รวม 4 ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจการพรีเซนท์ (และการทำงานทั่วไป)

รวม 4 ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจการพรีเซนท์ (และการทำงานทั่วไป)

เราทราบกันดีว่า คนที่พรีเซนท์งานเก่ง มีความมั่นใจ พูดจาฉะฉาน ย่อมมีเสน่ห์และชนะใจผู้ฟังจนได้สิ่งที่ต้องการในที่สุด

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราเรียนรู้ “ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจ” ในการพรีเซนท์งาน ที่ไม่ใช่แค่มาจากประสบการณ์คำแนะนำจากคนโน้นคนนี้ แต่เป็นผลลัพธ์มาจากการทดลองและมีข้อสนับสนุนถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ทุกเรื่อง

A picture containing indoor, wall

Description automatically generated

Embodied Cognition – การเคลื่อนไหวตัวที่แสดงภาวะผู้นำ

Caroline Williams ผู้เขียนหนังสือ Move! The New Science of Body Over Mind เผยว่า ผู้คนมักคิดว่า มนุษย์ถูกขับเคลื่อนด้วยอารมณ์จิตใจ ข้างนอกเป็นผลลัพธ์จากสิ่งที่คิดมาจากข้างใน…โดยลืมไปว่า แท้จริงแล้ว การเคลื่อนไหว (Move) ของร่างกายก็มีอิทธิพลต่อสมองมนุษย์โดยตรงแบบแยกออกจากกันไม่ได้เลย

ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ถ้าคุณรู้สึกซึมเศร้าอยู่ แล้วคุณลองกระโดดตบมือ ทำหน้ายิ้ม พร้อมหัวเราะ(แบบหลอกๆ) ออกไป แน่นอนว่า เลือดคุณย่อมสูบฉีด เหงื่อเริ่มออก และแล้วอารมณ์ด้านบวกก็จะเริ่มเกิดขึ้น พร้อมๆ กับอารมณ์เศร้าหมองที่เริ่มจางหายไป

การเคลื่อนไหวของร่างกายที่ส่งผลไปถึงสมองโดยตรงแบบนี้มีชื่อเรียกทางการว่า “Embodied Cognition”

A person in a suit in front of a large crowd

Description automatically generated with low confidence

โดย Embodied Cognition ถูกนำมาประยุกต์ได้กับการทำงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจได้โดยตรง

เช่น เวลายืนพรีเซนท์ ให้เชิดหน้าชูตา อกผายไหล่ผึ่ง(ผู้ชาย) ยืนอย่างมั่นคง เวลาพูดประโยคเด็ดคอนเฟิร์มใดๆ ให้กำมือข้างนึงต่อยไปที่อีกข้างจนเกิดเสียงดัง

ใช่…คุณอาจรู้สึกเกร็งๆ และดูไม่เป็นตัวของตัวเองเสียเลยเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาปกติ แต่สำหรับจังหวะออกหน้าพรีเซนท์งานแล้ว เรื่องนี้ช่วยได้มาก เพราะถือว่า Win-Win คุณย่อมรู้สึกมั่นใจขึ้นจาก Embodied Cognition และผู้ชมก็ได้เห็นภาพลักษณ์บุคลิกท่าทางที่ดูน่าเชื่อถือจากคุณเช่นกัน

Embodied Cognition ยังมักใช้ได้ดีเสมอกับการ “เดิน” เพราะการเดินทำให้สมองแล่นไปในตัว โดยผลวิจัยเสริมอีกว่า แม้การเดินเสร็จสุดลงแล้ว แต่ประสิทธิภาพความคิดสร้างสรรค์จะยังคงตกค้างไปอีก 15-20 นาที 

วิธีที่ประยุกต์ใช้ได้ง่ายๆ คือ ก่อนเข้าประชุมงาน / ก่อนให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน / หรืองานใดก็ตามที่ต้องใช้สมองถกเถียงคิดวิเคราะห์ ให้คุณออกไปเดินซัก 15 นาทีก่อน เวลาขึ้นเวที คุณจะรู้สึกมั่นอกมั่นใจขึ้นเพราะ “สมองแล่น” ถูกจี้ถามอะไรมาก็ตอบอย่างสวยงามได้หมด

Enclothed Cognition – การแต่งกาย ที่เสริมความมั่นใจ

ภาวะความนึกคิดและความมั่นอกมั่นใจในตัวเอง มีอิทธิพลโดยตรงมาจากการ “แต่งกาย” ของตัวคุณเอง เรื่องนี้มีหลักจิตวิทยาที่เรียกว่า “Enclothed Cognition” คือคนเรามักมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามสไตล์การแต่งกายที่สวมใส่

A person in a suit and tie

Description automatically generated with medium confidence

ประเด็นที่น่าสนใจคือ เรามักคิดว่ามาตรฐานการแต่งกายที่เสริมความมั่นใจในการทำงาน คือการแต่งแบบ “จัดเต็ม” ไว้ก่อน ถ้าเป็นผู้ชายก็คือใส่สูท ผูกไท ติดพ็อกเก็ตที่หน้าอก

