📰 บทความทั้งหมด

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ

Armchair Quarterback: “ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ!” รู้จักกับ Armchair Quarterback ในที่ทำงาน หัวหน้าที่ดีแต่พูด สั่งงานเก่ง แต่ไม่เคยทำงานจริงๆ หัวหน้าที่เสนอไอเดียบรรเจิด โดยไม่รู้บริบทเลยว่าทำจริงไม่ได้ หัวหน้าที่ด่าลูกน้องเก่งเมื่อทำงานพลาด แต่ไม่เคยลงมือช่วยหาต้นตอปัญหาเลย เชื่อว่าพวกเราก็ต้องเคยเจอเหตุการณ์ชวนหงุดหงิดแบบนี้ในออฟฟิศมาบ้าง เป็นสิ่งที่เรียกว่า “Armchair Quarterback” ที่ต้องรีบสังเกตและดับไฟให้ทัน ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป Armchair Quarterback – ดีแต่พูด…แต่ไม่ทำ Armchair Quarterback คือคำที่ใช้เรียกพนักงานที่มีลักษณะ “แค่พูด…แต่ไม่ได้ลงมือ” คนที่เก่งในการวิพากษ์วิจารณ์แต่ไม่ได้มีความรอบรู้ในเรื่องนั้น คนที่ชอบตัดสินใจคนอื่นและมีความคิดเห็นแบบสุดโต่ง คนที่ชอบสั่งการควบคุมทุกอย่างแต่ตัวเองไม่ได้เข้าไปยุ่งกับเนื้องานเลยด้วยซ้ำ (และถึงขั้นบ่ายเบี่ยงไม่รับผิดชอบเมื่อเกิดข้อผิดพลาด) เดิมที Armchair Quarterback ศัพท์คำนี้มีที่มาจากวงการ “อเมริกันฟุตบอล” ที่เหล่าแฟนๆ จะเชียร์อย่างออกหน้าออกตา วิพากษ์วิจารณ์ผู้เล่นราวกับตัวเองอยู่ในสนาม ด่าว่ารุนแรงราวกับตัวเองเสียผลประโยชน์ วิเคราะห์ทุกอย่างราวกับตัวเองเป็นมืออาชีพ และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นบน…โซฟาภายในบ้านหน้าจอทีวีขณะกำลังนั่งเอนหลังชมการแข่งขัน (+ป๊อปคอร์นในมือ) ต่อมา Armchair Quarterback ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน ต้องการจะสื่อถึงหัวหน้าที่วันๆ เอาแต่นั่งอยู่ในโต๊ะอันแสนนุ่มสบายในออฟฟิศ ไม่เคยออกไปพบลูกค้า ไม่เคยลงมาดูว่า “มดงาน” เค้าทำอะไรกันจริงๆ แต่กลับสั่งการต่างๆ […]

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ

หลงตัวเอง คิดว่าตนพิเศษและเหนือกว่า พร้อมๆ กับดูถูกคนอื่น ประกาศความสำเร็จของตัวเองอย่างโจ่งแจ้งเกินเบอร์ โหยหาอำนาจ ชื่อเสียง เกียรติยศ ชนิดไม่อายใคร นี่คือคาแรคเตอร์ของ “Entitled Narcissism” ที่บางคนอาจเผลอพลั้งทำไปโดยไม่รู้ตัวเพราะสภาพแวดล้อมเป็นใจ Entitled Narcissism: ผู้นำที่หลงตัวเองจนไม่มีใครอยากคบ Entitled Narcissism คือพฤติกรรมที่ผู้นำเริ่มเกิดอาการหลงระเริงตัวเอง-หยิ่งยะโส ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางให้โลกทั้งใบต้องหมุนตาม มักเกิดขึ้นหลังจากได้รับความสำเร็จแรกแล้ว (Initial success) และใช้ผลงานนั้นปูทางสู่การเกทับผู้อื่นพร้อมๆ กับไต่ระดับขึ้นไป ซึ่งผู้นำบางคนอาจทำไปโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ได้ แต่ย่อมสร้างความรู้สึกแง่ลบแก่ทีมและองค์กรในระยะยาวแน่นอน แล้ว Entitled Narcissism มีคาแรคเตอร์เป็นอย่างไร? หยิ่งผยองในความเก่งของตัวเอง  ให้ความสำคัญกับตัวเองมาเป็นอันดับ 1  โหยหาอำนาจและเกียรติยศแบบออกนอกหน้า มั่นใจในตัวเองเกินหน้าเกินตา  ต้องคอยรักษาภาพลักษณ์ตัวเองให้ดีอยู่เสมอ  ถ้าเอาเปรียบผู้อื่นแต่ตัวเองได้ผลประโยชน์…ก็จะทำ ไร้ซึ่งความ Empathy เรื่องนี้รายแรงเป็นพิเศษโดยเฉพาะวัฒนธรรมการทำงานบางประเทศที่เป็นแบบ Collectivism ให้ความสำคัญกับทีมมากกว่าตัวบุคคล ผู้นำคนที่โอ้อวดตัวเองจนเกินพอดี(แม้จะมีผลงานก็จริง) ลึกๆ พนักงานมักไม่ค่อยชอบ สุดท้ายจะนำไปสู่การขัดแย้งภายใน ทำไมผู้นำบางคนถึงมีอาการ Entitled Narcissism? คำอธิบายด้านวิวัฒนาการคืออันดับแรกที่ต้องทำความเข้าใจ มันเป็นสัญชาตญาณที่ฝังลึกอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน (โดยเฉพาะเพศผู้) ในการโอ้อวดศักยภาพตัวเองว่าเก่งกว่า มีความสามารถพิเศษบางอย่าง […]

Problem Solving Activities: อัพสกิลครีเอทีฟด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋น

Problem Solving Activities: อัพสกิลครีเอทีฟด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋น

เรามักบอกว่า Creativity คือการ Connecting the Dots เชื่อมโยงสิ่งเดิมจนนำไปสู่สิ่งใหม่ หรือ คิดในแบบที่แตกต่างยังไม่มีใครทำมาก่อน หรือ การคิดในแบบทำน้อยแต่ได้มาก สิ่งเหล่านี้เป็นแก่นหลักชั้นดีของ Creativity แต่ความจริงแล้วมัน “พูดง่าย-ทำยาก”  และไม่ใช่ทุกคนที่มีทักษะนี้  ดีกว่าไหม? ถ้าเราจะมีมาตรฐาน “เทคนิคการคิด” ที่ช่วยลับคมสมองให้ครีเอทีฟและอ่านเกมขาดมองเห็นปัญหา แถมยังได้กระชับความสัมพันธ์กับทีม (Team building) รู้ตัวอีกทีซี้ปึ้กกันแล้ว เราไปทำความรู้จัก “Problem Solving Activity” ครีเอทีฟพุ่งด้วยโจทย์ปัญหาแบบมีกึ๋นกัน เปิดด้วยไอเดียที่ “ซื่อบื้อ” ที่สุด นี่เป็นเทคนิคที่เหมาะกับการเปิดการประชุมระดมสมอง เพราะมักเรียก “เสียงหัวเราะ” จากทุกคน ต้องไม่ลืมว่า ความคิดสร้างสรรค์มักเกิดจากการคิดในช่วงอารมณ์ที่ “ผ่อนคลาย” (ยิ่งเครียด ยิ่งคิดไม่ออก) นี่ยังเป็นวิธีในการปล่อยวางอีโก้ของตัวเอง ไม่มีใครผิด ทุกคนมีอิสระในการแสดงความคิดเห็น นอกจากนี้ ไอเดียที่ตอนแรก “ดูเหมือน” ซื่อบื้อโง่เขลา…อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไปเมื่อคุณให้เวลาขบคิดกับมัน อยากให้นักท่องเที่ยวมีที่พักอาศัย? ก็เปิดบ้านตัวเองให้เค้าพักซะเลย!! (ต่อมาอาจกลายเป็น Airbnb) อยากให้คนกดลิ้งค์เข้า Website? ก็ลองเขียนสะกดผิดๆ […]

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

7 Myth-Busting ที่มีต่อ Work From Home

ท่ามกลางกระแสแง่ลบที่เริ่มมีต่อการ Work From Home แต่การทำงานที่บ้าน (หรือที่ไหนๆ ก็ตาม) ยังคงมีแง่ดีที่ยากจะปฏิเสธ เราลองมาสำรวจมายาคติ (Myth) ทั้ง 7 ของการ Work From Home กัน…บางที มันอาจไม่ได้แย่อย่างที่หลายคนคิด 1. WFH ไม่ Productive เท่ามาทำที่ออฟฟิศ  Myth สุดคลาสสิกที่หลายคนยังเชื่อฝังใจ มักเกิดจากความคิดที่ว่า ถ้าหัวหน้าไม่คอยสอดส่อง ลูกน้องก็มักขี้เกียจอู้งาน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลงในที่สุด Mercer บริษัทที่ปรึกษาด้าน HR ทำการสำรวจบริษัทมากถึง 800 แห่งที่ให้พนักงาน WFH พบว่า “กว่า 94% การ WFH ไม่มีผลต่อความ Productive ในการทำงานอย่างมีนัยยะสำคัญเลย” อันที่จริง อาจเกิดขึ้นแค่ช่วงแรกๆ ที่พนักงานยังต้องปรับตัว แต่เมื่อทุกอย่างลงตัว พนักงานน้อมรับรูปแบบการทำงานใหม่ได้แล้ว (ซึ่งใช้เวลาไม่นาน) ประสิทธิภาพก็กลับมาเหมือนเดิม และมากกว่าเดิมด้วยซ้ำในบางช่วง การ WFH ไม่ได้แค่ประหยัด […]

8 ชั้นเชิงคุมลูกน้องแก่กว่าให้อยู่หมัด

8 ชั้นเชิงคุมลูกน้องแก่กว่าให้อยู่หมัด

ยุคนี้คนรุ่นใหม่เก่งๆ เพียบ ขึ้นตำแหน่งผู้บริหารโดยที่อายุยังน้อย จากการสำรวจของ The Predictive Index พบว่า พนักงานกว่า 23.8% มีหัวหน้างานที่อายุน้อยกว่าตน เมื่อต้องขึ้นมาบริหารลูกทีม นั่นคือการปกครองคน ต้องอาศัยชั้นเชิงในการพูดและจิตวิทยา แต่ผลวิจัยมากมายเผยว่า “การสร้างทีม” (Team Building) คือหนึ่งทักษะที่ผู้นำรุ่นเยาว์ขาดมากที่สุด  ยิ่งวัฒนธรรมอาวุโสแบบไทยด้วยแล้ว…ควรรับมืออย่างไรดี? 1. เข้าใจลูกทีม วางตำรา โยนทฤษฎีทิ้งไป ก่อนจะหากลยุทธ์มาใช้ เราต้อง “เข้าใจ” ลูกทีมอย่างลึกซึ้ง เขาเป็นคนเจนอะไร? Baby Boomer? Gen-X? Gen-Y? เพราะแต่ละเจนมีการมองโลก ทัศนคติการทำงาน คุณค่าในชีวิตแตกต่างกันสิ้นเชิง ทำการบ้านว่าบุคลิก นิสัย แบคกราวน์เป็นคนยังไง บางคนอ่อนไหวง่าย บางคนยึดติดหลักการ บางคนอุดมการณ์สูง…คนต่างกันย่อมใช้วิธีเข้าหาที่ต่างกัน 2. แสดงความเป็นผู้นำ เปิดตัวด้วยจุดยืนว่า คุณไม่ได้เข้ามาในฐานะ Boss แต่เป็น Leader ที่จะมา Empower พวกเขาให้ประสบความสำเร็จไปด้วยกันนะ ใช้ความเป็นเด็กที่มาพร้อมไอเดียใหม่ๆ ไม่อยู่ในกรอบเดิมๆ ผสมผสานกับประสบการณ์เก๋าเกมของคนที่อยู่มาก่อน […]