📰 บทความทั้งหมด

False Analogy: ตรรกะวิบัติแต่แรก ก็จงบอกลาความสำเร็จ

False Analogy: ตรรกะวิบัติแต่แรก ก็จงบอกลาความสำเร็จ

เล่นหุ้น…ก็ไม่ต่างจากการพนัน บริหารบริษัท…ก็เหมือนกับการบริหารประเทศ นิ้วยังไม่เท่ากันเลย…แล้วจะให้คนเท่ากันได้อย่างไร หากคุณเห็นดีเห็นงามกับตัวอย่างเหล่านี้…ช้าก่อน เพราะคุณอาจตกหลุมพรางทางความคิดที่เรียกว่า False Analogy เข้าให้แล้ว!! กับดัก False Analogy False Analogy คือความหลงกลผิดๆ ที่ว่าหาก 2 สิ่งมีลักษณะบางอย่างคล้ายกันในเรื่องหนึ่ง…ก็น่าจะคล้ายกันในเรื่องอื่นๆ ทั้งหมดด้วย  ซึ่งสาเหตุหลักก็อาจมาจากการ “เหมารวม” (Stereotype) ที่ผสมผสานกับอคติส่วนตัวหรือชุดความรู้ที่มีอยู่นั่นเอง จนนำไปสู่ปรากฎการณ์ “ตรรกะวิบัติ” ฟังไม่ขึ้น หมดความน่าเชื่อถือ และในโลกธุรกิจ อาจหมายถึงการตัดสินใจที่ผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง เพราะมนุษย์มองอะไรเป็น “แพทเทิร์น” (Pattern) โดยหาจุดร่วมที่มีความคล้ายคลึง (Analogy) กัน ก่อนจะเชื่อมโยงมาสู่องค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ ซึ่งตั้งแต่ยุคโบราณมันช่วยให้เราเข้าใจอะไรได้ง่าย ตัดสินใจได้รวดเร็วขึ้น ช่วยให้มีชีวิตรอดในธรรมชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม โลกปัจจุบัน “ซับซ้อน” กว่าโลกยุคก่อนมาก มีตัวแปรที่เราต้องวิเคราะห์มากกว่าแบบเทียบกันไม่ติด การมองแพทเทิร์นแบบผิวเผินที่เคยเวิร์คในอดีต อาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาดในปัจจุบัน False Analogy ในเรื่องต่างๆ “การเล่นหุ้นก็ไม่ต่างจากการพนัน” จริงอยู่ ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง แต่ทั้งคู่ต่างกัน เพราะการพนันคือการเสี่ยงดวงล้วนๆ ขณะที่การเล่นหุ้นยังมีปัจจัยพื้นฐานบริษัทให้วิเคราะห์  การมี […]

Self-Overestimation: คุณอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

Self-Overestimation: คุณอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด

เราทำงานเก่ง ออกมาเปิดบริษัทเองก็น่าจะรุ่ง ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม…เราเป็นครัวของโลก!! “ผมมั่นใจว่าตัวเองขับรถดีกว่าคนอื่นทั่วไป” เรามักตกเป็นเหยื่อของอาการ Self-Overestimation การคิดว่าตัวเองเก่ง(เกินจริง) เรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่เสมอ จนนำไปสู่ข้อสรุปที่บิดเบือนหรือการตัดสินใจที่ผิดพลาด!! ทำไมเรามักคิดว่าตัวเองเก่ง(เกินจริง)? ตั้งแต่อดีตกาล มีกลไกหนึ่งที่ผลักดันมนุษย์ให้คิดว่าตัวเอง “ดีพอ” เพื่อออกไปลงมือทำอะไรบางอย่าง  คิดว่าเก่งพอที่จะออกไปล่าสัตว์ได้ คิดว่าเก่งพอที่จะปกป้องคนอื่นได้ คิดว่าเก่งพอที่จะจีบสาวในหมู่บ้านได้ แต่ความบานปลายของกลไกนี้นำไปสู่ Self-Overestimation จนทำให้เรารู้สึก “ยกยอ” ตัวเองเกินจริง นักจิตวิทยาจาก Cornell University ที่เชี่ยวชาญด้านนี้ให้เหตุผลว่า มนุษย์มักคิดว่าตัวเองเป็นคนฉลาดกว่าความจริง เมื่อเราคิดเช่นนั้นแล้ว ก็พลอยทำให้มองข้ามข้อบกพร่อง / ขีดจำกัด / อุปสรรคภายนอก…จนนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาด เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่เรื่องธุรกิจการทำงาน แต่ครอบคลุมถึงชีวิตส่วนตัว / สุขภาพ / ความสัมพันธ์ ฯลฯ เราอาจไม่ได้เก่งอย่างที่คิด ผลสำรวจในหลายประเทศพบว่า ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองมี “ทักษะการขับขี่” ดีกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง ท้องถนนคงจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยมากแน่ๆ แต่สถิติกลับไม่เป็นเช่นนั้น คนอเมริกันเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 37,000 คน คนอังกฤษเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ 27,000 คน คนไทยเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนถึงปีละ […]

