📰 บทความทั้งหมด
Rearview Mirror Syndrome: มัวแต่มองหลัง แล้วจะเดินหน้าได้ยังไง
น่าจะรู้อย่างงี้ตั้งแต่(ก่อน)อายุ 20 ถ้าทำได้ ก็อยากกลับไปเลือกบริษัทอื่นที่ไม่ใช่ที่นี่ ถ้าเป็นไปได้ อยากกลับไปเลือกเรียนคณะอื่น ถ้าย้อนเวลาได้ อยากจะวิ่งเข้าไปบอกรักเค้า… กลยุทธ์นี้เคยเวิร์คกับแบรนด์เราในอดีตมาแล้ว ตอนนี้ก็น่าจะเวิร์คอยู่ ถ้าเรามีอาการความรู้สึกแบบนี้ผุดขึ้นในใจทุกวี่ทุกวัน ระวังให้ดี คุณกำลังเจอกับ “Rearview Mirror Syndrome” แล้ว! Rearview Mirror Syndrome: มัวแต่มองหลัง แล้วจะเดินหน้าได้ยังไง Rearview Mirror Syndrome เปรียบเสมือนเป็นอาการที่เราขับรถแล้วมัวแต่พะวงมอง “กระจกหลัง” (อดีต) บ่อยเกินไป จนไม่ได้มองทางข้างหน้า (ปัจจุบัน) ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง…และมักนำไปสู่ “อุบัติเหตุ” (ล้มเหลว) ทางท้องถนนในที่สุด สุดท้าย ทำให้ชีวิตหรือแบรนด์ “ไปไม่ถึงไหน” หรือก้าวหน้าได้ไม่เท่าที่ควรจะเป็น (ศักยภาพ 100 แต่ไปได้แค่ 20) ผลวิจัยเผยว่า เฉลี่ยแล้วสมองคนเราคิดฟุ้งซ่านในหัว 50,000-60,000 เรื่อง/วัน แต่ประเด็นคือกว่า 95% ของสิ่งที่คิดมักเป็น “เรื่องเดิมๆ” ที่เคยคิดมาแล้วเมื่อวาน เมื่อวันก่อน เมื่อเดือนก่อน เมื่อปีก่อน […]
Position Amnesia: ลืมไปแล้วเหรอว่าแบรนด์คุณเป็นใคร
เคยไหม? คุณชื่นชอบแบรนด์หนึ่งเพราะเค้ายึดมั่นในอุมดมการณ์บางอย่างมาตั้งแต่เริ่ม (เช่น เครื่องสำอางที่ไม่ทดลองในสัตว์) จนคุณเทใจอยากสนับสนุน แต่แล้วมาวันหนึ่ง แบรนด์กลับผิดคำพูด เริ่มทำในสิ่งตรงข้ามที่ไม่ได้สัญญาไว้ แม้จะเป็นกิจกรรมหรือแคมเปญเล็กๆ ช่วงเวลาสั้นๆ แต่ใจคุณก็รู้สึกผิดหวังไปแล้ว นี่คือ “Position Amnesia” การที่แบรนด์ลืมไปว่าตัวเองเป็นใคร ก่อตั้งมาทำไม ทำธุรกิจไปเพื่ออะไร เดินผิดทางในสิ่งที่ยึดมั่นไว้จนไปทำร้ายจิตใจผู้อื่น และคนที่แบรนด์ได้ทำร้ายมากที่สุดก็ไม่ใช่ใคร แต่เป็นลูกค้าเก่าแก่…เช่นคุณ Position Amnesia: ลืมไปแล้วสินะว่าแบรนด์คือใคร? Position Amnesia คือภาวะที่แบรนด์เริ่มทดลองอะไรใหม่ๆ จน “เลยเถิด” ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริงของแบรนด์อีกต่อไป ทำในสิ่งที่ผิดสัญญากับลูกค้า หรือทำในสิ่งที่ “ขัดแย้งกับอุดมการณ์” ของตัวเอง Position Amnesia ไม่ได้เกิดกับแบรนด์น้องใหม่ที่อาจยังไม่ชัดเจนในตัวเองอย่างเดียว แต่สามารถเกิดกับแบรนด์ใหญ่ที่อยู่ในตลาดมานานแล้วก็ได้ โดยกรณีหลัง มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จมาระดับนึงแล้ว ความสำเร็จเริ่มอยู่ตัวแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว จึงอยาก “ลองอะไรใหม่ๆ” ซึ่งถ้าวิเคราะห์ไม่ดี ก็อาจเลยเถิดไปไกลจนลูกค้าแบนได้ แต่อย่าสับสน Position Amnesia ต่างจากการ Rebranding ตรงที่อย่างหลังจะเปลี่ยนจุดยืน-วิสัยทัศน์-ตำแหน่งการตลาด-กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดไปเลยควบคู่กับสินค้าใหม่ๆ ขณะที่ Position Amnesia ยังคงเหมือนเดิม […]
เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน
เราน่าจะเคยเห็นแบรนด์ที่ “สำเร็จชั่วข้ามคืน” สร้างความน่าอิจฉาและภาวนาให้เกิดกับแบรนด์ตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หลังจากที่ปลุกปั้นมานาน ก็มีบางแบรนด์ที่ “พังในชั่วข้ามคืน” เอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้แบรนด์ที่ทำพัง น่าจะมีประโยชน์และน่าเรียนรู้กว่าศึกษาแบรนด์ที่สำเร็จ เพราะปัจจัยที่ทำให้สำเร็จมักมี “มากกว่า” ปัจจัยที่ทำให้ล้มเหลว หรือก็คือ แบรนด์มีวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน แต่มักมีวิธีที่ทำให้ล้มเหลวคล้ายกัน ถ้าทำตามแบรนด์ที่สำเร็จ…อาจไม่ได้สำเร็จตามเสมอไป แต่ถ้าทำตามแบรนด์ที่ล้มเหลว…การันตีได้เลยว่าล้มเหลวแน่ Warren Buffett ยังเคยกล่าวว่า “ชื่อเสียงใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่ถูกทำลายลงได้ในง่ายๆ ภายใน 5 นาที” แล้วมีอะไรบ้างที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลว…จนถึงขั้นอาจพังทั้งแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน? อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ไม่ได้เป็น อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ “ไม่ใช่” มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จระดับนึงแล้ว ความสำเร็จอยู่ตัวแล้ว มี Best practice หรือแพทเทิร์นที่การันตีความสำเร็จแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว แล้วมักอยาก “ลองของ” อะไรใหม่ๆ (อาจเกิดจากพนักงานหน้าใหม่-ความคิดใหม่) ซึ่งการลองอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ “ใช่” ของแบรนด์ด้วย ไม่อย่างนั้น อาจเกิด Backlash ลูกค้าไม่ยอมรับ เมินหน้าหนี […]