📰 บทความทั้งหมด

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เทคนิคสร้างแบรนด์ให้ “พัง” ในชั่วข้ามคืน

เราน่าจะเคยเห็นแบรนด์ที่ “สำเร็จชั่วข้ามคืน” สร้างความน่าอิจฉาและภาวนาให้เกิดกับแบรนด์ตัวเอง แต่ขณะเดียวกัน หลังจากที่ปลุกปั้นมานาน ก็มีบางแบรนด์ที่ “พังในชั่วข้ามคืน” เอาดื้อๆ ได้เหมือนกัน  จะว่าไปแล้ว การเรียนรู้แบรนด์ที่ทำพัง น่าจะมีประโยชน์และน่าเรียนรู้กว่าศึกษาแบรนด์ที่สำเร็จ เพราะปัจจัยที่ทำให้สำเร็จมักมี “มากกว่า” ปัจจัยที่ทำให้ล้มเหลว หรือก็คือ แบรนด์มีวิธีที่นำไปสู่ความสำเร็จแตกต่างกัน แต่มักมีวิธีที่ทำให้ล้มเหลวคล้ายกัน ถ้าทำตามแบรนด์ที่สำเร็จ…อาจไม่ได้สำเร็จตามเสมอไป แต่ถ้าทำตามแบรนด์ที่ล้มเหลว…การันตีได้เลยว่าล้มเหลวแน่ Warren Buffett ยังเคยกล่าวว่า “ชื่อเสียงใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่ถูกทำลายลงได้ในง่ายๆ ภายใน 5 นาที” แล้วมีอะไรบ้างที่ทำให้แบรนด์ล้มเหลว…จนถึงขั้นอาจพังทั้งแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืน? อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ไม่ได้เป็น อยากเป็นในสิ่งที่แบรนด์ “ไม่ใช่” มักเกิดกับแบรนด์ที่สำเร็จระดับนึงแล้ว ความสำเร็จอยู่ตัวแล้ว มี Best practice หรือแพทเทิร์นที่การันตีความสำเร็จแล้ว ลูกค้ารู้จักและเกิดการซื้อซ้ำต่อเนื่องแล้ว  แล้วมักอยาก “ลองของ” อะไรใหม่ๆ (อาจเกิดจากพนักงานหน้าใหม่-ความคิดใหม่) ซึ่งการลองอะไรใหม่ๆ เป็นเรื่องดี แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ “ใช่” ของแบรนด์ด้วย ไม่อย่างนั้น อาจเกิด Backlash ลูกค้าไม่ยอมรับ เมินหน้าหนี […]

Richsplaining คิดว่ารวยกว่าแล้วจะพูดอะไรก็ได้หรือ?!!

Richsplaining คิดว่ารวยกว่าแล้วจะพูดอะไรก็ได้หรือ?!!

ข้าวของแพง แต่ยังเจียดเงินซื้อเครื่องสำอางอีกเหรอ?!! เงินเดือนน้อย แต่ถอยรถแล้ว ชอบเป็นหนี้เหรอ?!! เอาเงินค่ากาแฟเป็น 100 ไปลงทุนในหุ้นดีกว่าไหม?!! ถ้าคุณเจอคนพูดแบบนี้ใส่หน้า ระวังให้ดี…คุณอาจเจอกับ “Richsplaining” เข้าให้แล้ว!! Richsplaining – รวยกว่าแต่ใช่ว่าจะพูดอะไรก็ได้!! Richsplaining คือคำศัพท์ไม่เป็นทางการที่พลิกแพลงมาจาก “Rich” กับ “Explain” ใช้สื่อถึง คนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานและมีความมั่นคงทางการเงินสูงกว่าค่าเฉลี่ยคนทั่วไป(หลายเท่าตัว) แต่กลับมีจริตชอบเที่ยวไปแนะนำเชิงเลคเชอร์ “สั่งสอน” ผู้อื่น ทั้งในแง่การทำงานและการใช้ชีวิต น้ำมันแพง เงินเฟ้อพุ่ง แล้วยังจะซื้อเครื่องสำอางอีกเหรอ?!! เงินเดือนไม่ได้สูง แต่ออกรถแล้ว ชอบเป็นหนี้เหรอ?!! คือเป็นคำชี้แนะประเภทที่เมื่อฟังจบแล้ว “ไม่นำไปสู่อะไร” ไม่ได้กำลังใจเพิ่มขึ้น ไม่เห็นหนทางแก้ปัญหา หนำซ้ำ ยังรู้สึก “ถูกทอดทิ้ง” ราวกับไม่มีใครเข้าใจคุณบ้างเลย รู้ได้ยังไงว่าเจอ Richsplaining เข้าให้แล้ว?  ข้อสังเกตคือ คนที่มีพฤติกรรม Richsplaining จะมาพร้อมอีโก้ที่สูงลิบ มุมมองคับแคบ และทัศนคติเชิงเหยียดในตัวเอง เพราะการที่คุณเที่ยวไปสั่งสอนชีวิตคนอื่นโดยไม่รู้บริบทหรือข้อจำกัดที่แสนแตกต่างกันเหลือเกิน คุณต้องมีอีโก้มั่นใจในตัวเองสูง ยึดความคิดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เกิดคำตัดสินพิพากษาขึ้นในใจคุณล่วงหน้าไปแล้วว่าอีกฝ่ายต้องเป็นคนอย่างไร  คนกลุ่มนี้ขาดความ “เข้าอกเข้าใจ” […]

Corporate Psychologist: อีกตำแหน่งงานใหม่ในอนาคต

Corporate Psychologist: อีกตำแหน่งงานใหม่ในอนาคต

ปกติแล้ว คนที่เรียนมาด้านจิตวิทยาโดยตรง เมื่อเรียนจบแล้ว มักเข้าทำงานในสถาบันวิจัยหรือสถานศึกษาชั้นนำต่อ แต่ในอนาคต คนกลุ่มนี้จะเริ่มถ่ายเทมาสู่องค์กรธุรกิจภาคเอกชนมากขึ้น เกิดเป็น “Corporate Psychologist” ในสหรัฐอเมริกา ตำแหน่งอาชีพนี้กำลังเป็นที่ต้องการ และมีอัตรารายได้เติบโตถึง 10% ต่อปีเลยทีเดียว (ในเมืองไทย สัญญาณอาชีพนี้หรือที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยามีให้เห็นแล้ว เช่น 4-5 ปีที่ผ่านมา Content ด้านจิตวิทยาได้รับความนิยมมาโดยตลอด) ทำไมต้องมีตำแหน่ง Corporate Psychologist นี้ในอนาคต? โดยประวัติ ตำแหน่งนี้ไม่ได้มีอะไรใหม่ เพียงแต่จำกัดอยู่ในขอบเขตไม่กี่อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อการมาถึงของโควิด-19 ปีที่ผ่านๆ มา ส่งผลให้คนทำงานทั่วโลกเจอกับภาวะเครียดฉับพลัน กระทบชีวิตด้านอื่น ลามไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังในหลากหลายมิติ พนักงานถูกปฏิบัติอย่างไร้ Empathy เพื่อให้องค์กรอยู่รอด ต้องทำงานหนักขึ้น แต่เงินเท่าเดิมหรือน้อยลง เรื่องนี้เกิดขึ้นคู่ขนานกับโลกการทำงานที่ยิ่งซับซ้อน หนักและเหนื่อย มีอะไรใหม่ๆ มาไม่หยุด เช่น เดี๋ยวอนาคต(อันใกล้) Metaverse ก็จะมาแล้ว บัดนี้ทุกคนรู้สึกแล้วว่า สุขภาพจิตส่งผลต่อสุขภาพกายและประสิทธิภาพการทำงานแบบ “แยกกันไม่ขาด” พนักงานและองค์กรต่างๆ จึงเริ่มมองหา “Corporate Psychologist” […]

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

หลงตัวเอง คิดว่าตนพิเศษและเหนือกว่า พร้อมๆ กับดูถูกคนอื่น ประกาศความสำเร็จของตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินเบอร์ โหยหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ชนิดไม่อายใคร นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Entitled Narcissism” ที่บางคนอาจเผลอพลั้งทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะสภาพแวดล้อมเป็นใจ Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ Entitled Narcissism คือพฤติกรรมที่ผู้นำเริ่มเกิดอาการหลงระเริงตัวเอง-หยิ่งยะโส ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางให้โลกทั้งใบต้องหมุนตาม มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับความสำเร็จแรกแล้ว (Initial success) และใช้ผลงานนั้นปูทางสู่การเกทับผู้อื่นพร้อมๆ กับไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งผู้นำบางคนอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ย่อมสร้างความรู้สึกแง่ลบแก่ทีมและองค์กรในระยะยาวแน่นอน แล้ว Entitled Narcissism มีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร? หยิ่งผยองในความเก่งของตัวเอง  ให้ความสำคัญกับตัวเองมาเป็นอันดับ 1  โหยหาอำนาจและเกียรติยศแบบออกนอกหน้า มั่นใจในตัวเองเกินหน้าเกินตา  ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีอยู่เสมอ  ถ้าเอาเปรียบผู้อื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์…ก็จะทำ ไร้ซึ่งความ Empathy เรื่องนี้รายแรงเป็นพิเศษโดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานบางประเทศที่เป็นแบบ Collectivism ให้ความสำคัญกับทีมมากกว่าตัวบุคคล ผู้นำคนที่โอ้อวดตัวเองจนเกินพอดี(แม้จะมีผลงานก็จริง) ลึกๆ พนักงานมักไม่ค่อยชอบ สุดท้ายจะนำไปสู่การขัดแย้งภายใน ทำไมผู้นำบางคนถึงมีอาการ Entitled Narcissism? คำอธิบายด้านวิวัฒนาการคืออันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ มันเป็นสัญชาตญาณที่ฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน (โดยเฉพาะเพศผู้) ในการโอ้อวดศักยภาพตัวเองว่าเก่งกว่า มีความสามารถพิเศษบางอย่าง […]

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว

ทำงานหนักแค่ไหน ก็ไม่มีปัญญาซื้อบ้านซักหลัง สู้เต็มที่แล้ว แต่โลกเปลี่ยนเร็วเกินจนตามไม่ทัน วิกฤติซ้ำซาก ทั้งเศรษฐกิจ-สังคม-โควิด ไม่ไหวแล้วนะ นี่คือสิ่งที่ กลุ่มคนรุ่นใหม่-แรงงานที่พึ่งเข้าสู่ระบบ กำลังเผชิญหน้ากันอยู่ เกิดเป็นภาวะ “Early-Life Crisis” Early-Life Crisis: ชีวิตทำงานพึ่งเริ่มต้นก็เจอวิกฤติเข้าซะแล้ว เราพูดได้เต็มปากว่า “Early-Life Crisis” คือปรากฎการณ์ใหม่ที่พึ่งเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในรอบทศวรรษนี้  มันคือภาวะ “วิตกกังวล” ถึงอนาคตที่ไม่แน่นอนและช่างมืดมัวเหลือเกินของ กลุ่มคนที่พึ่งเข้าสู่โลกการทำงานในช่วงอายุ 20 ต้นๆ และขยายวงกว้างไปถึงช่วงอายุ 30-35 (ก่อนถึง Mid-life) พวกเค้ากำลัง วิตกจริต / เหน็ดเหนื่อย / ท้อแท้ / เครียด / เศร้า / เหงา / เดียวดาย / ไร้ความฝัน…ล้วนเป็นขั้วอารมณ์ที่บั่นทอนศักยภาพแรงงานหนุ่มสาว และชี้ชะตาอนาคตของประเทศได้เลย ที่ญี่ปุ่น หนุ่มสาวกลุ่มนี้เบื่อหน่ายชีวิตการทำงานที่หนักหนาและเคร่งเครียดของสังคมญี่ปุ่น ท้อแท้ถึงขั้น “เลิกทำงาน” ปล่อยวางทุกสิ่ง กลายเป็นกลุ่มคนที่สังคมเรียกว่า “NEET” (Not […]

Forgive Yourself: เพราะมนุษย์ล้มเหลวกันได้

Forgive Yourself: เพราะมนุษย์ล้มเหลวกันได้

“ถ้าคุณยังไม่เคยล้มเหลว…คุณอาจยังพยายามไม่มากพอ” ต่อให้คุณพยายามแค่ไหน ย่อมต้องล้มเหลวกันบ้างซักครั้ง…ไม่ว่าจะล้มเหลวเพราะความผิดพลาดของตัวเอง หรือ ล้มเหลวเพราะแค่เป็นผู้แพ้ในเกมสนาม ในการวิ่งมาราธอนแห่งชีวิตและการทำงาน ไม่ช้าก็เร็วคุณต้องล้มลงไปกองกับพื้น ก่อนจะลุกวิ่งขึ้นใหม่ และหนึ่งในทักษะที่มาพร้อมกับการลุกขึ้นสู้ใหม่ คือการ “ให้อภัยตัวเอง” (Self-Forgiveness) อย่าเข้าใจผิด การให้อภัยตัวเองไม่ใช่สัญญาณของความอ่อนแอ / การไร้ซึ่งความเป็นผู้นำ / หรือด้อยค่าตัวเอง  กลับกัน…มันคือทักษะที่ผู้นำยุคนี้ต้องมีติดตัวไว้ เพราะการยอมรับจุดตกต่ำของตัวเอง ก่อนจะพร้อมลุกกลับขึ้นมาใหม่ในที่สุด การจะให้อภัยคนอื่นได้…ต้องเริ่มจากให้อภัยตัวเองก่อน แต่อย่างที่เรารู้กัน การให้อภัยตัวเองเป็นเรื่องที่พูดง่าย-ทำยาก แล้วเราพอจะมีเคล็ดลับให้อภัยตัวเองยังไงได้บ้าง? สำนึกผิด Joe Moran นักประวัติศาสตร์ด้านวัฒนธรรมจาก Liverpool John Moores University เผยว่า เวลาที่คนเราล้มเหลวและรู้สึกดำดิ่ง แนวทางกระแสหลักมักบอกให้คุณ ต้องคิดบวกเข้าไว้  สตรองเข้าไว้  นำความล้มเหลวมาเป็นบทเรียนสิ แต่หลายครั้ง พฤติกรรมนี้มัน “ไม่เป็นธรรมชาติ” ขัดต่อความรู้สึกลึกๆ ในใจ มนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์…เราเศร้าได้ ร้องไห้ได้ ท้อแท้ใจได้ ด่านแรกสู่การให้อภัยตัวเอง กลับเป็นการซึมซับรสชาติความล้มเหลวนั้น บอกกับตัวเองว่าเราล้มเหลว เพื่อนำไปสู่การ “สำนึกผิด” (Guilt) เมื่อสำนึกผิด เราจะรู้ด้วยตัวเองว่า […]

องค์กรรับมือการมาถึงของ Metaverse อย่างไรได้บ้าง?

องค์กรรับมือการมาถึงของ Metaverse อย่างไรได้บ้าง?

