The Lauderdale Paradox: อีกสาเหตุลับของภาวะโลกร้อน

The Lauderdale Paradox: อีกสาเหตุลับของภาวะโลกร้อน
  • คนรวยที่สุด 80 คนแรกของโลก มีความมั่งคั่งเท่ากับ คนจนที่สุดของโลก 3,500 ล้านคน
  • จะเป็น Top 1% ในอังกฤษ ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ £160,000 ต่อปี
  • จะเป็น Top 1% ในอเมริกา ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ $394,000 ต่อปี

ขณะที่เรากำลังพูดถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพื่อหวังว่าเม็ดเงินจะลงมาถึงคนส่วนใหญ่มากขึ้น (Trickle-down) แต่ทำไมความเหลื่อมล้ำกลับยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกที?

หนึ่งในเบื้องหลังความเหลื่อมล้ำนี้ คือสิ่งที่เรียกว่า “The Lauderdale Paradox”

The Lauderdale Paradox: สาเหตุลับของความเหลื่อมล้ำ

James Maitland ผู้มีสถานะเป็นเอิร์ลที่ 8 แห่งลอเดอร์เดล (The 8th Earl of Lauderdale) หนึ่งในสมาชิกชนชั้นนำของจักรวรรดิอังกฤษ ตั้งข้อสังเกตถึงระบบทุนนิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้นในศตวรรษที่ 18 ว่า 

มีความสัมพันธ์ที่สวนทางกันระหว่าง ความมั่งคั่งสาธารณะ (Public wealth) และ ความร่ำรวยส่วนตัว (Private riches)

อันหลังจะเพิ่มขึ้นได้ ต้องมาจากการลดลงของอันแรก 

ความร่ำรวยส่วนตัวจะเพิ่มได้ ต้องมาจากลดลงของความมั่งคั่งสาธารณะ

รากเหง้าของ The Lauderdale Paradox

Maitland ให้คำอธิบายว่า เริ่มต้นขึ้นในยุคล่าอาณานิคม (Colonialism) โดยเจ้าอาณานิคมไปยึดประเทศอื่น แล้วสร้างความชอบธรรมในการเป็น “เจ้าของทรัพยากร” ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น กฎหมาย และ ความรุนแรง

A statue of a person holding a torch

Description automatically generated with low confidence

เมื่อเป็นเจ้าของทรัพยากรแล้ว (เช่น ที่นา) ขั้นตอนต่อไปคือการสร้างสิ่งที่เรียกว่า Artificial Scarcity หรือ ความขาดแคลนเทียม โดยเจ้าของที่นาบังคับให้ประชาชนทำงานแลกเงินเพื่อมาซื้อของที่อดีตเคยได้มาฟรีๆ (เป็นทั้งแรงงาน และ ผู้บริโภค)

อะไรยิ่งขาดแคลน ยิ่งชาร์จราคาได้มาก ยิ่งทำเงินได้มาก (ซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐาน Demand-Supply ของวิชาเศรษฐศาสตร์)

(เราจะเห็นว่า ชื่อมัน “เทียม” เพราะเดิมทีปริมาณทรัพยากรที่มีอยู่ไม่ได้ขาดแคลนเลย แท้จริงแล้ว…มีมากพอสำหรับทุกคนด้วยซ้ำ)

ตัวอย่างที่สะท้อนเรื่องนี้ได้ชัดเจนคือ อินเดีย

จักวรรดิอังกฤษเข้าไปยึดที่ดินทำมาหากินของชาวอินเดีย กลายเป็นเจ้าของที่นา และประชาชนต้องจำใจทำงานแลกค่าแรงใน(อดีต)ที่ดินของตัวเอง

  • ปี 1875 อินเดียส่งออกข้าว 3 ล้านตัน
  • ปี 1900 อินเดียส่งออกข้าว 10 ล้านตัน

ในเวลา 25 ปี อินเดียส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นกว่า 3 เท่า แต่ขณะเดียวกัน ก็เป็นช่วงเวลาที่เกิด The Great Famine of India ภาวะอดอยากที่รุนแรงที่สุดเมื่อปี 1876-1878 (แต่ผลกระทบอยู่ต่ออีกนับทศวรรษ) ซึ่งทำให้คนอินเดียหิวโหยจนเสียชีวิตกว่า 30 ล้านคน!!

