False Memory: อย่ามั่นใจความทรงจำของตัวเองมากเกินไป

False Memory: อย่ามั่นใจความทรงจำของตัวเองมากเกินไป
  • จำได้ว่า…เหตุการณ์ 911 เกิดขึ้นช่วงบ่าย (ความจริงคือ ช่วงสาย)
  • จำได้ว่า…วิกฤติซับไพรม์เกิดปี 2012 (ความจริงคือ 2008)
  • จำได้ว่า…โทรแจ้งลูกค้าแล้ว (ความจริงคือ ยังไม่ได้โทร)

เดี๋ยวนะ…ถ้าความทรงจำของคุณบอกแบบนี้ และคุณปักใจเชื่อจริงๆ…คุณอาจติดกับดัก “False Memory” เข้าให้แล้ว!!

False Memory: อย่ามั่นใจความทรงจำของตัวเองให้มันมากนัก

False Memory คือภาวะที่เรามั่นใจว่า “จำ” เรื่องราวเหตุการณ์หนึ่งได้แม่นยำชนิดหลับตานึกภาพออก…แต่ความจริงแล้ว เหตุการณ์นั้นไม่เคยเกิดขึ้นเลย หรือ มีข้อมูลบางอย่างบิดเบือนไปจากความจริง

เราอาจเรียกได้ว่า มันเป็นความทรงจำแบบ Fake ที่บิดเบือนไปจากความจริง (แต่ยังหลงเหลือเค้าโครงความจริงอยู่บ้าง)

False Memory เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้แต่ผู้บริหารระดับสูง และไม่เกี่ยวว่าจะมี IQ/EQ สูงแค่ไหนก็ตาม

ปี 1986 Ulric Neisser นักจิตวิทยาและหนึ่งในสมาชิกของ US National Academy of Sciences รีบทำการทดลอง 1 วันทันทีหลังโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศ Challenger ระเบิด 

โดยให้เหล่านักศึกษาเขียนเรียงความ (Essay) ลงบนกระดาษว่า พวกเขามีความคิดเห็นอย่างไรต่อเหตุการณ์นี้? 3 ปีต่อมา เค้ากลับไปสอบถามนักศึกษากลุ่มเดิมว่า ตอนนั้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว…พวกเค้าเขียนลงความเห็นอะไรไปบ้าง?

Text, letter

Description automatically generated

ปรากฎว่า นักศึกษากว่า 50% ให้ข้อมูลที่บิดเบือนไปจากสิ่งที่เขียน และมากถึง 25% ให้ข้อมูลที่แทบไม่เกี่ยวข้องกันเลย

Ulric Neisser หยิบหลักฐานกระดาษไปยื่นให้ทุกคนดู บางคนถึงกับเอ่ยว่า “เอ่อ…ผมรู้ดีว่านี่คือลายมือของผม แต่ผมไม่มีทางเขียนอะไรแบบนี้แน่ๆ”

สิ่งที่ความทรงจำ “ฉายภาพให้คุณเห็นในหัว” อาจไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป…

ทำไมสมองถึงให้ข้อมูลที่เป็น “เท็จ” เช่นนี้?

การทำงานของสมองเกิดจากการรวบรวมข้อมูลความทรงจำต่างๆ มาไว้ด้วยกัน (Recollections)

ความทรงจำเป็นเรื่องราวในอดีต ยิ่งอดีตห่างไกลมากเท่าไร (ผ่านไปนานหลายปี) เรายิ่งมีโอกาสเก็บสะสมข้อมูลใหม่มากเท่านั้น และข้อมูลใหม่นี้เอง ที่มีโอกาสเข้ามาผสมปนเปมั่วซั่วกับความทรงจำเดิม (โดยไม่ตั้งใจ) เพราะสมองเชื่อมโยงความคิดถึงกัน

A picture containing laser

Description automatically generated

และรู้หรือไม่? กระบวนการ “นอนหลับ” ของมนุษย์ ยังเป็นการ “ลบ” ข้อมูลที่ไม่สำคัญบางอย่างออกไปจากสมอง(เก็บเฉพาะที่สำคัญ) เป็นไปได้ว่า ความทรงจำบางอย่างของคุณอาจ “ตกหาย” ไประหว่างทาง…กลายเป็นจิ๊กซอว์ที่ไม่สมบูรณ์

