📰 บทความทั้งหมด

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

วิเคราะห์ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ในมุมการตลาด บทเรียนที่ผู้นำองค์กรควรเรียนรู้ไว้

Brand Consistency – เสมอต้นเสมอปลาย ก่อน-หลังเลือกตั้ง Brand Transparency – โชว์ความสุจริตโปร่งใสผ่าน FB LIVE Brand Citizenship – พูดคุยกับคนทุกอาชีพอย่างเป็นกันเอง จากกิจกรรมตลอดการหาเสียงและการทำงานในทุกวันเมื่อเป็นผู้ว่ากทม. มาวันนี้ “อ.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ได้กลายมาเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในมุมการตลาดและในฐานะผู้นำองค์กรที่เราควรเรียนรู้ไว้ อ.ชัชชาติมาเกี่ยวข้องยังไงกับการบริหารองค์กร? แม้การเป็นผู้ว่ากทม.จะแตกต่างจาก CEO บริษัท เพราะประชาชนไม่ใช่พนักงาน เพราะเงินเดือน CEO ไม่ได้มาจากภาษีพนักงาน และเพราะเราไม่ได้วัดคุณค่าของคนจาก Performance ที่ทำได้เสมอไป แต่ผู้ว่ากทม.ภายใต้การนำของ อ.ชัชชาติ กลับสะท้อนภาพภาวะ “ความเป็นผู้นำ” ที่น่าประทับใจ (จนแม้แต่ในแวดวงนักธุรกิจยังให้การชื่นชม) ถ้าอย่างนั้น เราลองมาวิเคราะห์ อ.ชัชชาติ ในมุมการตลาดและแกะรอยภาวะความเป็นผู้นำของเค้าดูกัน บอกเลยว่าน่าสนใจจนใช้เป็น Role Model ได้เลย!  Brand Consistency อ.ชัชชาติยังคง “เสมอต้นเสมอปลาย” ตื่นมาทำงานแต่เช้าตรู่ เลิกดึกดื่น แถมทำงานโดยที่ไม่มีวันหยุด 7 วัน/สัปดาห์ และบุคลิกความ […]

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

Narrative Bias: ถูกล่อลวงด้วย “เรื่องเล่า”

สร้าง “เรื่องราว” แทนที่จะเป็น…ข้อมูลตัวเลข ให้ “ความหมาย” แทนที่จะเป็น…คำอธิบาย เร่งเร้า “อารมณ์” แทนที่จะเป็น…ตรรกะเหตุผล ทั้งหมดที่กล่าวมาล้วนคือคาแรคเตอร์ของกับดักจิตวิทยาอันทรงเสน่ห์ที่เรียกว่า “Narrative Bias” Narrative Bias: ถูกล่อลวงใจง่ายๆ ด้วย “เรื่องเล่า” Narrative Bias คือกับดักจิตวิทยาที่มนุษย์ชอบทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในรูปแบบ “เรื่องเล่า-เรื่องราว” พยายามหาความหมาย-ความเชื่อมโยงที่กระตุ้น “อารมณ์”  แต่เวลาสิ่งใดก็ตามถูกถ่ายทอดออกมาเป็นเรื่องราวอันน่าติดตาม มันมัก “กลบ” ตัวแปรข้อเท็จจริงมากมายระหว่างทาง ซึ่งบ่อยครั้ง เป็นการบิดเบือนความจริง และนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด ทำไมเรามักติดกับดัก Narrative Bias ได้ง่าย? Yuval Noah Harari เผยว่า ทักษะหนึ่งที่ทำให้มนุษย์ขึ้นสู่จุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารคือ ความสามารถในการ “ร่วมมือกัน” (Cooperation)  แต่การจะไว้เนื้อเชื่อใจและร่วมมือกันได้นั้น ทุกฝ่ายต้องจับมือเห็นพ้องตรงกันเสียก่อน และวิธีที่มีประสิทธิภาพมาโดยตลอดตั้งแต่โบราณกาลก็คือ การสร้างเรื่องเล่า-เรื่องราว (Narrative Bias เกิดขึ้นมานานแล้ว) ตำนานเรื่องราวต่างๆ (Mythology) เกิดขึ้นก่อนปรัชญาหรือศาสนาด้วยซ้ำ ก่อนที่คนจะเริ่มคิดอะไรแบบวิทยาศาสตร์ (Think […]

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง

Tactical Argument: เถียงอย่างมีชั้นเชิง ในการทำงาน ไม่มีใครเห็นด้วยกับเราไปซะทุกเรื่องหรอก ไม่ช้าก็เร็ว ความเห็นขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการ “โต้เถียง” (Argument) ย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสัจจะธรรมในการทำงาน ไม่ว่าจะกับเพื่อนร่วมงาน-หัวหน้า-ลูกน้อง-ลูกค้า ถ้าคุณมั่นใจว่ามีเหตุผลมากพอ ประเด็นจึงเป็นการโต้เถียงอย่างมี “ชั้นเชิง” ที่ไม่ก่อให้เกิดความบาดหมาง แต่ก่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน (Mutual understanding) และร่วมทำงานกันต่ออย่างสันติ แล้วเราพอมีวิธีโต้เถียงอย่างมีชั้นเชิงอย่างไรบ้าง? 1. เถียงกันที่ “ไอเดีย” การเถียงที่ใช้อารมณ์ เป็นเรื่องง่ายมากที่จะมีจุดจบกลายเป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างบุคคล (Personal issue)  เรื่องนี้อาศัย “วาทศิลป์” ชั้นเชิงในการพูดเช่นกัน เทคนิคคือ อย่าโจมตีที่ตัวบุคคล แต่ให้โจมตีที่ “ไอเดีย” ความคิดนั้นๆ หลีกเลี่ยงการเรียก “สรรพนาม” ที่สื่อถึงอีกฝ่าย “จากข้อมูลยืนยัน ผมคิดว่าไอเดียนี้ยังไม่ค่อยเวิร์ค” “งานภาพรวมจะออกมาดี ถ้าทุกฝ่ายส่งงานตรงเวลา” “แผนนี้ที่พวกเราคุยกัน อาจต้องหาข้อมูลซัพพอร์ตมากกว่านี้” เมื่อใครก็ตามที่เผลอข้ามเขตแดนจากไอเดียไปสู่ตัวบุคคล เรื่องมักไม่จบง่ายๆ แน่นอน เพราะไม่รู้แหล่ะว่าตัวเองผิดหรือถูก แต่มนุษย์มีกลไกตอบโต้อัตโนมัติอยู่ในตัว (Automatic defense mechanism) ซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวและอาจยับยั้งใจไม่ได้ (หรือไม่ทัน) […]

Fiji Water ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์น้ำแร่หรูหรามีรสนิยม

Fiji Water ปั้นองค์กรอย่างไร? สู่แบรนด์น้ำแร่หรูหรามีรสนิยม

Fiji Water คือแบรนด์น้ำแร่หรูแถวหน้าของโลก เป็นที่นิยมในหมู่ดาราไฮโซคนมีชื่อเสียง วางขายใน 90 กว่าประเทศทั่วโลก จากจุดเริ่มต้นในเวลาไม่กี่ทศวรรษ Fiji Water ได้ขึ้นสู่แถวหน้าของแบรนด์น้ำแร่หรู เป็นภาพลักษณ์ที่ใครหลายคนอยากดื่ม…หรือแค่ถือเท่ๆ ไว้ข้างกาย Fiji Water มีวิธีปั้นองค์กรอย่างไรกันแน่? จุดเริ่มต้นจากประเทศฟิจิ Fiji Water ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1996 โดยนักธุรกิจชาวแคนาดาคุณ David Gilmour เป็นแบรนด์น้ำแร่หรูที่มีแหล่งกำเนิดมาจากใต้บาดาล (Artesian aquifer) แหล่งน้ำในหมู่เกาะวิติเลวู (Viti Levu) ประเทศฟิจิ ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของแร่ธาตุจากธรรมชาติ วัตถุดิบชั้นดีนี้จะถูก “ถ่ายทอด” ออกไปสื่อเพื่อครองใจผู้คนด้วยวิธีการต่างๆ จนวางขายอยู่กว่า 90 ประเทศทั่วโลก และเป็นตัวเลือกน้ำแร่หรูอันดับต้นๆ แทบทุกสถานที่ Storytelling ฟิจิเป็นประเทศที่มีเกาะเล็กเกาะน้อยกว่า 300 เกาะ สภาพแวดล้อมยังมีความอุดมสมบูรณ์ ยังไม่ถูกแตะต้องจากอารยธรรมมนุษย์มากนัก และอยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ประเทศออสเตรเลียที่อยู่ใกล้ยังห่างออกไปเกือบ 3,000 กม. ด้วยแหล่งที่มาเริ่มต้นเช่นนี้ (Country of origin) […]

บทเรียน Storytelling จาก 2020 Tokyo Olympic

บทเรียน Storytelling จาก 2020 Tokyo Olympic

23 กรกฎาคม 2021 ทั่วโลกได้สัมผัสพิธีเปิดงานกีฬาอันยิ่งใหญ่ 2020 Tokyo Olympic นี่อาจเป็นการจัดโอลิมปิกท่ามกลางสถานการณ์ที่วิกฤติที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ก็ว่าได้ แต่ท่ามกลางโรคภัยระบาดและความโศกเศร้า ญี่ปุ่นได้มอบ “ความหวัง” ผ่านการจัดโอลิมปิก  Image Cr. bit.ly/3x6xNLB และเมื่อเราสังเกตให้ลึก จะพบว่าการจัดพิธีเปิดและความละเมียดละไมต่างๆ ตลอดทั้งเกม แฝงไปด้วย ”Storytelling” เรื่องราวอันงดงามที่บีบคั้นน้ำตาใครหลายคน คบเพลิงแห่งความหวัง ทุกพิธีเปิดโอลิมปิก สปอร์ตไลท์ทั่วโลกจะฉายไปยัง “ผู้ถือคบเพลิง” ซึ่งปีนี้ก็คือคุณ Naomi Osaka ลูกครึ่งญี่ปุ่น-เฮติ เธอคือตัวอย่างของคนที่ถูกเหยียดในสังคมเนื่องจากความแตกต่างทางเชื้อชาติและสีผิว แต่เธอเลือกที่จะพิสูจน์ความสำเร็จให้ทุกคนเห็น และได้จุดประกายความเท่าเทียมทางเชื้อชาติในญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ Image Cr. bit.ly/3BJiprZ และคบเพลิงไม่ได้เริ่มวิ่งจากโตเกียว…แต่เริ่มวิ่งจากเมือง “ฟุคุชิมะ” ภูมิภาคโทโฮคุ ที่ที่เกิดแผ่นดินไหว / คลื่นสึนามิ / วิกฤตินิวเคลียร์ เมื่อปี 2011 และคนที่ “ส่งคบเพลิง” ให้ Naomi Osaka ก็คือ “เยาวชนผู้รอดชีวิต” ในพื้นที่ประสบภัยที่บัดนี้เติบโตขึ้นแล้ว พวกเค้าต้องใช้เวลาวิ่งถึง “120 […]