Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?

Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?
  • ห้อง VVIP Lounge แยกต่างหาก
  • จำกัดคนเข้าและให้ยืนรอหน้าร้าน
  • ตกแต่งภายในให้หรูหราจนต้องมนตร์สะกด

เหล่านี้ล้วนคือเทคนิคของการทำ “Luxury Retailing”

Luxury Retailing: ทำไมคนถึงยังเลือกไปต่อคิวเข้าร้านหรู?

นี่คือเทคนิคที่บรรดา “ชอปแบรนด์หรู” ใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าให้มาเยือนถึง “หน้าร้าน” จึงไม่แปลกที่ว่า ทำไมท่ามกลางการเติบโตแบบก้าวกระโดดของ E-commerce ช็อปปิ้งออนไลน์ แต่เรายังเห็นผู้คนมายืนรอคิวเข้าชอปแบรนด์หรูอยู่ด้วยความเต็มใจ

Luxury Retailing ล้วนมีเทคนิคเบื้องหลังที่แนบเนียน เช่น

การจำกัดคนเข้า และ ให้ลูกค้าต่อคิวหน้าร้าน

ปกติเวลาเราเข้าร้านเสื้อผ้าทั่วไป จะไม่มีพนักงานมาคอยเดินตามให้คำแนะนำ ลูกค้าต้องเป็นฝ่ายเข้าหาเอง

แต่ร้านหรู จะมีพนักงานที่เรียกว่า “Fashion Advisor” (FA) ที่จะคอยเทคแคร์ลูกค้าทุกอย่าง 

ซึ่ง Fashion Advisor จะมีความเป็น Specialist & Stylist เข้าใจผลิตภัณฑ์และกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ ให้คำแนะนำเชิงลึกได้ ทั้งดีไซน์เสื้อผ้าที่เหมาะกับบุคลิกลูกค้า / วัตถุดิบแหล่งที่มาของเนื้อผ้า / เทรนด์ที่กำลังฮิต / ราคาขายต่อด้านการลงทุน / จนไปถึงบริการเสิร์ฟน้ำ-เสิร์ฟขนม

A group of people in a room

Description automatically generated with medium confidence

Image Cr. bit.ly/3GVUdnY

Fashion Advisor จะรักษามาตรฐานการบริการ ให้ลูกค้าได้สิ่งที่ต้องการมากที่สุด (ในแบบที่ “ออนไลน์ให้ไม่ได้”) เมื่อพึงพอใจสูงสุด ก็มีความประทับใจและอยากกลับมาอีกในที่สุด เกิดเป็นวงจรด้านบวกที่ Win-Win กับทุกฝ่าย

แต่ Fashion Advisor จะทำแบบนั้นได้ก็ต่อเมื่อ “มีลูกค้าไม่เยอะเกิน” ถ้าเยอะเกิน คุณภาพบริการย่อมแย่ลงเป็นธรรมดา การ “จำกัดคนเข้าร้าน” จึงเป็นวิธีที่ถูกนำมาใช้นั่นเอง

A group of people standing in front of a building

Description automatically generated with medium confidence

นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับ ลูกค้าในร้านที่อยากเดินดูสบายๆ ไม่เบียดแออัด รวมถึงมาตรการโควิด-19 ที่จำกัดปริมาณคนเข้าร้านเช่นกัน

และลูกค้าที่ยืนรอคิวหน้าร้าน กลับไม่ได้ถูกทำลาย “ประสบการณ์ช็อปปิ้ง” เหมือนที่บางคนคิด เพราะเป็นการ เปิดเผยสถานะ (Status exposure) แก่ผู้คนที่เดินผ่านไปมาว่า ตนเป็นคนมีกำลังซื้อสูง

  • เช่น ลูกค้ายืนต่อคิวหน้าชอป Hermès ในห้างหรู ซึ่งมักตั้งอยู่ Prime Area ที่ผู้คนเดินผ่านหนาแน่น เป็นการโชว์สถานะตัวเองไปในตัว

ห้อง VVIP Lounge 

ในชอปแบรนด์หรูบางสาขาที่เป็นสาขา Flagship Store หรือ สาขาที่ทำกำไรสูงสุด มักมีการสร้าง “ห้อง VVIP Lounge” แยกต่างหาก 

ลูกค้าที่จะเข้าได้ มักต้องอยู่ในลิสท์บุคคลสำคัญหรือเป็นสมาชิกที่มี “ยอดซื้อขั้นต่ำต่อปี” ถึงเกณฑ์ที่กำหนด

ห้องพิเศษนี้จะมีความเป็นส่วนตัวสูงสุด (Privacy) เหมือนอยู่ในห้องโรงแรม ได้รับบริการที่เหนือระดับจากมาตรฐานที่มี(ซึ่งสูงมากๆ อยู่แล้ว)

A picture containing indoor, floor, living, room

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3sod0UV

นอกจากนี้ การช็อปปิ้งยังมีความเป็น “Passive” กล่าวคือ พนักงานที่เป็น Specialist ของแบรนด์จะเป็นฝ่ายนำเสนอรายการสินค้ามาให้ถึงที่เลย 

ตัวอย่างชอปเหล่านี้ เช่น 

  • Louis Vuitton สาขา Beverly Hills สร้างห้อง “VICs Room” (Very Important Clients) พร้อมเสิร์ฟแชมเปญให้ดื่มระหว่างช็อปปิ้ง
  • Burberry สาขา Rodeo Drive สร้างห้อง “VIP Suite” ที่มีระเบียงทางเดินภายนอกอันหรูหรา มองเห็นวิวพาโนราม่าของเมือง (ถ้าเซลฟี่มุมนี้ คือรู้เลยว่ามาจากห้องพิเศษ)
A picture containing sky, building, outdoor

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3sod0UV

การตกแต่งภายใน

การออกแบบภายในที่ “ไม่ใช่แค่หรูหรา” อย่างเดียว แต่ต้องสะท้อน “เรื่องราวและตัวตน” ของแบรนด์ 

เพราะความหรูแบบทั่วไปสามารถหาได้จากที่อื่น แต่ถ้ามันแตกต่างจะเป็นเอกลักษณ์ที่หาการเปรียบเทียบยาก ลูกค้าจะอยากมาสัมผัสด้วยตัวเอง

อย่างเช่น Ralph Lauren ที่ชัดเจนในการตกแต่งภายในร้านแทบทุกสาขาทั่วโลกในธีม “Ivy League” หรูแบบเคร่งขรึม แลดูคลาสสิก สุภาพภูมิฐาน มีส่วนประกอบของไม้แทรกอยู่ทุกจุดของร้าน ซึ่งการตกแต่งแบบนี้หาไม่ได้ในร้านหรูทั่วไป

A picture containing floor, indoor, room, furniture

Description automatically generated

Image Cr. bit.ly/3mmkXWZ

หรือเทคนิคการตกแต่งที่ “เชื้อเชิญ” อย่างแนบเนียน เช่น ชอป Chanel สาขา EmQuartier มีการรีโนเวตบริเวณ Facade ด้านนอก (ติดกับ BTS skywalk) ทำเป็นตู้กระจก Display สินค้าไปในตัว (แต่ก่อนเป็นกำแพงทึบ) 

Luxury Retailing ไม่ได้อาศัยแค่พลังของแบรนด์เพียงอย่างเดียว แต่ล้วนสอดแทรกเทคนิคเหล่านี้อยู่ในทุกที่ทั่วโลก

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง