📰 บทความทั้งหมด

Sustainability as Survival: ถ้ารักตัวเอง ต้องรักษ์โลกด้วย

Sustainability as Survival: ถ้ารักตัวเอง ต้องรักษ์โลกด้วย

แต่ละปี กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ได้ปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศกว่า 43,000 ล้านตัน (อัตราเพิ่มขึ้นทุกปีๆ) นำไปสู่ปัญหาแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นคือ “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งส่งกระทบตามมาที่แทบบรรยายไม่จบไม่สิ้น เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น นำไปสู่การละลายของธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก  ปี 1980 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 7.7 ล้าน ตร.กม. ปี 2018 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 4.7 ล้าน ตร.กม. ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองใหญทั่วโลกอย่าง New York / London / Shanghai / Tokyo / และ Bangkok จะถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดในท้องทะเล ทำให้ปริมาณปลาที่จับได้น้อยลง หมายถึงอาหารที่น้อยลงตามมา เหตุการณ์เหล่านี้จะรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เช่น คลื่นความร้อน / ความแห้งแล้ง / ไฟป่า  และยังเกิด “จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้” (Irreversible […]

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Less is More: ทำไมปริมาณทำน้อยลง แต่ คุณภาพกลับดีขึ้น

Warren Buffett หมดเวลาแต่ละวันไปกับการนั่งเฉยๆ และขบคิด Twitter จำกัดตัวอักษรเพียงน้อยนิดในแต่ละโพส นี่คือตัวอย่างของ “Less Is More” ทำในปริมาณที่น้อยลง แต่ กลับได้คุณภาพมากขึ้น ข่าวดีคือหลายองค์กรทั่วโลกเริ่มนำแนวคิดนี้มาใช้แล้ว เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? จะเข้าใจปัจจุบันได้ เราต้องย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์ภาพใหญ่กันก่อน เป็นเวลากว่า 500 ปีแล้วที่โลกเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม (Capitalism) ซึ่งตั้งอยู่บนรากฐานของการเติบโต (Growth) อย่างไม่สิ้นสุด แก่นของการเติบโตนี้ แทบไม่สนใจเลยว่าคุณทำได้ ‘มาก’ เท่าไร แต่สำคัญที่ว่าคุณทำได้ “มากกว่าเดิม” เท่าไร (โตขึ้นจากปีที่แล้วเท่าไร) ในศตวรรษที่ 19 GDP ของทั้งโลก ยังมีมูลค่าน้อยกว่า $1 trillion ปี 1985 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $12 trillion ปี 2015 GDP ของทั้งโลกอยู่ที่ $75 trillion ปี 2025 GDP ของทั้งโลกคาดว่าจะอยู่ที่ […]

Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

Stakeholder Capitalism ยุคนี้ “P” Planet สำคัญสุด!

พวกเราหลายคนน่าจะคุ้นเคยกับคำนี้ดี “Shareholder Capitalism” แนวคิดนี้เริ่มต้นขึ้นในยุค 1980 บรรดา CEO บริษัทใหญ่ต่างมุ่งเน้น “กำไรสูงสุด” แก่องค์กรและผู้ถือหุ้น (พร้อมๆ กับผลตอบแทนของเหล่า CEO โดยเฉพาะอเมริกันที่โตแบบก้าวกระโดด) แนวคิดนี้เป็นเชื้อเพลิงที่นำไปสู่การเกิด Globalization โลกาภิวัฒน์ขึ้นทั่วโลก บริษัทข้ามชาติบินไปลงทุนในอีกซีกโลกหนึ่ง(รวมถึงไทย) หาตลาดแรงงานราคาถูก หาแหล่งตั้งโรงงานผลิตสินค้า เดากันได้ เหตุการณ์จากนี้เกิดการกอบโกยทำทุกวิถีทางเพื่อทำกำไรสูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้น กดขี่แรงงาน กดค่าแรง ใช้แรงงานผิดกฎหมาย เช่นที่ อินเดีย บังคลาเทศ  ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ปล่อยมลพิษ น้ำเน่าเสีย ตัดไม้ทำลายป่า…โลกและคนเริ่มถูกทำร้ายอย่างกว้างขวาง แต่ยุคนั้นหลายประเทศทั่วโลกเอาเศรษฐกิจมาก่อน สิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องรอง Shareholder Capitalism จึงเป็นแนวคิดกระแสหลักที่ดำเนินไปอีกหลายทศวรรษ ถึงวันนี้เรารู้แล้วว่าสังคมและโลกของเราบอบช้ำมากแค่ไหน จึงเริ่มเกิดแนวคิดที่ต้านกระแสหลักนี้ซึ่งมีชื่อว่า “Stakeholder Capitalism”  Stakeholder แปลว่า “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” แนวคิดทุนนิยมนี้ก้าวไกลไปกว่าการมองแค่ตัวบริษัทและผู้ถือหุ้น แต่มองครอบคลุมไปถึง “สังคมผู้คนและโลก” ใบนี้ของเรา เป้าหมายคือสร้าง “คุณค่า” ที่มีความหมายสูงสุดแก่ทุกฝ่ายโดยรวม ไม่ใช่สร้างตัวเลขกำไรให้เร็วและเยอะที่สุดแก่ผู้ถือหุ้นหรือนักลงทุนเหมือนแต่ก่อน Stakeholder Capitalism เชื่อว่ามี […]