ชาวอินเดียหิวโหยล้มตายจำนวนมาก (Public wealth ลดลง) ทั้งๆ ที่ปริมาณข้าวในคลังกลับเป็นบวกเพิ่มทุกปี เพราะข้าวถูกส่งออกไปยังประเทศเจ้าอาณานิคม (Private riches เพิ่มขึ้น)

A field of green grass

Description automatically generated with low confidence

เหตุการณ์ลักษณะนี้ยังเกิดขึ้นทำนองเดียวกันกับอาณานิคมที่อื่นและสินค้าประเภทอื่น

  • ไร่อ้อยในอเมริกาที่ใช้แรงงานทาสคนดำ ซึ่งผลิตน้ำตาลมหาศาลส่งกลับไปอังกฤษจนเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดวัฒนธรรม Afternoon tea
  • เหมืองแร่ในแอฟริกา ซึ่งผลิตเหล็กส่งกลับไปอังกฤษ กลายเป็นวัสดุชั้นดีในการสร้างสถาปัตยกรรมอันสวยงามโอ่อ่า (Beautiful stately architecture)
A picture containing plate, meal, several, porcelain

Description automatically generated

The Lauderdale Paradox ในปัจจุบัน

The Lauderdale Paradox เตือนเราว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่ควรจะเป็นของสาธารณะใช้ร่วมกัน แต่กลับถูกยกให้เป็นของส่วนตัว (นายทุนเพียงหยิบมือ) ตัวอย่างเช่น

  • ริมแม่น้ำใหญ่ประจำเมือง จากที่ควรจะสร้างเป็นทางเดินอเนกประสงค์ให้ผู้คนได้ใช้อาศัย แต่ถูกขายที่ดินให้เอกชนเอาไปพัฒนาเป็นคอนโด-โรงแรม
  • ที่ดินอสังหาริมทรัพย์ (เช่นที่ ฮ่องกง) ถูกกลไกตลาดทำให้ราคาพุ่งสูงเกินไปจนคนธรรมดาไม่สามารถซื้อได้อีกต่อไป (ต้องเช่าอยู่ตลอดชีวิต)
A picture containing outdoor, building, city, background

Description automatically generated
  • น้ำมัน ถูกควบคุมโดยบางประเทศ-บางกลุ่มเช่น OPEC คนทั่วโลกจำเป็นต้องใช้น้ำมันในแทบทุกกิจกรรม แต่กลับถูกควบคุมโดยผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คน

ยังรวมไปถึง วิกฤติขาดแคลนน้ำดื่ม / มลพิษทางอากาศ / ความอดอยากแร้นแค้น / วิกฤติขาดแคลนพลังงาน / จนนำไปสู่ภาวะโลกร้อน

มาถึงยุคปัจจุบัน The Lauderdale Paradox คือเบื้องหลังที่นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงขึ้น (Rising inequality) ของคนในสังคม 

สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูงย่อมไม่เป็นผลดีต่อหลายๆ เรื่อง 

  • ขัดกับ Common Sense ของเราที่เห็นว่า บางคนมีเพียบพร้อมทุกอย่าง ขณะที่อีกหลายคนไม่มีอะไรเลย 
  • กระทบต่อความสามัคคีของผู้คนในสังคม 
  • คนรวยมีแนวโน้มมองตัวเองเหนือกว่า (Superior) ผู้อื่น
  • เป็นภัยต่อ “ประชาธิปไตย” เงื่อนไขของประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งคือ ผู้คนในสังคมต้องมีความเข้าอกเข้าใจและเคารพซึ่งกันและกันมากพอ แต่ช่องว่างคนรวย-คนจน ที่กว้างทำให้ชีวิตไม่ได้มาสัมผัสกันเลย
A person holding a sign

Description automatically generated with medium confidence

ทำไมองค์กรต้องให้ความสำคัญ?

เพราะองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องมีศีลธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ สิ่งไหนที่ควรเป็นของสาธารณะ (Public wealth) ก็ไม่ควรไปกอบโกยมาเป็นของตัวเอง (Private riches)

นอกจากนี้ ประยุกต์มาใช้ในบริบทภายในบริษัทได้เช่นกัน

  • Private rich อาจหมายถึง คนส่วนน้อยของบริษัท เช่น CEO และผู้บริหาร
  • Public wealth อาจหมายถึง คนส่วนใหญ่ของบริษัท เช่น พนักงานทั่วไป

แน่นอนว่า เป้าหมายไม่ใช่รายได้ที่เท่ากันทั้งหมด แต่เป็นการกระจายความมั่งคั่งที่เป็นธรรมขึ้น (A fairer distribution) 

เพราะผู้นำองค์กรที่มีคุณธรรมจะตระหนักดีว่า…ตนไม่ได้ทำทั้งหมดคนเดียว เบื้องหลังนวัตกรรมไอเดียดีๆ มากมาย มาจากพนักงานระดับปฏิบัติการไม่น้อย ที่มาเสนอหัวหน้า / มาขออนุมัติ / หรือมาจุดประกายความคิดเห็นเพื่อขัดเกลาไอเดียจนทำได้สำเร็จในที่สุด

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง