เมื่อ “น้ำเสีย-ไล่น้ำดี” องค์กรควรรับมืออย่างไร?

เมื่อ “น้ำเสีย-ไล่น้ำดี” องค์กรควรรับมืออย่างไร?
  • พนักงานแย่ เป็น “ลูกรัก” ของนาย
  • วันๆ เอาแต่นินทา บ่น ด่า จนบรรยากาศที่ทำงานเสีย
  • น้ำเสียไม่ยอมออก สุดท้าย น้ำดีทยอยออกแทน

น้ำเน่าเพียงหยดเดียว เมื่อเจือปนในน้ำดี ก็ทำให้น้ำทั้งหมดเน่าเสียได้…แม้จะปนเปื้อนเล็กน้อยแค่ไหน แต่น้ำทั้งหมดที่อยู่ในนั้นก็ไม่อาจเรียกตัวเองว่าเป็น “น้ำบริสุทธิ์” น้ำดี น้ำที่มีคุณภาพได้อีกต่อไป…

บริษัทเองก็เช่นกัน “พนักงานแย่ๆ” เพียงคนเดียว (หรือหยิบมือ) อาจฉุดรั้งให้ทั้งบริษัทต้องเดินถอยหลัง เพราะแท้จริงแล้ว องค์กรก็คือ “คน” นี่เอง…ถ้ามีคนดี-คนเก่ง องค์กรก็เจริญรุ่งเรือง

ผลวิจัยจาก Gallup เผยว่ากว่า 17% ของพนักงานชาวอเมริกันเข้าข่ายเป็นพวกน้ำเสีย โดยมีลักษณะไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีส่วนร่วม และมีแนวโน้มจุดประเด็นความแตกแยกภายในองค์กร…นี่เป็นประเด็นที่จะมองข้ามไปไม่ได้เลย

พฤติกรรมของพนักงานแย่?

“แย่” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Performance แย่เท่านั้น แต่หมายถึง “พฤติกรรมโดยรวม” ที่ทำลายบรรยากาศในที่ทำงาน / บั่นทอดความคิดสร้างสรรค์ / ลด Productivity เพื่อนในทีม

โดยอุปนิสัยของพนักงานแย่มีได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น

  • นินทา – เป็นเสียง Toxic ที่สร้างความน่ารำคาญ
  • อารมณ์เกรี้ยวกราด – คุยด้วยเหตุผลไม่ค่อยได้
  • อีโก้ – หยิ่งทะนงตัว ความคิดตัวเองถูกต้อง คนอื่นต้องตาม
  • เล่ห์เหลี่ยม – กลับคำไปมา มีแนวโน้มช่อโกง
  • เล่นบทเหยื่อ – มีอะไรโทษแต่คนอื่น ไม่เคยโทษตัวเอง
  • ด้อยค่าคนอื่น – ไม่เคยเห็นหัว เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง

นอกจากนี้ “คุณคือค่าเฉลี่ยของคน 5 คนที่คลุกคลีมากที่สุด” เป็นวลีที่รับรู้และยอมรับกันดีในวงการธุรกิจ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราคงไม่อยากให้พนักงานดีคลุกคลีกับพนักงานแย่นัก

เพราะพฤติกรรมของคนเรา “แพร่ระบาด” (Spreadable) ไปยังคนอื่นได้อย่างง่ายดาย ผ่านปฏิสัมพันธ์ผิวเผินแค่การมองเห็น / รับรู้ / ได้ยินมา

เราจะเห็นว่ามีคาแรคเตอร์คล้าย “โควิด” ไวรัสที่แพร่เชื้อกลายพันธุ์ เมื่อมี 1 คนติดขึ้นมา ต้องรีบล็อคดาวน์พื้นที่ทั้งหมดเพื่อไม่ให้ระบาดหนัก

จากพฤติกรรมพนักงานแย่ 1 คน กลายเป็นว่า “เริ่ม” มีคนที่พูดจา Toxic ทำนองนี้โผล่ขึ้นมา 1-2-3-4 และมากขึ้นเรื่อยๆ (เป็นการ “เลียนแบบ” พฤติกรรมโดยไม่รู้ตัว) จนอาจกลายเป็น “วัฒนธรรมคนในองค์กรใหม่” ในอนาคตอันใกล้ที่ไม่น่าอภิรมย์นัก

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ อาจนำไปสู่บรรยากาศในออฟฟิศที่น่าเวทนา เพื่อนร่วมทีมเริ่มขาดความไว้วางใจแก่กัน การทำงานไม่ราบรื่น และสุดท้าย “ความสุข” ในการทำงานที่ดำดิ่ง

นอกจากนี้ นักวิจัยจาก University of Washington Business School ทำการทดลองโดยส่งพนักงานแย่ 1 คน เข้าไปร่วมทำงานโปรเจ็คท์กับพนักงานดี ก่อนจะพบว่า “Productivity ของพนักงานดี ลดลง 30%” เป็นอย่างน้อย

แล้วองค์กรพอจะรับมือยังไงได้บ้าง?

แน่นอนว่า ขั้นตอนแรกคือการเรียกทุกฝ่ายมา “พูดคุยแบบเปิดอก” (Candid group conversation) ปัญหาส่วนใหญ่แก้ได้ด้วยการพูดคุยเจรจาต่อรอง 

ค้นหาว่า “ต้นตอของปัญหา” มาจากไหน อะไรทำให้พนักงานแย่ถึงมีพฤติกรรมแบบนี้? รากเหง้ามาจากปัญหาครอบครัวรึเปล่า มีปัญหาส่วนตัวที่ไม่สบายใจอยู่เดิมรึเปล่า?

สาธยายว่า พฤติกรรมของพนักงานแย่ส่งผลกระทบร้ายแรงแค่ไหนต่อผู้อื่น ทำให้ Productivity ลดลงไปแค่ไหน ทำให้บรรยากาศการทำงานแย่ลงอย่างไร อธิบายอย่างมีเหตุผล 1-2-3-4

.

การ “ไม่โปรโมท” ขึ้นตำแหน่งหรือขึ้นเงินเดือน โดยให้เหตุผลเรื่องพฤติกรรมเสียๆ หายๆ ที่ต้องแก้ให้ได้ก่อน ก็เป็นอีกกลไกที่เป็นที่ยอมรับได้

“ทัศนคติ” ก็สำคัญในหมู่หัวหน้า-ผู้บริหาร หลายท่านยุ่งกับงานตัวเองมากจนมองว่านี่เป็นเรื่องดราม่าระหว่างบุคคล “อยู่ได้ก็อยู่ อยู่ไม่ได้ก็ออกไป” ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายหรือเรื่องสำคัญของบริษัท 

แต่ต้องไม่ลืมว่า บริษัทดำเนินไปได้เพราะ “คนเก่ง” ถ้าคนเก่ง คนดี ขยัน ซื่อสัตย์ ทยอยออกไปที่อื่น…คงไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ ระดับผู้นำจึงเป็นหัวหอกในการลงมาแก้ปัญหานี้ด้วย (Address the problem)

อีกประเด็นน่าลำบากใจคือ พนักงานแย่คนนั้นเป็น “ลูกรัก” ของหัวหน้าอีกทีหนึ่งด้วยเหตุผลบางประการ กรณีนี้อาจต้องให้หัวหน้าที่ตำแหน่งสูงขึ้นไปอีกหรือสูงสุด “รับรู้” ปัญหานี้และดำเนินการแก้ไขซะ

.

อย่างไรก็ตาม ข้อควรระวังคือต้องแยกให้ออก ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดี บางทีพนักงานคนนั้นอาจแย่ในมุมมองของพนักงานด้วยกันเอง แต่อาจ “ดี” ในมุมมองของผู้บริหาร

เค้าอาจเป็นคนพูดจาแรงๆ ขวานผ่าซาก ไม่ให้เกียรติคนอื่นเท่าไรนัก…แต่แลกมาด้วยการดูแลผลประโยชน์บริษัทได้ดี ไม่ยอมให้ใครมาเอาเปรียบ

กรณีนี้ อาจต้องปรับที่ “วาทศิลป์” การสื่อสารระหว่างเพื่อนร่วมงานแทน

.

แม้พนักงานแย่จะรับรู้แล้ว แต่สุดท้ายยังไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้ บริษัทคงต้องพิจารณา “เชิญออก” และหาคนใหม่มาแทน

แม้ต้องเสียทรัพยากรเพิ่ม แต่น่าจะคุ้มค่ากว่าใน “ระยะยาว” และเป็นผลดีต่อ “ส่วนรวม” คนอื่นในองค์กรก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป จนบานปลายเข้าสู่สถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก 

นั่นคือ พนักงานดีต่างทยอยออกเผ่นหนีจนหมด กลายเป็นองค์กรเหลือแต่พนักงานแย่ๆ ในที่สุด…

.

ทำ “แบบประเมินอาชีพ” จาก CareerVisa เพื่อค้นหาอาชีพที่ใช่ งานที่ชอบ จะได้ทำงานอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน >>> https://www.careervisaassessment.com/five-shades-assessment-th/

ยังไม่รู้จะหางานอะไรดี? รีบเข้าไปที่ >>> www.careervisaassessment.com

ทำ Resume แบบมืออาชีพได้ง่ายๆ ที่ >>> https://myrightcareer.net/

อ้างอิง