ตำแหน่งใหม่ – Metaverse Marketer สินค้าใหม่ – กระเป๋าหรูที่สัมผัสได้จริงในโลก Metaverse ทักษะใหม่ – การเข้าใจตัวตนลูกค้า ทั้งโลกจริง-โลกเสมือน นี่คือสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นสูงมากในอนาคตอันใกล้กับโลกเสมือน “Metaverse” และองค์กรจำเป็นต้องเริ่มคิดตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะตกขบวนและรู้ตัวอีกทีก็สายเกินไปแล้ว แล้วมีประเด็นไหนบ้างที่องค์กรต้องเริ่มคิดเตรียมตัว? เรามาวิเคราะห์ไปพร้อมๆ กัน ตำแหน่งงาน ไม่ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ ที่ “Online Marketer” คือตำแหน่งงานใหม่ในองค์กรเพื่อทำการตลาดในโลกออนไลน์ มาวันนี้…กำลังจะเกิดตำแหน่งงานใหม่ๆ ลักษณะเดียวกันขึ้นแล้ว ถ้า Traditional Marketing พัฒนาไปเป็น Online Marketing ได้ แล้วทำไม Online Marketing จะพัฒนาไปเป็น Metaverse Marketing ไม่ได้? แล้วเราควรมี “หลักคิด” อย่างไรในการคาดการณ์ หนึ่งในนั้นคือ ให้คิดต่อยอดจากตำแหน่งงานเดิมที่มีอยู่ แล้ว “เพิ่ม Metaverse” เข้าไป จากนักออกแบบแฟชั่น สู่ แฟชั่นในโลกเสมือน จากไกด์ทัวร์พาเที่ยว สู่ […]

Makoto Marketing: การตลาดใช้ใจขาย ลูกค้าใช้ใจซื้อ

Makoto Marketing: การตลาดใช้ใจขาย ลูกค้าใช้ใจซื้อ

500 ปีที่แล้ว Toraya บริษัทที่ขึ้นชื่อเรื่องการใช้แป้งและถั่วแดงมาทำขนมญี่ปุ่น (วากาชิ) ได้ผลิตขนมส่งถวายพระจักรพรรดิญี่ปุ่น 500 ปีต่อมา Toraya ยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงทุกวันนี้ ยังเชี่ยวชาญการทำขนมญี่ปุ่นเหมือนเดิม พร้อมยอดขายหลักหมื่นล้านเยนต่อปี เพราะบริษัทยึด Makoto Marketing เป็นหัวใจในการทำธุรกิจ การตลาดนี้ยังเป็นแก่นของอีกหลายธุรกิจที่เดี๋ยวเราจะได้รู้กัน Makoto Marketing การตลาดใช้ใจขาย ลูกค้าใช้ใจซื้อ โดยปกติ การบริหารธุรกิจจากโลกฝั่งตะวันตกในกระแสหลัก จะมุ่งเน้นที่การ “ทำกำไรสูงสุด”  เร่งขยายกิจการให้โตเร็วที่สุด พนักงานคนไหน Performance ไม่ดี หรือทำผิดพลาดก็ไล่ออก หาคนใหม่มาแทน สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องรอง ยอดขายเป็นเรื่องหลัก แต่ Makoto Marketing ดูจะให้ความสำคัญกับคุณค่าที่อยู่ขั้วตรงข้าม โดย “Makoto” มาจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า “ความจริงแท้ จริงใจ ไม่ปรุงแต่ง” Makoto Marketing จึงเป็นการตลาดที่ใช้ใจบริสุทธิ์ในการดำเนินธุรกิจ ซื่อสัตย์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นำเสนอคุณค่าที่เป็นแก่นสาร ที่สำคัญ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า Makoto Marketing ไม่ได้ “ปฏิเสธ” การตลาดพื้นฐานอย่าง […]

