- ทำไมบางคนเก่งแค่ตัวเลข แต่ไม่เคยบริหารคนเป็นเลย?
- ทำไมบางคนเป็นสิงห์สนามซ้อม แต่ หนูสนามจริง?
- ทำไมผู้นำมองไม่เห็นคู่แข่งม้ามืดจนถูก Disrupt?
นี่คือ “Domain Dependence” กรงขังทางความคิดที่น้อยคนจะรู้จัก
Domain Dependence: สาเหตุที่ผู้นำมักเก่งแค่ไม่กี่เรื่อง
Domain Dependence คือสภาพความจริงที่ว่า มันเป็นเรื่องยากมากๆ ที่คุณจะ “ถ่ายทอด” (Transfer) เรื่องที่คุณเก่งรู้ดีอยู่แล้วไปยังเรื่องอื่นหรือให้ผู้อื่น
คนเรามักเก่งจริงอยู่แค่ไม่กี่เรื่อง ผลงานที่ประสบความสำเร็จมักจะมีให้จดจำแค่ไม่กี่เรื่อง เพราะอันที่จริงแล้ว ความรู้เป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้ได้ง่ายๆ
นี่คือแนวคิดที่ผู้นำควรยอมรับเพื่อให้รู้ “จุดยืน” ของตัวเอง
ปี 1990 Harry Markowitz ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์จากทฤษฎีอันชาญฉลาดที่เขาคิดค้น “Portfolio Selection” ที่คำนวณผลตอบแทน-ความเสี่ยง ในการเลือกพอร์ตการลงทุน
แต่เมื่อถูกสื่อมวลชนถามว่า แล้วตัวเขาเองล่ะ…เลือกจัดสรรการลงทุนแบบไหน?
คำตอบที่ได้ช่างเรียบง่ายมาก นั่นคือ “50-50”
- 50% ลงทุนใน หุ้น (Shares)
- 50% ลงทุนใน ตราสารหนี้ (Bonds)
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ / คุ้นเคยกับวิธีคิดแบบนี้ / ผู้คนยึดถือคุณค่ากันแบบนี้ มนุษย์จะ “ปรับตัว” ไปกับมัน
พอนานวันเข้าได้หลอมรวมตัวเองเป็นส่วนหนึ่ง จนต้องพึ่งพาโดเมนนั้นไปแล้ว (ความหมายทำนองเดียวกับ “เซิร์ฟเวอร์โดเมน”) และอาจไม่เต็มใจรับหรือกลัวเผชิญสิ่งใหม่ๆ รอบโดเมนของตัวเอง ซึ่งนำไปสู่การพลาดโอกาสสำคัญ หรือ ประเมินคู่แข่งในอนาคตต่ำไป
ปี 2008 สมัยที่ Airbnb พึ่งเปิดตัวใหม่ๆ ยักษ์ใหญ่ในวงการอย่าง Marriott ถึงกับสบประมาทว่า…จะมีซักกี่คนที่กล้าปล่อยให้คนแปลกหน้ามานอนในบ้านตัวเอง? แต่มาวันนี้ Airbnb มีมูลค่าบริษัทมากกว่าเชนโรงแรม Top5 ของโลกรวมกันเสียอีก
นอกจากนี้ยังมีคำอธิบายทางด้านประสาทวิทยา สมองคนเราเจริญเติบโตและพัฒนาแตกต่างกันตั้งแต่ยังเด็ก นำไปสู่ความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน
- ทำไมบางคนในห้วแทบไม่เข้าใจ “ตัวเลขการเงิน” เลย ศึกษาเรียนรู้ให้ตายยังไงก็ไม่เก่งอยู่ดี
- ทำไมบางคนในห้วแทบไม่เข้าใจ “การบริหารคน” เลย ศึกษาเรียนรู้ให้ตายยังไงก็ไม่เก่งอยู่ดี
- ทำไมบางคนในห้วแทบไม่เข้าใจเรื่อง “ศิลปะแฟชั่น” เลย ศึกษาเรียนรู้ให้ตายยังไงก็ไม่เก่งอยู่ดี
เพราะพวกเค้าเหล่านั้นถูกกำกับด้วยพันธุกรรมในตัว ด้วยยีนส์บางอย่างในสมอง ที่จำกัดความเชี่ยวชาญให้อยู่แค่เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือในแง่ร่างกาย มีเปลือกสมองที่ทำหน้าที่สั่งการเคลื่อนไหวของเราอยู่ (Motor cortex) เปลือกสมองส่วนนี้คอยกำกับ (และจำกัด) ขีดความสามารถในการเคลื่อนไหวของเรา