A person sleeping on a bed

Description automatically generated with medium confidence

นอกจากนี้ False Memory ยังเป็นกลไก “ทางออก” ของสมองในการหลบหนีความทรงจำอันโหดร้ายที่เป็นบาดแผลลึกในจิตใจ (Traumatic memories) เช่น 

  • เห็นการฆาตกรรมเกิดขึ้นต่อหน้าต่อตา 
  • ถูกทำร้ายร่างกายอย่างไร้มนุษยธรรม 
  • ถูกหัวหน้ากลั่นแกล้งสร้างความอับอายกลางห้องประชุมใหญ่
Graphical user interface, Teams

Description automatically generated

กล่าวโดยสรุป…ความทรงจำของเราเป็นเหมือน “ค็อกเทล” ที่มีส่วนผสมทั้งเรื่องจริงและเท็จคลุกเคล้าจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

คนเราไม่ควรไว้ใจคนแปลกหน้า 100% ฉันใด…ก็ไม่ควรไว้ใจความทรงจำตัวเอง 100% ฉันนั้น

False Memory รอบตัวเรา

False Memory ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับเหตุการณ์ใหญ่ๆ สำคัญๆ เท่านั้น แต่มันยังเกิดขึ้นกับเหตุการณ์รอบตัวเราในชีวิตประจำวันด้วย

เช่น คุณเคยไปเที่ยวญี่ปุ่น 5 ครั้ง แล้วเก็บไฟล์รูปภาพแบ่งแยกตามแต่ละทริป วันดีคืนดีคุณเปิดคอมเพื่อค้นหารูปที่ถ่ายรูปสวยๆ คู่กับรถไฟชินคันเซ็น 

  • ซึ่งคุณจำได้ว่าเกิดขึ้นที่ “โตเกียว…ในทริปครั้งที่ 5”
  • แต่หาเท่าไรก็หาไม่เจอ พอตั้งสติได้ซักพัก จึงพบว่ามันเกิดขึ้นที่ “โอซาก้า…ในทริปครั้งที่ 4” ต่างหาก
A train on the railway tracks

Description automatically generated with low confidence

เพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอมานาน เมื่อบังเอิญเดินเจอกันในห้าง คุณอาจทักทายเรียกชื่อผิดในวินาทีแรก เช่น เรียกเพื่อนคนนั้นว่า “เจน” (แต่จริงๆ เค้าชื่อ “แจน”) 

หรือการที่ฝรั่งชาวต่างชาติสับสนจำผิดระหว่าง ”Thailand – Taiwan”

คุณอาจจำมโนทึกทักไปเองว่า ได้โทรแจ้งบอกลูกค้าไปแล้วว่ามีการเลื่อนวันส่งมอบสินค้า…ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วยังไม่ได้โทร (แค่ “คิด” จะโทรเฉยๆ)

วิธีป้องกัน False Memory

แก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วยเทคนิคดึกดำบรรพ์นั่นคือ “จดบันทึก” เขียนมันออกมาลงในกระดาษหรืออุปกรณ์ใดๆ ก็ตาม และใช้มันเป็นเครื่องมือในการเรียกดูข้อมูลแทนความทรงจำในหัวแทน

A person writing on a piece of paper

Description automatically generated with medium confidence

และเพราะความทรงจำของเราเป็นเหมือนค็อกเทลที่ผสมทั้งเรื่องจริงบ้าง-เท็จบ้าง ให้คุณสรุปไปเลยว่าเป็น “เรื่องเท็จ 50%” ไว้ก่อน วิธีนี้จะป้องกันไม่ให้เรา “มั่นใจเกินไป” จนนำไปสู่ข้อมูลที่ผิดพลาดได้

อย่างไรก็ตาม False Memory ยังเตือนสติเราทุกคนว่า สุดท้ายแล้วเราควรจะ “อยู่กับปัจจุบัน” น่าจะดีที่สุด อดีตผ่านไปแล้วเราแก้ไขไม่ได้ แม้แต่ความทรงจำยังผิดๆ ถูกๆ เลย

แทนที่จะใช้พลังความคิดรื้อฟื้นอดีต…เรานำมันมาโฟกัสกับปัจจุบันและทำมันให้ดีที่สุดดีกว่า

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง