารแบรนด์หรูหราให้ผู้คนถวิลหา… หลายกลยุทธ์นั้น มีรากเหง้าใช้มาเป็นเวลาร่วม 100 ปีแล้ว แต่ก็ยังดึงดูดความโหยหาจากผู้คนได้อยู่หมัด…พวกเค้ามีวิธีบริหารกันอย่างไร? แก่นความเป็นสินค้าหรู  ก่อนจะลงลึกกลยุทธ์ เราไปทำความเข้าใจ “ความหรูหรา” กันเล็กน้อย แก่นของความหรูหราคือ ความเป็น “Exclusivity” เป็นสิ่งที่ “คนส่วนน้อย” เท่านั้นที่สามารถซื้อหาครอบครองได้ และเป็นเหตุผลหลักที่แบรนด์สามารถ “ตั้งราคาสูง” นำมาสู่ความ Expensive ราคาที่สูงกว่าสินค้าตลาดทั่วไป เมื่อสินค้าอะไรที่เริ่ม Mass สินค้านั้นจะสูญสิ้นความ Exclusivity ทันที และแบรนด์ไม่สามารถตั้งราคาสูงได้อีกต่อไป เพราะผู้บริโภคจะไม่เต็มใจจ่าย ซึ่งเมื่อเรามองไปรอบตัวยังแบรนด์หรูหรา แม้จะเป็นสินค้าที่แตกต่างกัน อุตสาหกรรมต่างกัน ลูกค้าต่างกัน…แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันหมดคือความ Exclusivity นั่นเอง แบรนด์หรูที่ละเลยเรื่องนี้ ย่อมได้รับบทเรียนชั้นดี หนึ่งในนั้นคือ Burberry ในยุค 1970s […]