แต่อันที่จริงแล้ว Enclothed Cognition จะทรงพลังมากที่สุดก็ต่อเมื่อ คุณแต่งกายที่เป็น “ตัวของตัวเอง” ที่สุดต่างหาก ข้อแม้คือต้องถูก “กาลเทศะ” เข้ากับสภาพแวดล้อมสถานที่ด้วย

ตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพ เช่น คุณมั่นใจที่สุดเวลาลุกขึ้นพรีเซนท์ในที่ประชุมใหญ่เมื่อใส่ เสื้อยืดแขนสั้น+แจ็คเก็ตสูทคลุมทับ (ไม่ต้องใส่เชิ้ตแขนยาว+ผูกเน็คไท) …แต่ถ้าคุณใส่ชุดเดียวกันนี้ไปเดิน “ตลาดสด” แถวบ้าน อาจรู้สึกเคอะเขิน ประหม่า รู้สึกแต่งตัวจัดเต็มเกินไป

Enclothed Cognition ยังอยู่เบื้องหลังของแนวคิดที่ผู้บริหารรณรงค์ให้พนักงานที่ Work From Home ไปอาบน้ำอาบท่า แล้วใส่ “ชุดทำงาน” แบบเป็นเรื่องเป็นราว(แต่ไม่ต้องถึงกับจัดเต็ม) แม้จะนั่งหน้าคอมบนโต๊ะทำงานที่บ้านก็ตาม เพราะการแต่งกายส่งผลอิทธิพลต่อการทำงานของเราโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง

ที่น่าสนใจไปอีกคือ Enclothed Cognition ไม่ได้มีผลแค่ผู้สวมใส่เท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงคนรอข้างในที่ทำงานด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องพบเจอกับลูกค้า การสร้างความมั่นใจและน่าเชื่อถือผ่าน Enclothed Cognition เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เลย

Targeting – เป้าหมายมีไว้โฟกัส

นี่คือขั้นกว่าของ eyes contact เป็นการ “โฟกัส” รวมศูนย์ความสนใจทั้งหมดไปที่ “1 คน” (Target) คนๆ เดียวกับที่คุณ “ไว้วางใจ” มากที่สุดในห้องประชุมหรือสถานที่นั้นๆ

A group of people sitting together

Description automatically generated with medium confidence

เรื่องนี้สอดคล้องกับกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ที่ถึงแม้เราจะอยู่ต่อหน้าคนหมู่มากที่สนับสนุนเรา แต่ก็อาจรู้สึกประหม่าจากการ “ถูกจ้องมอง” ได้อยู่ดี การกรอกสายตาหาคนที่คุณไว้ใจจึงช่วยได้มาก

จะว่าไปแล้ว เรื่องนี้เราทุกคนมักเคยทำมาแล้วสมัยเรียนหนังสือ เวลาคุณครูให้ออกไปพูดหน้าชั้นแล้วตื่นเต้น เรามัก “มองหาเพื่อนสนิท” ที่ไว้ใจเพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้ตัวเอง

แต่กรณีที่ในห้องประชุมนั้นไม่มีคนที่คุณรู้จักหรือไว้วางใจซักคน วิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ดีที่สุดคือ ให้มองหาคนที่ส่งสัญญาณว่า “เห็นด้วย” กับคุณ เช่น หยักหน้าตามสิ่งที่คุณพูด แล้วเลือกเค้าเป็นเป้าหมายในการโฟกัสซะ(มโน) 

Emulating – ไม่อยากแค่เหมือน แต่จะเก่งกว่า

นี่คือขั้นกว่าของการสร้างความเป็น Us พวกเดียวกันเพราะเป็นการตั้งเป้าหมายนำตัวเองไปเป็น Alpha จ่าฝูงในคนบางกลุ่ม และเป็นวิธีการที่ก่อให้เกิดการ “เปรียบเทียบ” ผูกตัวเองกับอีกฝ่ายที่มีชื่อเสียง

ตัวอย่างเช่น คุณต้องการ Emulate ให้เหนือกว่า Steve Jobs ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านการนำเสนอพรีเซนท์ 

คุณเริ่มต้นด้วยการวิเคคาะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของ Steve Jobs และอาจพบว่า จุดแข็งของเค้าช่างแข็งแกร่งเหลือเกินจนยากจะเอาชนะได้ ก็ให้เบี่ยงเบนความสนใจไปโฟกัสที่จุดอ่อน คุณอาจพบว่า เช่น เค้ามีการยิ้มอย่างเป็นมิตรที่ไม่บ่อยนัก ทำให้บรรยากาศดูซีเรียสไปหน่อย

วิธีการต่อจากนี้คือ คุณพยายามลอกเลียนแบบจุดแข็งของอีกฝ่าย ขณะเดียวกัน ก็ลบจุดด้อยจากการฝึกฝนมา เราจะเห็นว่าการ

ทั้งหมดนี้คือ 4 ศาสตร์เพิ่มความมั่นใจในการพรีเซนท์งาน (และการทำงานทั่วไป) ที่ใครก็ตามสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ไม่มีต้นทุนสูง เริ่มได้ทันทีตั้งแต่วันนี้

คำถามต่อไปคือ แล้วคุณได้เริ่มลองทำแล้วหรือยัง?

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ…จะได้มีความสุขในการทำงานทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง