📰 บทความทั้งหมด
Corporate Psychologist: อีกตำแหน่งงานใหม่ในอนาคต
ปกติแล้ว คนที่เรียนมาด้านจิตวิทยาโดยตรง เมื่อเรียนจบแล้ว มักเข้าทำงานในสถาบันวิจัยหรือสถานศึกษาชั้นนำต่อ แต่ในอนาคต คนกลุ่มนี้จะเริ่มถ่ายเทมาสู่องค์กรธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้น เกิดเป็น “Corporate Psychologist” ในสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งอาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการ และมีอัตรารายได้เติบโตถึง 10% ต่อปีเลยทีเดียว (ในเมืองไทย สัญญาณอาชีพนี้หรือที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยามีให้เห็นแล้ว เช่น 4-5 ปีที่ผ่านมา Content ด้านจิตวิทยาได้รับความนิยมมาโดยตลอด) ทำไมต้องมีตำแหน่ง Corporate Psychologist นี้ในอนาคต? โดยประวัติ ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ เพียงแต่จำกัดอยู่ในขอบเขตไม่กี่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อการมาถึงของโควิด-19 ปีที่ผ่านๆ มา ส่งผลให้คนทำงานทั่วโลกเจอกับภาวะเครียดฉับพลัน กระทบชีวิตด้านอื่น ลามไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังในหลากหลายมิติ พนักงานถูกปฏิบัติอย่างไร้ Empathy เพื่อให้องค์กรอยู่รอด ต้องทำงานหนักขึ้น แต่เงินเท่าเดิมหรือน้อยลง เรื่องนี้เกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกการทำงานที่ยิ่งซับซ้อน หนักและเหนื่อย มีอะไรใหม่ๆ มาไม่หยุด เช่น เดี๋ยวอนาคต(อันใกล้) Metaverse ก็จะมาแล้ว บัดนี้ทุกคนรู้สึกแล้วว่า สุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพกายและประสิทธิภาพการทำงานแบบ “แยกกันไม่ขาด” พนักงานและองค์กรต่างๆ จึงเริ่มมองหา “Corporate Psychologist” […]
Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอก
ไม่ต้องรีบก็ได้ค่ะ…แค่มีลูกค้าอีก 5 ท่านต่อคิวมาดูห้องคอนโดนี้อยู่ ของมีจำกัด หมดแล้วหมดเลย!! ชอปแบรนด์เนมที่ดิสเพลย์สินค้าแค่ไม่กี่ชิ้น เหล่านี้คือเทคนิคทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “Scarcity Error” Scarcity Error: ยิ่งมีน้อย ยิ่งมีค่า ยิ่งถูกหลอกง่าย Scarcity Error คือภาวะหลงกลทางจิตวิทยาที่คนเรามักให้คุณค่า(มากเกินไป) กับอะไรก็ตามที่ขาดแคลนมีปริมาณน้อย (Scarcity) มองข้ามราคาและคุณประโยชน์ที่จะได้รับ เพียงเพราะมันเหลือน้อย ศาสตราจารย์ Stephen Worchel จาก University of Hawaii ทำการทดลองโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม และแจกคุกกี้ชนิดเดียวกัน กลุ่มแรก – ได้รับคุกกี้เต็มโถ กลุ่มที่สอง – ได้รับคุกกี้เพียง 2 ชิ้นจากทั้งโถ จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมการทดลอง “ประเมินคุณภาพโดยสายตา” (Visual quality assessment) ก่อนจะพบว่า กลุ่มที่สองให้ “คะแนนสูงกว่า” กลุ่มแรกมาก!! ซึ่งมันย้อนแย้งกับความเป็นจริง คุกกี้ทั้งสองเป็นชนิดเดียวกันเป๊ะ และกลุ่มแรกได้คุกกี้เต็มโถซึ่งมีความ “อุดมสมบูรณ์” น่าจะให้คุณค่า-คุณภาพมากกว่า…แต่ผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม การทดลองลักษณะนี้ยังถูก […]
Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ
งานยังไม่เสร็จ เก็บเอาไปคิดตอนเที่ยวต่างประเทศ พรุ่งนี้พรีเซนท์ใหญ่ วันนี้เลยไม่มีกะจิตกะใจทำอย่างอื่น โฆษณาที่โชว์โลโก้แบรนด์ขาดๆ เกินๆ ให้คนไปคิดต่อ นี่คือจิตวิทยาที่เรียกว่า “Zeigarnik Effect” Zeigarnik Effect: ที่มาของการ “ค้างคาใจ” เมื่องานไม่เสร็จ Zeigarnik Effect มาจากชื่อของคุณ Bluma Zeigarnik นักจิตวิทยาชาวรัสเซีย ค่ำคืนหนึ่ง เธอไปรับประทานอาหารกับเพื่อนๆ ที่ร้านอาหาร รายการอาหารที่สั่งค่อนข้างเยอะแถมมีการขอรีเควสพิเศษ ที่น่าสนใจคือ พนักงานรับออเดอร์ไม่มีการ “จดออเดอร์” ลงกระดาษใดๆ ทั้งสิ้น Zeigarnik คาดการณ์ว่าต้องมีผิดพลาดบ้างแน่นอน แต่สิ่งที่เหลือเชื่อคือ เมนูที่เสิร์ฟกลับถูกต้องทุกจาน!! หลังทานเสร็จและออกร้าน เธอนึกขึ้นได้ว่าลืมผ้าเช็ดหน้าไว้ที่โต๊ะจึงกลับเข้าร้านไปเอา และพบกับพนักงานรับออเดอร์คนเดิม ที่เหลือเชื่อยิ่งกว่าคือ…พนักงานคนนี้จำเธอไม่ได้เลยแม้แต่น้อย!! เธอถามกลับไปว่า: “เป็นไปได้อย่างไร เมื่อกี้คุณยังจำเมนูทุกอย่างได้อย่างแม่นยำเป๊ะๆ อยู่เลย?” พนักงานตอบกลับว่า: “ผมจำเมนูที่ลูกค้าสั่งได้เป๊ะก็จริง แต่เมื่อพวกเค้าชำระเงินเสร็จ ผมก็ลืมหมดแล้ว” จากการศึกษาในเวลาต่อมา เธอค้นพบว่าสมองของมนุษย์พวกเราก็ทำงานไม่ต่างจากพนักงานคนนั้น จนกลายมาเป็น Zeigarnik Effect ในที่สุด Zeigarnik Effect คืออะไรกันแน่? […]
Mental Rehearsal: ความสำเร็จแรกเกิดขึ้นภายในใจ
ตื่นเต้นร้อนรนจนใจเต้นไม่หยุด เพราะอาทิตย์หน้านี้มีพรีเซนต์บนเวทีสัมมนาใหญ่ที่มีผู้นำภาคธุรกิจกว่า 100 คนมารวมกัน…จึงหลับตาลง ทำจิตใจให้สงบ แล้วเริ่ม “จินตนาการ” ว่าตัวเองกำลังยืนพูดอยู่บนเวทีนั้น… ที่คือเทคนิค “Mental Rehearsal” ที่ผู้นำในหลายวงการใช้กัน เทคนิคที่ไม่มีค่าใช้จ่ายนี้จะกลายมาเป็นเคล็ดลับความสำเร็จที่ผู้คนจากหลากหลายอาชีพทั้งนักธุรกิจชั้นนำระดับโลก / นักกีฬา / นักบินอวกาศ / แพทย์ / ศิลปิน ฯลฯ…สามารถเริ่มต้นทำได้!! Mental Rehearsal เคล็ดลับของเหล่าคนสำเร็จ Mental Rehearsal คือการ “ซักซ้อมในจิตใจ” (ซ้อมในหัว) เป็นการสร้างประสบการณ์ทางด้านจิตใจ “ฉายภาพ” เหตุการณ์เรื่องราวนั้นๆ ให้เกิดขึ้นในหัว มองเห็นได้ชัดเจนราวกับผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 (เช่น ได้กลิ่น / ได้ยินเสียง / ได้จับมือสัมผัสผู้คน) นักวิจัยด้านประสาทวิทยาจาก Stanford University เผยว่า Mental Rehearsal จะเข้าไปรื้อระบบสมองตอบโต้อัตโนมัติที่บันทึกอยู่ภายในสมองชั้นใน (Reptilian brain) เพื่อเขียนระบบชุดใหม่ขึ้นมาตามที่เราต้องการอยากให้เป็น ซึ่งจะส่งผลต่อการไหลลื่นเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในโลกความจริง ในทางปฏิบัติเราจะรู้สึกมี “แรงต้าน” […]
Cunningham’s Law: เพราะตอบผิด จึงได้คำตอบที่ถูกต้อง
รู้หรือไม่? สมองคนมีอยู่ 84,000 เซลล์ โควิด-19 เริ่มระบาดมาจากไต้หวัน GDP/หัว ของคนไทยสูงกว่ามาเลเซีย แว่บแรกที่เห็น เราทุกคนล้วนเอะใจถึงความถูกต้องของข้อมูลเหล่านี้ เรารู้อยู่ในใจลึกๆ ว่ามันผิดและมีแรงผลักดันอยากที่จะ “ทำให้ถูกต้อง”…ยินดีด้วย คุณกำลังตกอยู่ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า “Cunningham’s Law” Cunningham’s Law คืออะไร? หลายคนอาจเดาได้ว่าคำนี้มาจากชื่อคน โดยผู้ที่คิดค้นแนวคิดนี้คือคุณ Ward Cunningham โปรแกรมเมอร์รุ่นบุกเบิกชาวอเมริกัน และเป็นผู้พัฒนาเว็ปไซต์ WikiWikiWeb เวอร์ชันแรกของโลก เขาคิดค้นแนวคิดนี้ขึ้นมาตั้งแต่ยุค 1980s โดยมีหัวใจหลักคือ “วิธีที่จะได้คำตอบที่ถูกต้องบนโลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่การตั้งคำถามอันบรรเจิด…แต่คือการให้คำตอบที่ผิดไปก่อน” (เพราะเดี๋ยวผู้คนจะมาทำให้ถูกเอง!!) เขานำแนวคิดนี้ไปต่อยอดจนนำมาสู่ Wikipedia ที่เปิดพื้นที่ให้ใครก็ได้มาแก้ไขข้อมูลและประสบความสำเร็จไปทั่วโลก จิตวิทยาเบื้องหลัง Cunningham’s Law มีคำอธิบายทางจิตวิทยาเบื้องหลัง เพราะคนเรามักให้ความสนใจในการ “แก้ไขสิ่งที่ผิด” มากกว่าการตอบคำถามอันชาญฉลาด ส่วนหนึ่งเพราะการแก้ไขให้ถูก ง่ายกว่าการคิดเริ่มจากศูนย์ เพราะมีพื้นฐานตรรกะมานำเสนอให้เราอยู่บ้างแล้วนั่นเอง และมนุษย์เรามีจริตในการอยากแก้ไขบางอย่างที่ผิดให้ถูกต้อง หรือในทางจิตวิทยาเรียกว่า “Tendency to Correct” แต่โดยทั่วไป Cunningham’s Law จะทำงานได้มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้คนเป็นพิเศษ […]
Paradox of Choices: ลูกค้าไม่ซื้อเพราะตัวเลือกมากเกิน
มีกางเกงยีนส์ 10 แบบให้เลือก น่าจะดีกว่า 5 แบบ มีไอศครีม 20 รสให้เลือก ลูกค้าน่าจะชอบกว่า 4 รส เอาตัวอย่างสินค้าให้ลอง 10 ชนิด น่าจะดีกว่า 3 ชนิด ขอนำเสนอเยอะๆ ไว้ก่อน ลูกค้าจะได้มีตัวเลือก…หากคุณกำลังคิดแบบนี้ ระวังให้ดี มันอาจนำไปสู่ “Paradox of Choice” Paradox of Choice คืออะไร? Paradox of Choice เกิดขึ้นเมื่อ “ตัวเลือก” เยอะเกินจุดหนึ่ง มันจะย้อนกลับมาทำร้ายธุรกิจเรา ทำให้ลูกค้าเลือกไม่ถูก สับสน จนสุดท้ายไม่ซื้ออะไรเลยซักอย่าง Image Cr. bit.ly/3vJJwzY ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? Barry Schwartz นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ทำการทดลองในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่ง โดยการเปิดบูธให้ทดลองชิมเยลลี่ฟรี บูธวันแรกมีให้เลือกถึง 24 รส ลูกค้าสามารถลองชิมกี่ครั้งก็ได้ แถมได้ซื้อในราคาลดพิเศษ ปรากฎว่าคนเข้ามาดูบูธถึง […]
In-Group & Out-Group Bias: เลือกปฏิบัติเพียงเพราะ พวกฉัน-พวกมัน
อภิสิทธิ์เตียงผู้ป่วยโควิด การทำร้ายชาวเอเชียในอเมริกา เชียร์บอลทีมชาติตัวเอง เข้าข้างเด็กจบใหม่ที่มาจาก U เดียวกัน นี่คือตัวอย่างเพียงเสี้ยวเดียวของ In-Group & Out-Group Bias ที่ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในโลกธุรกิจ แต่อยู่รอบตัวเราในชีวิตประจำวัน ความต่างของ In-Group & Out-Group Bias In-Group Bias คือ กลุ่มทางสังคม (Social Group) ที่คนนิยามตัวเองว่าเป็นสมาชิกในนั้น และมีแนวโน้มเข้าข้างเห็นดีเห็นงามกับการกระทำใดๆ เช่น แฟนบอลทีม A Out-Group Bias คือ กลุ่มอื่นที่นอกเหนือไปจากกลุ่ม In-Group และมีแนวโน้มมองการกระทำใดๆ ในแง่ลบ เช่น แฟนบอลทีม B (มองในมุมมองของทีม A) โดย “คุณลักษณะ” ที่คนใช้นิยามตัวเองว่าเป็นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นได้หลากหลายมาก เช่น เชื้อชาติ / เพศ / อายุ / ศาสนา / พรรคการเมือง / […]
Sleep Hygiene “นอน” อย่างไรให้ “งาน” ออกมาดี!
1 วัน มี 24 ชั่วโมง ผู้บริหารทั่วไปมักนอนให้น้อยที่สุดและทำงานให้มากที่สุด เพราะคิดว่า ยิ่งมีเวลาทำงานมาก ยิ่งมีประสิทธิภาพ…แต่ความจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น หารู้ไม่ว่า! การทำงานยิงยาว 20 ชั่วโมง ได้คุณภาพงาน “น้อยกว่า” การทำงานแค่ 8 ชั่วโมง…ในวันที่ได้นอนเต็มอิ่มครบ 8 ชั่วโมงเสียอีก! ผลการวิจัยใน 4 ยักษ์ใหญ่บริษัทสัญชาติอเมริกันพบว่า การนอนไม่เพียงพอส่งผลให้พนักงานของตนเกิด Lost Productivity สูงถึงคนละ $3,500/ปี (ซึ่งยังไม่รวมตัวแปรอื่นอย่างความสุขในการทำงาน) หากมองในสเกลใหญ่ขึ้น RAND Corporation สถาบันด้านการวิจัยชั้นนำจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานอันน่าตกใจว่า การนอนหลับไม่เพียงพอ สร้างความเสียหายมหาศาลแก่เศรษฐกิจทั้งประเทศโดยรวม อเมริกา 411,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ญี่ปุ่น 138,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เยอรมนี 60,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ อังกฤษ 40,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ความเสียหายคิดเป็นถึง 2-3% ของ GDP ทั้งประเทศ ทำไมจึงเป็นเช่นนี้? อย่างดี…ผู้บริหารทั่วไปมักคิดว่า […]