Neomania: ทำไมคนเราคลั่งไคล้ “ของใหม่” จนเกินไป

Neomania: ทำไมคนเราคลั่งไคล้ “ของใหม่” จนเกินไป
  • ตั้งแคมป์รอ 1 คืนหน้า Apple Store เพื่อรอ iPhone รุ่นใหม่ล่าสุด
  • เปลี่ยนงานใหม่ทุกๆ ปี
  • มีแฟนแล้ว แต่อยากหาคนใหม่ไว้คุยเล่น
  • Café Hopper เปลี่ยนร้านนั่งชิลไปเรื่อยๆ ไม่เคยซ้ำกัน

เหล่านี้คือปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “Neomania” ซึ่งถ้าเกินเลยจุดที่พอดี มีแต่จะส่งผลร้ายย้อนกลับมาหาตัวเรา

Neomania: ทำไมคนเราคลั่งไคล้ของใหม่

Neomania คือภาวะทางจิตวิทยาที่ว่า คนเรารู้สึกดี ตื่นเต้น มีความหวัง มีความสุขกับอะไรก็ตามที่เป็น “ของใหม่” (Novelty) ในทุกเรื่องจนเกินเลยจุดที่พอดี

การชื่นชอบของใหม่ไม่มีอะไรผิด เพียงแต่ภาวะ Neomania มักชอบแบบไม่ลืมหูลืมตา ควบคุมตัวเองไม่ได้ จนถึงขนาดคลั่งไคล้ ให้ความสำคัญกับความสดใหม่ มากกว่า ฟังก์ชั่นการใช้งานหรือผลประโยชน์ที่ตัวเองได้รับด้วยซ้ำ

A picture containing tower

Description automatically generated

…ซึ่งนำไปสู่อคติส่วนตัว ความไม่คุ้มค่า ไม่สมเหตุสมผล และการตัดสินใจที่ผิดพลาดในที่สุด

กลไกที่กระตุ้น Neomania

ก่อนอื่น จริตในการชื่นชอบสิ่งใหม่ถูกโปรแกรมอยู่ในพันธุกรรมมนุษย์ทั่วโลกไม่ว่าจะเชื้อชาติ เพศ อายุ วัฒนธรรมไหนก็ตาม 

ตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์จะมีสัญชาตญาณในการจับ (Detect) สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาในสภาพแวดล้อม ซึ่งจำเป็นต่อการอยู่รอด

  • สัตว์ชนิดใหม่ที่เข้ามา (ดุร้ายจนต้องหลบซ่อน หรือ ล่าเป็นอาหารได้)
  • เห็ดชนิดใหม่ที่พบเจอ (มีพิษ หรือ รับประทานได้)

นอกจากนี้ มนุษย์มักไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี และมองหาเป้าหมายใหม่ไว้พุ่งชนเสมอ เรามักคิดว่าเมื่อเราไปถึงจุดนั้นแล้ว-ได้ครอบครองสิ่งหนึ่งแล้ว…เราจะมีความสุข ทุกอย่าง Happy Ending แต่ความจริงคือ เมื่อเราไปถึงจุดนั้นแล้ว จะมีแฮปปี้ได้ไม่นาน ก่อนรู้สึกอยากหา “จุดใหม่” (สินค้าใหม่-เป้าหมายใหม่) เพื่อไปให้ถึง…เริ่มต้นวนลูปเดิม

A dart board with darts

Description automatically generated with low confidence

อย่างไรก็ตาม กลไกด้านชีววิทยาก็ว่าสำคัญแล้ว แต่มันยังถูกเร่งและชักจูงอยู่ตลอดเวลาเข้าไปอีกด้วยระบบทุนนิยมในโลกปัจจุบัน ที่สินค้าจะถูกวางแผนออกแบบมาให้ หมดอายุขัยก่อนที่ควรจะเป็น (Planned Obsolescence) เพื่อที่จะเปิดตัวสินค้าใหม่ ขายรอบใหม่ และทำเงินได้มากขึ้น

iPhone คือตัวอย่างที่ชัดเจน อันที่จริง หากวิศวกรของ Apple จะผลิตมือถือที่คงทนใช้ได้นานนับทศวรรษก็ย่อมได้ แต่เราจะเห็นว่า พอใช้ iPhone ไปได้อย่างมาก 4-5 ปี ตัวมือถือจะเริ่มเสื่อม ทำงานช้าลง รวมถึงกลไกที่บังคับให้อัพเดท iOS (ถ้ารุ่นเก่าเกินจะอัพเดทไม่ได้แล้ว) ผู้ใช้งานไม่มีทางเลือกจึงต้องทิ้งแล้วซื้อรุ่นใหม่ (ที่ออกมาทุกปี)

A person holding a phone

Description automatically generated with low confidence

ทุนนิยม ถูกออกแบบมาให้ “ผลิตของใหม่” อยู่ตลอดเพื่อการเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ของดีที่เราใช้อยู่…ส่วนใหญ่มาจากของเก่า