Survivorship Bias: ผู้ประสบความสำเร็จที่เห็นอาจเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง

Survivorship Bias: ผู้ประสบความสำเร็จที่เห็นอาจเป็นแค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง

Mark Zuckerberg เป็น Billionaire ตั้งแต่อายุ 23 ปีจากการก่อตั้ง Facebook  J.K. Rowling เป็นนักเขียนที่รวยที่สุดในโลกจากการให้กำเนิด Harry Potter เทรนด์ครัวซองต์บูม ยอดขายมาไม่หยุด กำไรโตระเบิด ใช้เงินแทบไม่ทัน ถ้าคุณกำลังรู้สึกหวือหวา ตื่นเต้น และเริ่มอยากลงมือทำในธุรกิจที่ได้ยิน…ช้าก่อน คุณอาจกำลังติดกับดักที่เรียกว่า “Survivorship Bias” Survivorship Bias คืออะไร? Survivorship Bias คือการที่เราได้ยินเรื่องราวธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจนอยากที่จะกระโดดเข้าไปทำ โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่เห็นตรงหน้าอาจเป็นแค่ “ยอดภูเขาน้ำแข็ง” เล็กๆ เสี้ยวเดียว (คนที่สำเร็จ) ที่ใต้มหาสมุทรเต็มไปด้วยซากปรักหักพังทับถมกันเป็นฐานภูเขา (คนที่ล้มเหลว) ในทุกสมรภูมิ “ผู้เสียชีวิต” มีจำนวนมากกว่า “ผู้รอดชีวิต” แบบเทียบกันไม่ติด แต่ผู้รอดชีวิตที่กลับมาเฉลิมฉลองในเมือง “เห็นได้ชัดเจน” (Visible) กว่าผู้เสียชีวิตที่ถูกทิ้งไว้ในสนามรบ  ในโลกธุรกิจก็เช่นกัน บริษัทที่สำเร็จจะถูกโปรโมทพูดถึงไปทั่วโลก ข่าวตีพิมพ์ สื่อสัมภาษณ์ ถูกใช้เป็นโมเดลเพื่อการเรียนรู้ CEO ถูกเชิญไปพูดเสวนาสร้างแรงบันดาลใจ…เหล่านี้ทำให้เราเกิดภาพลวงตา จนประเมินความสำเร็จสูงเกินจริง ว่าถ้าเรา […]

Confirmation Bias: มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

Confirmation Bias: มองหาแต่สิ่งที่ยืนยันความเชื่ออันฝังรากลึกของตัวเอง!

เคยเป็นไหม? มองหาแต่หลักฐานที่มาสนับสนุนความคิด-ความเชื่อที่ฝังรากลึกของตัวเอง อะไรที่ไม่เข้าพวกก็ปัดทิ้ง ฟังผ่านๆ หรือทำเป็นไม่รับรู้ซุกไว้ใต้พรม ถ้าใช่ คุณอาจกำลังติดกับดักทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Confirmation Bias” อยู่ Confirmation Bias คืออะไร? ลองนึกภาพตาม มันคือการที่เรา “ปักธง” คิดหรือเชื่ออะไรไปก่อนล่วงหน้าแล้ว ก่อนจะรับข้อมูลเข้ามาและปรับแต่งให้ “ถูกจริต” กับความคิด-ความเชื่อของเรา เป็นการ “ย้ำคอนเฟิร์ม” นั่นเอง (พร้อมๆ กับปิดกั้นข้อมูลที่ขัดแย้งอยู่ขั้วตรงข้าม) ในกรณีที่เลวร้าย จะไม่ใช่แค่การรับข้อมูลเฉยๆ แต่เรามีแนวโน้มจะ “ค้นหา-เลือก” เฉพาะข้อมูลที่ถูกจริตกับเราเท่านั้น! เช่น “ข่าว” ที่เรามักเปิดเฉพาะช่องที่ให้ข้อมูลตรงกับเรา หรือ “อยู่ฝ่ายเรา” เท่านั้น Confirmation Bias เป็นได้ทั้งด้านบวก และ ลบ เหมือนกับการ “มองหาอะไร ก็ได้อย่างนั้น” คุณชอบนาย A เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านดีๆ ของเขา (ทั้งๆ ที่ด้านแย่ก็มีไม่น้อย) คุณไม่ชอบนาย B เป็นทุนเดิม ก็มักเห็นแต่ด้านแย่ๆ […]

Sunk Cost Fallacy: ธุรกิจล่มเพราะแพ้ใจตัวเอง

Sunk Cost Fallacy: ธุรกิจล่มเพราะแพ้ใจตัวเอง

บริษัทเสียเงินไปหลายร้อยล้าน ทุ่มเวลาไปหลายปี…จะให้มายกเลิกแบบนี้หรือ? หนังไม่สนุก แต่ก็ทนดูต่อ เพราะเสียเงินซื้อตั๋วหนังไปแล้ว นี่คือตัวอย่างคลาสสิกของหลุมพรางทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Sunk Cost Fallacy”  คือ ไม่ว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไงก็ตาม แต่ “ต้นทุน” นั้นจมไปแล้ว-จ่ายไปแล้ว-เสียไปแล้ว-ไม่มีวันได้คืน (Non-Recoverable Investment) แต่เราดันเอามันมาพิจารณาต่อในอนาคต  (อนึ่ง ต้นทุนเป็นได้ทั้ง: เวลา / เงิน / ความรัก / แรงกายแรงใจ) ผู้บริหารที่ยึดติดกับแผนการดั้งเดิม มีแนวโน้มจะติดกับ Sunk Cost Fallacy CEO ที่ปั้นธุรกิจมากับมือมักมีแนวโน้มขยายธุรกิจต่อไปทั้งๆ ที่ไม่มีแววรุ่งก็เพราะ Sunk Cost Fallacy ทัศนคติแบบนี้ไม่เวิร์คเพราะมันไม่สอดคล้องกับโลกธุรกิจสมัยใหม่ที่อะไรๆ เปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ผู้บริหารต้องมีทักษะปล่อยวาง อะไรที่เจ๊งต้องรีบตัดทิ้งแล้วเริ่มใหม่ อย่าดันทุรังไม่ยอมเลิกเพราะแค่ลงเงินไปแล้ว  Sunk Cost Fallacy ในชีวิตประจำวัน Sunk Cost Fallacy อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ตัวอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน คือเวลาไป “ดูหนัง”  ถ้าเผอิญหนังเรื่องนั้นไม่สนุก […]

Halo Effect ผู้บริหารตกม้าตายก็เพราะเรื่องนี้

Halo Effect ผู้บริหารตกม้าตายก็เพราะเรื่องนี้

CEO ที่ “ประสบความสำเร็จ” อย่างยิ่งใหญ่ในธุรกิจ A จะประสบความสำเร็จในธุรกิจ B ด้วย ผลิตภัณฑ์ A ดูมีคุณภาพน่าเชื่อถือ เพราะมาจาก “ญี่ปุ่น” น้อง AE คนนี้น่าจะคุยงานกับลูกค้าได้ดี เพราะเป็นผู้หญิงและ “หน้าตาดี” ประโยคที่กล่าวมาคือส่วนหนึ่งของกับดักจิตวิทยาที่เรียกว่า “Halo Effect” Halo Effect ถูกนิยามขึ้นเมื่อปี 1920 โดยนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน คุณ Edward Lee Thorndike มันคือการที่เราหยิบยก “ลักษณะเด่น” แค่ 1 อย่าง และตีตราไปเองว่า “ดีเกินจริง-แย่เกินจริง” จนอาจทำให้การวิเคราะห์ภาพรวมคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ทำไมผู้บริหารมักตกหลุมพราง Halo Effect? เพราะ Halo Effect ทำงานในระดับ “จิตใต้สำนึก” (Subconscious Level) เราไม่สามารถห้ามตัวเองไม่ให้คิด-รู้สึกได้ (แต่ห้ามไม่ให้เชื่อ-ลงมือทำได้) นอกจากนี้ ในแต่ละวันผู้บริหารยุ่งมากๆ สมองต้องรับข้อมูลมหาศาลมากกว่าคนปกติ ต้องเจอกับความกดดันต่างๆ  การหาลักษณะเด่นเพียงอย่างเดียวและด่วนสรุปไปเลย […]