Sustainability as Survival: ถ้ารักตัวเอง ต้องรักษ์โลกด้วย

Sustainability as Survival: ถ้ารักตัวเอง ต้องรักษ์โลกด้วย

แต่ละปี กิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์ได้ปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศกว่า 43,000 ล้านตัน (อัตราเพิ่มขึ้นทุกปีๆ) นำไปสู่ปัญหาแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นคือ “ภาวะโลกร้อน” ซึ่งส่งกระทบตามมาที่แทบบรรยายไม่จบไม่สิ้น

เมื่ออุณหภูมิโลกร้อนขึ้น นำไปสู่การละลายของธารน้ำแข็งที่ขั้วโลก 

  • ปี 1980 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 7.7 ล้าน ตร.กม.
  • ปี 2018 ทะเลอาร์กติก มีน้ำแข็งปกคลุม 4.7 ล้าน ตร.กม.

ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น เมืองใหญทั่วโลกอย่าง New York / London / Shanghai / Tokyo / และ Bangkok จะถูกน้ำท่วมจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้

เกิดการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดในท้องทะเล ทำให้ปริมาณปลาที่จับได้น้อยลง หมายถึงอาหารที่น้อยลงตามมา

เหตุการณ์เหล่านี้จะรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้น เช่น คลื่นความร้อน / ความแห้งแล้ง / ไฟป่า 

และยังเกิด “จุดเปลี่ยนที่ไม่สามารถย้อนกลับได้” (Irreversible tipping point) เช่น การสูญพันธุ์ของสัตว์ต่างๆ ซึ่งกำลังเกิดขึ้นแล้วในอัตราที่เร็วกว่า ยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมถึง 1,000 เท่า!!

Moody’s Analytics ประเมินว่า ความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภาวะโลกร้อน ภายในปี 2100 

  • $54 trillion ถ้าโลกจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส
  • $69 trillion ถ้าโลกจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงเกิน 2 องศาเซลเซียส

แต่การประเมินของ UN พบว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกที่ผ่านมา จะนำไปสู่อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นถึง 3.2 องศาเซลเซียส ความเสียหายทางเศรษฐกิจเรียกว่าประเมินค่าไม่ได้เลย

แม้จะไม่อยากยอมรับก็ตาม แต่เมื่อความจริงเป็นเช่นนี้ ถึงเวลาที่เราต้องคิดใหม่แล้วว่า “การรักษ์โลกไม่ใช่เทรนด์…แต่เป็นความจำเป็น” 

กติกาโลกที่เริ่มปรับตัว

ปี 2015 ประชาคมโลกลงนามใน Paris Agreement ที่มี UN เป็นเจ้าภาพว่าจะพยายามจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน “1.5 องศาเซลเซียส” (ผ่อนปรนได้ไม่เกิน 2 องศาเซสเซียส)

โดยต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ 30 กิกะตัน/ปี ภายในปี 2030 โดยระหว่างนี้ จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable energy) ควบคู่กันไป

การใช้พลังงานคือ “สาเหตุใหญ่ที่สุด” ของภาวะโลกร้อน แต่ข่าวดีคือ เราเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวในภาพใหญ่มากขึ้นแล้ว ตัวอย่างเช่น

Joe Biden มองเรื่อง Green Business อย่างน่าสนใจว่าคือ “Jobs” การจ้างงานมหาศาล 

เขากล่าวว่าที่ผ่านมาการลงทุนใน Tech/Startup เป็นเหมือนการลงทุนในอากาศที่สร้างงานได้ไม่เยอะ และแทบไม่มีโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ (Physical infrastructure) ที่ประชาชนสัมผัสได้จริงเลย

ต้นปี 2021 เขาจึงประกาศว่าจะเปลี่ยนรถยนต์ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทั้งหมด 645,000 คันให้เป็น “รถยนต์ไฟฟ้า” เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด และ รณรงค์การใช้รถยนต์ EV ที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา

การเปลี่ยนเป็นรถไฟฟ้าต้องใช้เงินกว่า 600,000 ล้านบาท “สร้างงานใหม่กว่า 1 ล้านตำแหน่ง” ใน Supply Chain ทั้งหมดของอุตสาหกรรมนี้

ไบเดนตั้งเป้าว่า ภายในปี 2040 รถทุกคันบนท้องถนนในสหรัฐฯ จะ “ไม่มีการปล่อยมลพิษ” แล้ว พร้อมเร่งสร้างสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 550,000 แห่งทั่วสหรัฐฯ

ทางฝั่ง EU ยังประกาศแบนการขายรถยนต์ที่ใช้น้ำมันภายในปี 2030

.