เราลองมาสำรวจนวัตกรรมรอบตัวในชีวิตประจำวันกัน แล้วจะพบว่าหลายอย่างเป็น “ของเก่า” สืบรากเหง้ากลับไปได้นานกว่าที่คุณคิด

  • ส้อมที่เราใช้ เป็นนวัตกรรมจากยุคโรมันเมื่อกว่า 1,000 ปีที่แล้ว
  • เก้าอี้ที่เรานั่ง เป็นสิ่งประดิษฐ์จากยุคอียิปต์โบราณเมื่อกว่า 5,000 ปีที่แล้ว
  • รองเท้าหนัง มีต้นกำเนิดมาจากมนุษย์ยุคน้ำแข็งมากกว่า 10,000 ปีที่แล้ว
A picture containing tableware

Description automatically generated

50 ปีที่แล้ว หลังมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ ผู้คนต่างจินตนาการถึงโลกอนาคตว่า เมืองคงเต็มไปด้วย…

  • รถยนต์บินได้ 
  • ตึกสูงเสียดฟ้ารอบตัว 
  • ผู้คนแต่งตัวคล้ายชุดอวกาศสุดโมเดิร์น
  • และกินยา ที่รวมสารอาหารทุกอย่างไว้ในเม็ดเดียวจบ

แต่ 50 ปีต่อมา หลายอย่างไม่ได้เป็นเช่นนั้น…ดังตัวอย่าง เช่น ยุโรป

  • การขี่จักรยานอยู่ในไลฟ์สไตล์ของคนเมือง
  • ตึกรามบ้านช่องเตี้ยๆ คลาสสิค (ตึกสูงกระจุกแค่ย่านธุรกิจ)
  • ผู้คนใส่เสื้อยืดรองเท้าแตะในฤดูร้อน
  • และกินขนมปังทาเนยเป็นอาหารเช้าเหมือนเช่นหลายร้อยปีที่แล้ว
A person and person riding a bicycle

Description automatically generated with low confidence

ทุกสิ่งแทบจะกลับตาลปัตรจากที่จินตนาการ…

”ของเก่าถูกมองข้าม…ของใหม่ถูกยกยอเกินจริง” (ราวกับชีวิตนี้จะขาดมันไปไม่ได้อีกแล้ว)

ชีวิตของมนุษย์ในอนาคต จะยังคงมีรากฐานเหมือนเดิมในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาร่างกายคนโดยตรง (เช่น เก้าอี้จะยังคงมีรูปทรงประมาณนี้ เพราะกระดูกสันหลังมนุษย์ถูกออกแบบมาอย่างนี้) 

วิธีป้องกัน Neomania

อย่างแรก ต้อง “สอบสวน” ก่อนว่ามันคือของใหม่จริงๆ หรือไม่? หรือเป็นแค่ของเดิม แล้วเอามาปัดฝุ่นเล่นแร่แปรธาตุ และสร้างคำศัพท์ใหม่เท่ๆ จนออกมาดู “เหมือนใหม่” รึเปล่า?

การตั้ง “โควต้า” (Quota) จำกัดปริมาณการบริโภคของใหม่ ก็เป็นวิธีสร้างกฎเกณฑ์ให้ตัวเองที่น่าสนใจ เช่น

  • ซื้อเสื้อใหม่ได้ไม่เกิน 1 ตัว/ไตรมาส
  • ซื้อมือถือใหม่ได้ไม่เกิน 1 เครื่อง/ 3 ปี

นอกจากนี้ นักธุรกิจญี่ปุ่นคนหนึ่งแนะนำเทคนิค “อดกลั้นใจ” ที่ปรับใช้ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน (ภายใต้เงื่อนไขเดิม เช่น สินค้ายังมีจำหน่ายในท้องตลาดและราคาเท่าเดิม)

  • ถ้าอยากได้ของใหม่…ให้รอไปก่อน 1 อาทิตย์
  • ถ้า 1 อาทิตย์ผ่านไปแล้วยังอยากได้อยู่….ให้อดใจรอไปอีก 2-3 วัน
  • เมื่อครบ 2-3 วันนั้นแล้วยังอยากได้อยู่ แสดงว่าคุณต้องการมันจริงๆ จงตัดสินใจซื้อซะ!!
  • แต่ถ้า 2-3 วันนั้นผ่านไปแล้ว ความอยากได้มลายหายไปจนเฉยๆ แสดงว่าคุณไม่ได้ต้องการมันจริงๆ (และมันไม่ได้สำคัญกับคุณจริงๆ)
A pocket watch on a table

Description automatically generated with medium confidence

เพราะสุดท้ายแล้ว แก่นสารที่สำคัญที่สุดคือตัวคุณเองว่า “ต้องการ” มันจริงๆ หรือไม่?

ของใหม่นี้จะมาช่วยคุณประหยัดเวลา ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้จริงๆ หรือไม่?

หรือคุณเพียงตกเป็นเหยื่อการตลาด ตกหลุมพรางจิตใจตัวเองกันแน่?

บางที ของเก่าที่คุณมีอยู่…อาจจะดีพอแล้วก็ได้

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

Original Image Cr. bit.ly/2U3EyQG

อ้างอิง