📰 บทความทั้งหมด

สยามพิวรรธน์ เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ฉายศักยภาพร่วมทีมกับมืออาชีพพัฒนาธุรกิจสู่อนาคต

สยามพิวรรธน์ เปิดโอกาสคนรุ่นใหม่ฉายศักยภาพร่วมทีมกับมืออาชีพพัฒนาธุรกิจสู่อนาคต

“Siam Piwat x BAScii Internship Program 2022” เปิดเวทีให้นิสิตคนรุ่นใหม่ได้แสดงความสามารถและศักยภาพร่วมงานกับทีมงานสยามพิวรรธน์ผู้สร้างโกลบอลเดสนิชั่นที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?

Executive Mannerism: ผู้นำที่ดีควร “วางตัว” อย่างไร?

ลูกน้องจับกลุ่มคุยเล่น คุณแค่เดินผ่านไป ทุกคนวงแตก!! ลูกน้องมารายงานคุณด้วยสีหน้าประหม่า เกร็ง ลุกลี้ลุกลน ลูกน้องเป็น Yes Man ไม่เคยปฏิเสธความคิดเห็นคุณเลยซักครั้ง ถ้าคุณเป็นหัวหน้า และนี่คือประสบการณ์ที่ได้รับ…คุณอาจกำลังมีปัญหาเรื่องกิริยามารยาทและบุคลิกภาพในการ “วางตัว” กับลูกน้องในที่ทำงานแล้ว มนุษย์อยู่เป็นเผ่า สังคมมนุษย์อยู่กันแบบลำดับชั้น (Hierarchy) มีผู้นำเผ่าเบอร์ 1 ชัดเจน (อัลฟ่า) และผู้ปกครองในระดับย่อยลงมาเรื่อยๆ  ถ้าผู้นำดี ทำงานเก่ง มีความยุติธรรม ใส่ใจลูกน้อง…จะเป็นที่รักใคร่ของผู้คน ถ้าผู้นำไม่ดี ไร้ผลงาน เอาเปรียบ ไม่เห็นหัวลูกน้อง…จะถูกโค่นล้มบัลลังก์ เรื่องนี้ถูกกำหนดอยู่ในระดับพันธุกรรมของมนุษย์ และลักษณะสังคมนี้ยังพบได้ในญาติที่ใกล้เคียงกับเราที่สุดอย่าง ลิงชิมแปนซี ผู้นำองค์กรธุรกิจก็ไม่ต่างกัน สถานะตำแหน่งที่ครอบครองอยู่ ย่อมถูกจับตามองจากลูกน้อง การปฏิบัติตัวและวางตัวทุกการกระทำ…จึงสำคัญมากๆ แต่ก่อนที่จะไปรู้จักวิธีการวางตัว เราไปสำรวจกันก่อนว่าผู้นำมักวางตัวผิดพลาดอย่างไร? Us VS. Them คุณอาจเป็นหัวหน้าที่โปรไฟล์ดี การศึกษาสูง โตเมืองนอก แต่นั่นก็เป็น “ดาบสองคม” เวลาทำงานกับลูกค้าที่มาจากแบคกราวน์ที่หลากหลาย หัวหน้าที่ไม่พยายาม “ปรับตัว” ในเรื่องนี้ นำไปสู่สไตล์การทำงาน / การแต่งตัว / […]

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก?

Constructive Feedback ฟีดแบคยังไงให้ลูกทีมรัก?

ทำงานแบบนี้พกสมองมาด้วยรึเปล่า? ทำงานห่วยขนาดนี้ ไม่ต้องจบปริญญาตรีก็ได้มั้ง! พี่ไม่เสียเวลาสอนงานเธอหรอก เพราะเธอโง่เกินกว่าจะเรียนรู้ได้ เราทุกคนน่าจะเคยได้รับฟีดแบค (Feedback) แบบนี้มาไม่มากก็น้อย ทั้งโดนด้วยตัวเอง / เห็นคนอื่นโดน / แม้แต่ตัวเราเองที่เผลอทำกับคนอื่น การฟีดแบคแบบนี้นอกจากจะไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำลายความสัมพันธ์ “ซื้อใจ” เพื่อนร่วมงานไม่ได้ด้วย (เหมือนเรียกไปด่าซะมากกว่า) ผลสำรวจจาก Gallup พบว่า มีพนักงานเพียง 26% เท่านั้นที่รู้สึกว่า ฟีดแบคจากหัวหน้าช่วยพัฒนาตัวเค้าขึ้นได้จริงๆ ในการทำงานเราใช้จิตวิทยาไม่น้อย การฟีดแบคก็เช่นกัน ข่าวดีคือ มีสิ่งที่เรียกว่า “Constructive Feedback” ให้ฟีดแบคด้วยวิธีที่สร้างสรรค์ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม แถมยังรักษาความสัมพันธ์อันดีกันได้ด้วย 1. เปิดด้วยเรื่องดี  มนุษย์จู่ๆ ไม่ชอบให้ใครมาวิจารณ์หรอก แต่มนุษย์ชอบได้รับการชมเชย-ชอบเป็นที่รักของคนอื่น นี่เป็น “กลไกธรรมชาติ” ที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน เราจึงต้องเริ่มต้นด้วย “ข้อดี-จุดแข็ง” เสียก่อน เพื่อให้อีกฝ่ายเปิดใจรับฟัง พี่ชอบ Font ที่เราเลือกใช้ใน Artwork นี้มาก ดูภูมิฐานและหรูหรา บทความนี้ใช้คำพูดได้สละสลวย ดูมีวาทศิลป์ในการเขียน ประชุมเมื่อวาน […]

5 Coaching Mindset การันตีความล้มเหลว

5 Coaching Mindset การันตีความล้มเหลว

IBISWorld เผยว่าปี 2019 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมโค้ชชิ่งเฉพาะในสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าเกือบ 400,000 ล้านบาท จากการวิจัยของ Fortune 500 พบว่าการโค้ชผู้บริหารแบบตัวต่อตัวที่มีประสิทธิภาพ (Executive Coaching) สร้างผลตอบแทน ROI ได้สูงถึง 788%  Forbes เปิดเผยว่า หนึ่งในการโค้ชชิ่งที่โตเร็วที่สุดในยุคนี้คือ การโค้ชเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่พนักงาน (Employee Satisfaction Coach) เพราะพนักงานคือทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท และพวกเขาต้องการมากกว่าแค่เงิน ไม่ว่าจะรูปแบบไหน การโค้ชชิ่งล้วนมีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม คนทำงานหลายคนยุคนี้ยังมี Mindset ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับการโค้ชชิ่ง…รวมถึงบรรดาผู้บริหาร  โดยเฉพาะ 5 Coaching Mindset เหล่านี้ ที่หากเผลอนำไปใช้แล้วล่ะก็ คือรถไฟเหาะสู่ความล้มเหลวแน่นอน 1. Leading questions ทุกคนมองว่านาย A คือต้นเหตุของปัญหา…แล้วคุณคิดว่าไง? คุณคิดอย่างไรกับบริการอันเป็นเลิศของบริษัท A?  แล้วทำไมคุณไม่บอกหัวหน้าไปตรงๆ ล่ะ?  คำถามชี้นำที่ไม่เป็นกลางลักษณะนี้ นำไปสู่การ “ตีกรอบความคิด” (Framing)  […]