นอกจากนี้ยังมีความพยายามในการ “ปฏิวัติอุตสาหกรรมอาหาร” เช่นนวัตกรรม Plant-based food อาหารที่ทำจากพืช

กว่า 60% ของพื้นที่เกษตรกรรมทั่วโลก เป็นฟาร์มเลี้ยงวัว ซึ่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกคิดเป็น 50% ของก๊าซเรือนกระจกที่มาจากฟาร์มสัตว์ (สาเหตุคือก๊าซมีเทนจากกระบวนการเลี้ยงวัว)

สมมติ ถ้าเปลี่ยนฟาร์มวัวเป็นอย่างอื่น เช่น Plant-based meat (เนื้อที่ทำจากพืช) นอกจากจะต้องฆ่าวัวน้อยลงแล้ว ยังช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้ด้วย (เนื้อวัวคิดเป็นเพียง 2% ของแคลอรี่ที่มนุษย์บริโภค) 

อนาคต อาจมีเรื่องปัจจัยอย่าง Carbon Footprint (กว่าจะออกมาเป็นสินค้า-บริการนี้ สร้าง CO2 ไปเท่าไร?) เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาซื้อสินค้า-บริการ 

เช่น ถ้าจะเข้าพักโรงแรมนี้ของคุณ นอกจากเรื่องราคา-บริการแล้ว…โรงแรมนี้สร้าง Carbon Footprint มากน้อยแค่ไหน? ถ้ามากกว่ามาตรฐานที่ควรจะเป็น ผู้บริโภคยุคใหม่อาจตัดสินใจไปเลือกโรงแรมอื่นแทน

ทัศนคติผู้บริโภคก็มีความสำคัญไม่น้อย โดยเฉพาะ Gen-Z (และ Gen-Alpha ในอนาคต) เพราะพวกเขาคือผู้ที่จะได้รับผลกระทบของภาวะโลกร้อนเต็มๆ

  • โตมากับซูเปอร์มาร์เก็ตที่ไม่แจกถุงพลาสติก เดี๋ยวนี้ใครเดินหิ้วถุงพลาสติกคือเชย
  • ลดการใช้พลังงาน อยู่ในตัวเมือง เดินทางด้วยขนส่งมวลชน
  • เลือกบริโภค Plant-based food

การเคลื่อนไหวของแบรนด์ที่ Go (Sustainably) Green

ทางฝากฝั่งองค์กรก็มีความเคลื่อนไหวไม่น้อย

Lego

กลางปี 2021 Lego ออกมาประกาศ “ตัวต่อรักษ์โลก” ที่ทำจากขวดพลาสติกรีไซเคิลทั้งหมด โดยขวดพลาสติก 1 ลิตร สร้างตัวต่อเลโก้ได้ 10 ชิ้น พร้อมเปิดตัวสู่ตลาดในอีก 2 ปี 

Lego ใช้เงินลงทุนกว่า 13,000 ล้านบาทไปแล้ว ในการเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่ยั่งยืน

  • ใช้พลาสติกชีวภาพจากต้นอ้อยมาผลิตเลโก้
  • เปลี่ยนแพกเกจจิ้งจากถุงพลาสติกเป็นถุงกระดาษ

ทั้งหมดนี้ เพื่อเป้าหมายการเป็นแบรนด์ที่ใช้วัสดุยั่งยืนเต็มรูปแบบให้ได้ ภายในปี 2030