- นักเปียโนมืออาชีพ สามารถหลับตาเล่นเปียโนได้อย่างไพเราะและรวดเร็ว (ได้ตั้งแต่เด็กๆ แล้ว) แต่ไม่เอาไหนเลยเมื่อหัดเล่นฟุตบอล
- นักฟุตบอลมืออาชีพ สามารถหลับตาเลี้ยงบอลไปมาได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว (ได้ตั้งแต่เด็กๆ แล้ว) แต่ไม่เอาไหนเมื่อหัดเล่นเปียโน
Domain Dependence ในหลากหลายวงการ
แม้ประสบความสำเร็จในโลกธุรกิจ เป็นอัจฉริยะในวงการของตน แต่ชีวิตสมรส “สัมพันธ์ส่วนตัว” ไม่ค่อยราบรื่นนัก อย่างเช่นกรณีของ Jeff Bezos และ Bill Gates
นักเขียนผู้คว่ำหวอด สามารถใช้จินตนาการเปลี่ยนกระดาษอันว่างเปล่าผ่านตัวอักษร ให้กลายเป็นเรื่องราวน่าสนใจได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง…แต่อาจยืนเหม่อลอยตลอดทั้งวันในห้องคอนโดอันว่างเปล่าที่พึ่งซื้อมา เพราะไม่รู้จะ “ตกแต่ง” อย่างไรดี เนื่องจากไร้ซึ่งจินตนาการทางด้าน Interior Design
นักบันจี้จัมพ์ที่สามารถกระโดดลงมาจากภูเขาสูงชวนหวาดเสียวได้อย่างไม่รู้สึกกลัวใดๆ ทั้งสิ้น…แต่อาจ “กลัว” และเครียดจนเหงื่อแตกเมื่อต้องลงทุนทางการเงินซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เชี่ยวชาญ
Introvert สามารถยืนบรรยายกลางห้องประชุมได้อย่างราบรื่นเมื่อมีผู้ร่วมฟังไม่เกิน 10 คน…แต่อาจยืนตัวแข็งทื่อ ตื่นเต้น “ประหม่า” เมื่ออยู่กลางเวทีหอประชุมที่มีผู้ฟัง 100 คน
เราจะทำอย่างไรกับ Domain Dependence ได้บ้าง?
ในฐานะผู้นำองค์กร ต้องรู้จัก “ใช้คนให้เป็น” (Put the right man on the right job)
- Talent บางคนเก่งด้าน…ลงมือปฏิบัติจริง
- Talent บางคนเก่งด้าน…ความสัมพันธ์
- Talent บางคนเก่งด้าน…บริหาร
Dave Trott นักโฆษณาแถวหน้าของวงการเผยว่า ต้องแยกให้ออกระหว่าง
- Strategist: คนที่เก่งด้านบริหาร มองภาพใหญ่ มีวิสัยทัศน์
- Tactician: คนที่เก่งด้านปฏิบัติ มองรายละเอียด มีความรู้ลึก
อย่าเอา Strategist ไปทำงานของ Tactician ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เอา Tactician ไปทำงานของ Strategist
เมื่อพูดถึง “จุดแข็ง-จุดอ่อน” ของตัวเอง เราควรแค่ปรับปรุงไม่ให้จุดอ่อนสร้างความเสียหายมากไปกว่าเดิม แล้วไปโฟกัสทุ่มเทจุดแข็ง จะทำให้เราไปได้ไกลกว่า เพราะจุดอ่อนบางเรื่องอาจถูกจำกัดด้วยพันธุกรรมในตัว ฝึกให้ตายแค่ไหนก็ไปได้ไม่ไกล
และเพื่อไม่ให้จมปลักกับมุมมองเดิมๆ (อยู่ในโดเมน) เราควรทำงานกับกลุ่มคนที่มีแบคกราวน์หลากหลาย ยิ่ง Diversity มากเท่าไร ยิ่งมองเห็นปัญหา (และโอกาส) มากเท่านั้น ป้องกันไม่ให้ติด “กรอบ” ความคิดของตัวเองจนเกินไป
.
ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/
ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com
ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/
อ้างอิง