Law of Jante: เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

Law of Jante: เคล็ดลับการทำงาน & ใช้ชีวิต ของชาวสแกนดิเนเวียน

ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ล้วนเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งสิ้น มี GDP/หัว สูงที่สุดอันดับต้นๆ ของโลก ติด Top5 ประเทศที่ผู้คนมีความสุขที่สุดในโลก ทั้งด้านความสุข ความเจริญของประเทศ หรืออุปนิสัยการทำงาน ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้ปรัชญาที่ชาวสแกนดิเนเวียนแชร์ร่วมกันหมดนั่นคือ “Law of Jante”  (ปล. ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย หลักๆ มีอยู่ 3 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สวีเดน / นอร์เวย์ / เดนมาร์ก ) Law of Jante คืออะไร?  “กฎของยานเต้” เป็น Mindset ปรัชญาการดำเนินชีวิต & การทำงานที่ชาวสแกนดิเนเวียนยึดถือปฏิบัติมาช้านานแล้ว มีใจความสรุปได้ว่า…”คุณอาจไม่ได้ดี-เก่ง-เหนือไปกว่าผู้อื่น” ซึ่งเป็นรากฐานความคิดที่ส่งเสริมความเท่าเทียม ลดความเหลื่อมล้ำ การเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ความซื่อสัตย์สุจริต และถ่อมตนอย่างพินอบพิเทา…ซึ่งจะว่าไป ก็เป็นคาแรคเตอร์ของชาวสแกนดิเนเวียนเลยทีเดียว Image Cr. https://bit.ly/3f1VkYc โดยถ้าว่าตามหลักการแล้ว กฎของยานเต้มีอยู่ 10 ข้อด้วยกัน อย่าคิดว่าตัวเอง…พิเศษเลิศเลอ อย่าคิดว่าตัวเอง…เป็นคนดีศรีประเสริฐ […]

Empathy: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

Empathy: ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21

คนจนเพราะขี้เกียจ เครียดแล้วก็กินเหล้า  สอนงานไปแล้ว ทำไมไม่จำซักที!! โปรแกรมใช้งานง่าย ป่านนี้ทำไมยังไม่คล่องอีก!! คำเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าคนพูดมี Empathy มากกว่านี้… Empathy คือคำที่ถูก(นำกลับมา)พูดถึงเยอะมากในช่วงนี้ และจะกลายเป็นทักษะที่จำเป็นแก่ทุกเรื่องในศตวรรษที่ 21 อย่างแน่นอน!! ทำไม Empathy ถึงสำคัญในยุคนี้?  Empathy คือการรู้สึกว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร (I feel how you feel.) เอาตัวเองดำดิ่งลงไปว่าถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ / บริบท / สถานะ / เงื่อนไขเดียวกับคนนั้น…เราจะรู้สึก คิด ทำอย่างไร? นี่จึงไม่ใช่เพียงจุดเริ่มต้นของความเข้าอกเข้าใจกันอย่างแท้จริง แต่จุดประกายความผูกพัน-ห่วงใย-เชื่อมโยงถึงกันและกัน  เรียกได้ว่า ท่ามกลางโลกธุรกิจที่แพ้คัดออก พนักงานถูกปฏิบัติราวกับหุ่นยนต์…Empathy นำพาเรากลับไปสู่ความเป็นมนุษย์ (Humane) อีกครั้ง และเมื่อนั้น…มันจึงส่งผลกระทบถึงทุกเรื่องในชีวิตของเรา Empathy ในเรื่องต่างๆ? เราอยู่ในยุคที่เทคโนโลยี Disrupt กันรายปี หุ่นยนต์กำลังมาแทนที่คน แต่สิ่งหนึ่งที่หุ่นยนต์ยังทำได้ไม่ดีเท่ามนุษย์(อย่างน้อยก็ในศตวรรษนี้) คือการเข้าใจ “ความรู้สึกมนุษย์” ด้วยกันเองนี่แหล่ะ เรื่องนี้ชัดเจนมากในบริบทสังคมสูงวัย (Ageing […]

วิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าที่ดีที่ใครๆ ก็รัก

วิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าที่ดีที่ใครๆ ก็รัก

ไม่กลัวลูกน้องเก่งเกินหน้าเกินตา ฟัง มากกว่า พูด ชมเชยเมื่อทำดี และ ตำหนิแบบมีชั้นเชิง ให้เครดิตกับทีม ไม่ใช่กับตัวเอง นี่คือคุณสมบัติของ “หัวหน้าอันเป็นที่รักของลูกน้อง” ในฐานะหัวหน้างาน…เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อเป็นหัวหน้าที่ดีขึ้นและลูกน้องรักมากขึ้น? เบื้องหลังความชื่นชอบเคารพนับถือ  ต้องยอมรับความจริงว่า ลึกๆ ภายในแล้ว คนเรา “ไม่สามารถบอกใครให้มารักเราได้”  ความรัก-ความชื่นชอบ-ความเคารพนับถือล้วนเกิดจากการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งของเราที่ไปสร้างความ “พึงพอใจ” แก่อีกฝ่าย คุณลักษณะหนึ่งที่ทำให้คนชื่นชอบคือ การ “มองเห็นคุณค่า” ในตัวพวกเค้า หมั่นถามสารทุกข์สุขดิบ ยื่นโอกาสใหม่ๆ ให้ เอาใจเค้ามาใส่เรา “มันยากที่จะไม่ชอบ…คนที่ชื่นชอบคุณ” คำนี้ใช้ได้จริงเสมอ แต่ขณะเดียวกัน ความเคารพนับถือไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป แต่ต้องคอยหมั่น “เติม” เชื้อเพลิงอยู่เสมอ และมันมีความ “เปราะบาง” เราอาจใช้เวลา 10 ปีในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจแก่คนหนึ่ง แต่อาจใช้เวลาแค่ 10 วัน (หรือแม้แต่ 10 นาที) ในการทำลายความไว้เนื้อเชื่อใจนั้นให้หายไปได้เช่นกัน เราไปสำรวจพร้อมๆ กันกับ “วิธีง่ายๆ สู่การเป็นหัวหน้าอันเป็นที่รัก” เป็นนักฟังที่ดี หัวหน้าที่ลูกน้องชื่นชอบมักมีคาแรคเตอร์เป็น “ผู้ฟัง” […]

Charismatic Leaders บริหารคนด้วย “เสน่ห์”

Charismatic Leaders บริหารคนด้วย “เสน่ห์”

เคยไหม? เราเห็นผู้นำระดับโลกหลายคนสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับลูกทีม จุดประกายทางความคิด โน้มน้าวผู้อื่นให้เชื่อมั่นเดินตามวิสัยทัศน์ได้อย่างหนักแน่น  ไม่ว่าจะเป็น Martin Luther King Jr., Barack Obama, Elon Musk, Steve Jobs, Tim Cook, หรือ Jack Ma เรารู้สึกว่าพวกเขาช่างเป็นผู้นำที่มี “เสน่ห์” เหลือเกิน พูดอะไรไปใครก็เชื่อ ขายอะไรไปคนก็ซื้อ เรารู้สึกว่านี่เป็น “พรสวรรค์” ที่มีอยู่ในตัว จนคิดไปว่า “เสน่ห์เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่เกิด” ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีได้แม้พยายามแค่ไหน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ในบทความ จะมาลบล้าง “มายาคติ” (Myth) เดิมๆ นี้ ซึ่งมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยารองรับ  ขอให้รู้ว่าเสน่ห์เป็นสิ่งที่ ‘สร้าง’ กันได้ และอันที่จริง Charismatic Leaders ทุกท่านที่กล่าวไป ก็ล้วนเข้าใจและ ‘ฝึกฝน’ ทักษะเหล่านี้อยู่เบื้องหลังตลอดเวลา (ใช่ ถ้าไม่ฝึก ทักษะนี้จะดรอปลง) Presence ต้องเข้าใจก่อนว่า Presence […]