Image Cr. bit.ly/3dIF11r

Mercedes-Benz

ในปี 2019 หัวหน้านักวิจัยของ Mercedes-Benz ประกาศว่า “บริษัทจะเลิกพัฒนารถที่ใช้น้ำมันแล้ว และหันไปโฟกัสเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าแทน” 

โดยตั้งเป้าว่า กว่า 50% ของรถยนต์ที่ขายต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าภายในปี 2030 และออกความฝัน “Ambition2039” ว่าถึงปี 2039 รถทุกคันของ Mercedes-Benz จะไม่ใช้น้ำมันอีกต่อไปแล้ว 

นี่คือการ “Disrupt ตัวเอง” จากผู้คิดค้นเครื่องยนต์สันดาปภายในรายแรกของโลก…ตัดสินใจหยุดพัฒนา และหันไปโฟกัสรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่แทน (และมีข่าวซุ่มพัฒนารถยนต์ไร้คนขับด้วย)

โดยปัจจุบัน ในยุโรป ยอดขายรถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) กว่า 1/4 ตกเป็นของ Mercedes-Benz

Disney

สื่อบันเทิงระดับโลกอย่าง Disney ออกนโยบาย “Zero Waste Policy” ภายในปี 2030 จะต้องไม่มีขยะฝังกลบที่ออกมาจากสวนสนุก Disneyland อีกต่อไปแล้ว โดยผ่านกรรมวิธีรีไซเคิล / เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืน / การแปรรูปต่างๆ

แนวคิด(เก่า)ที่ต้องเริ่มโอบกอด

การคำนึงถึงความยั่งยืน…ถึงโลกและสรรพสิ่ง จะอาศัยมุมมองด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ แต่ต้องใช้หลากหลายแนวคิดอุดมการณ์ (Ideology) มาช่วย เช่น

  • แนวคิดที่ว่าสัตว์และธรรมชาติมีจิตวิญญาณ (Animism) เราทุกคน Interconnect เชื่อมโยงถึงกัน
  • แนวคิดด้านชีววิทยาวิวัฒนาการ (Evolutionary biology) ที่ว่ามนุษย์และสัตว์ต่างๆ ล้วนมีบรรพบุรุษร่วมกันเมื่อหลายล้านปีที่แล้ว เราแชร์ DNA ร่วมกัน เราวิวัฒนาการร่วมกันมานาน (Co-evolve) 

เคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ระลึกอยู่เสมอว่าทุกสิ่งล้วน “เกื้อกูลพึ่งพาอาศัยกัน” (Reciprocity) จะทำอะไรต้องคำนึงถึงการสร้างใหม่ทดแทน (Regeneration) อยู่เสมอเพื่อรักษาความสมดุล…ต้องไม่ Take > Give

วิธีคิดที่ต้องเริ่มในศตวรรษที่ 21 ที่จะปูทางไปสู่มาตรฐานใหม่ในศตวรรษที่ 22 (ถ้าเรายังรอด) คือ การคิดทำอะไรแบบ ต้นน้ำ-ปลายน้ำ โดยรวมผลกระทบสิ่งแวดล้อม และสิงสาราสัตว์ไว้ในสมการ (ไม่ใช่แค่ นายทุน / ผู้ถือหุ้น / ลูกค้า…ไม่ใช่แค่ “มนุษย์” อีกต่อไป)

Sustainability as Survival ทั้งหมดนี้ไม่ใช่แค่เพื่อตัวเรา แต่เพื่ออนาคตของโลกและลูกหลานเราเช่นกัน ผู้คนในโลกอนาคตเมื่อมองย้อนกลับมาจะได้ไม่อึ้งว่า คนยุคเรารู้รายละเอียดทุกอย่างดีว่าเกิดอะไรขึ้น แต่สุดท้ายกลับล้มเหลวในการแก้ปัญหา…

ปิดท้ายด้วยคำพูดของ Sir David Attenborough นักธรรมชาติวิทยาชื่อก้องโลก ที่กล่าวอย่างสลดใจว่า “ความจริงอันน่าเศร้าคือ สุดท้ายธรรมชาติจะฟื้นกลับคืนมาอยู่ดี…แม้ว่าจะมีหรือไม่มีมนุษย์ก็ตาม”

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง